คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาใช้ไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8258/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาใช้ไฟฟ้าและหน้าที่ชำระค่าบริการ แม้เกิดความผิดพลาดจากผู้ให้บริการ
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงโจทก์และสัญญาว่าจะชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไปตามข้อบังคับจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้จริงเต็มจำนวนแม้การต่อสายไฟฟ้าสลับขั้วผิดพลาดจะเกิดจากการกระทำของพนักงานของโจทก์เองโดยจำเลยมิได้มีส่วนผิดพลาดด้วยก็ตามโจทก์ก็สามารถเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ไปตามความเป็นจริงได้ตามข้อบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาใช้ไฟฟ้า: ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระค่าบริการตามจำนวนที่ใช้จริง แม้เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้ไปเต็มจำนวน เมื่อปรากฏว่ามีการต่อสายไฟฟ้าเข้ามาตรวัดกระแสไฟฟ้าของจำเลยเฟสที่ 3 ขาเข้าและขาออกสลับกัน เป็นเหตุให้มาตราวัดกระแสไฟฟ้าหมุนช้าไปกว่าปกติร้อยละ65.5 แม้จะเกิดจากการกระทำผิดพลาดของพนักงานโจทก์เอง แต่จำเลยก็ได้ใช้กระแสไฟฟ้าไปเต็มจำนวน จำเลยจึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์อยู่ ต้องรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์เต็มจำนวนตามข้อตกลง เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดจำนวนไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเพิ่มเติมย้อนหลังให้ครบถ้วนได้ จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอใช้กระแสไฟฟ้าต่อโจทก์ในการนี้จำเลยยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อโจทก์ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กระแสไฟฟ้า ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บ โจทก์ได้ติดตั้งมาตรวัดกระแสไฟฟ้าให้จำเลยเพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้าประกอบการคิดค่ากระแสไฟฟ้าแสดงว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้าตามหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าตามมาตรวัดกระแสไฟฟ้าและอัตราค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยสามารถตรวจสอบดูได้มิใช่ว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใดก็ได้ตามความพอใจของโจทก์ ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บจึงมีความหมายเพียงว่า เมื่อโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว จำเลยต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้านั้น มิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าตามความพอใจ ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ทำให้ประชาชนเสียหายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำผิดสัญญาใช้ไฟฟ้า ไม่ใช่หนี้ค่าไฟฟ้าตามปกติ
แม้โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการค้า แต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 อันเป็นธุรกิจทางการค้าตามปกติของโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาการใช้ไฟฟ้า โดยมีการสลับสายนิวตรอนทางด้านเข้าเครื่องวัดแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้า และสร้างสายดินพิเศษภายในบ้านนำกระแสไฟฟ้าไปใช้กับเครื่องปรับอากาศ มีผลทำให้เครื่องวัดแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริง อันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปเพิ่มอีกร่วมกับจำเลยที่ 2 ก็หาใช่เป็นการเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระไม่ แต่เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยถือเอาค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปมาเป็นค่าสินไหมทดแทน จึงไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ต้องฟ้องต่อศาลภายในกำหนดอายุความ 2 ปี แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาใช้ไฟฟ้า: ค่าเสียหายไม่ใช่ค่าไฟฟ้าค้างชำระ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า แต่คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยอันเป็นธุรกิจทางการค้าตามปกติของโจทก์ ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาการใช้ไฟฟ้า เป็นเหตุให้เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งไว้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้จำเลยมีการสลับสายควบคุม ทำให้วัดกระแสไฟฟ้าน้อยลงกว่าปกติ การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปเพิ่มอีกนั้น หาใช่เป็นการเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยค้างชำระไม่ แต่เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โดยถือเอาค่ากระแสไฟฟ้าที่ขาดหายไปมาเป็นค่าสินไหมทดแทน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในอายุความ 2 ปี เพราะมิใช่กรณีโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเรียกเอาค่ากระแสไฟฟ้าแต่ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามมาตรา 193/30