พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเรือนเพื่อรื้อถอน ไม่ถือเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาใช้ได้
ทำสัญญาซื้อขายเรือนเพื่อจะรื้อเอาไปนั้น หาใช่ซื้อขายในฐานะอสังหาริมทรัพย์ทำสัญญากันเองก็ใช้ได้
ฟ้องว่า ทำสัญญาซื้อเรือนและครัวไฟจากจำเลย เมื่อรื้อเอาไปและได้ชำระราคาแก่จำเลยไปแล้ว จำเลยให้การต่อสู้คดีกำกวมไม่ชัดแจ้ง แม้จะมีข้อความว่า จำเลยปฏิเสธตลอดข้อหาแต่เมื่อพิเคราะห์ต่อไปในคำให้การนั้น เป็นอันเข้าใจได้ว่าฝ่ายจำเลยรับแล้วว่า ได้มีการซื้อขายกันจริงดังฟ้องไม่ได้คัดค้านในข้อที่ว่าไม่มีการตกลงกันว่าซื้อขายแล้วจะรื้อเอาไป และไม่ได้คัดค้านว่าไม่ได้รับเงินราคาซื้อขายกันแล้ว เช่นนี้เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่สืบพยานก็ต้องฟังว่าจำเลยตกลงซื้อขายเรือนแก่โจทก์เพื่อ+ไปและต้องฟังว่าจำเลยรับเงินราคาเรือนแล้ว
เพียงแต่โจทก์ไม่คัดค้านในการที่ผู้ร้องสอด ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมนั้น จะแปลว่าโจทก์รับว่าเป็นความจริงตามคำร้องสอดนั้นด้วยยังไม่ได้
ฟ้องว่า ทำสัญญาซื้อเรือนและครัวไฟจากจำเลย เมื่อรื้อเอาไปและได้ชำระราคาแก่จำเลยไปแล้ว จำเลยให้การต่อสู้คดีกำกวมไม่ชัดแจ้ง แม้จะมีข้อความว่า จำเลยปฏิเสธตลอดข้อหาแต่เมื่อพิเคราะห์ต่อไปในคำให้การนั้น เป็นอันเข้าใจได้ว่าฝ่ายจำเลยรับแล้วว่า ได้มีการซื้อขายกันจริงดังฟ้องไม่ได้คัดค้านในข้อที่ว่าไม่มีการตกลงกันว่าซื้อขายแล้วจะรื้อเอาไป และไม่ได้คัดค้านว่าไม่ได้รับเงินราคาซื้อขายกันแล้ว เช่นนี้เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่สืบพยานก็ต้องฟังว่าจำเลยตกลงซื้อขายเรือนแก่โจทก์เพื่อ+ไปและต้องฟังว่าจำเลยรับเงินราคาเรือนแล้ว
เพียงแต่โจทก์ไม่คัดค้านในการที่ผู้ร้องสอด ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมนั้น จะแปลว่าโจทก์รับว่าเป็นความจริงตามคำร้องสอดนั้นด้วยยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง/โอนที่ดินโดยผู้จัดการทรัพย์สิน: การยินยอมถูกต้องทำให้สัญญาใช้ได้ เหตุฉ้อฉล/ทุจริตไม่ปรากฏ
ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
...ฯลฯ...
(4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
...ฯลฯ...
จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
...ฯลฯ...
(4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
...ฯลฯ...
จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย