พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7386/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการเปลี่ยนแปลงสัญญา: หลักฐานการทำสัญญาใหม่ และข้อยกเว้นการฟ้องร้อง
จำเลยมิได้ให้การว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา การที่จำเลยเพิ่งหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำมั่นที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้วเป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาและอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่ามาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า แม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ แต่คราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าตึกแถวพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยย่อมไม่อาจขอให้บังคับโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาเช่า
คำมั่นที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้วเป็นเพียงคำมั่นด้วยวาจาและอยู่นอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาเช่าเดิมซึ่งโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่ามาจากมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า แม้จำเลยจะสนองรับคำมั่นนั้นก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมและเกิดเป็นสัญญาเช่าใหม่ แต่คราบใดที่โจทก์ยังมิได้ทำหลักฐานการเช่าตึกแถวพิพาทใหม่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยย่อมไม่อาจขอให้บังคับโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ: ผลของการแก้ไขสัญญาเดิมด้วยสัญญาใหม่
จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเข้าร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน 2535 สัญญาดังกล่าวข้อ 37 ได้ระบุให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 สัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกข้อกำหนดเดิมเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20พฤศจิกายน 2539 ว่า มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามรับกันแต่เพียงว่า ประเด็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องค่าภาษีเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอื่นอีกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้น จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันตามสัญญาว่าจ้างเดิมสิ้นผลเมื่อทำสัญญาใหม่โดยไม่แจ้งเจ้าหนี้ค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยร่วมก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 1ทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาจำเลยร่วมไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยร่วม หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยร่วมได้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันกันใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาเริ่มต้นการก่อสร้างใหม่ และกำหนดระยะเวลาก่อสร้างเป็น 5 งวด โดยโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและจำเลยที่ 1ก็ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับหลังจำเลยที่ 1 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แม้จำเลยร่วมผิดสัญญาฉบับหลังและโจทก์บอกเลิกสัญญาฉบับหลังแล้วก็ตาม โจทก์จะอาศัยสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับหลังมาฟ้องร้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันฉบับแรกที่จำเลยที่ 1 ทำไว้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายโมฆะแล้ว การอ้างเงินประกันเป็นสัญญาใหม่เป็นเรื่องนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลย แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยภายในกำหนดได้เนื่องจากขัดข้องเรื่องเอกสาร จึงขอขยายระยะเวลา หลังจากที่มีการขอขยายระยะเวลาแล้วโจทก์คืนมัดจำ 5,000,000 บาท แก่จำเลย โจทก์ได้เสนอให้จำเลยถือเงินสดของโจทก์ไว้ 3,000,000 บาท เป็นประกันว่าโจทก์สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ที่ดินที่ตกลงจะซื้อจะขายแก่จำเลยได้ หาไม่แล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของจำเลย แต่หากโจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายแลัวเสร็จ ก็ให้จำเลยถือปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมพร้อมกับคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ แสดงว่าการที่โจทก์มอบเงินจำนวนนี้แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน เพื่อให้การบังคับตามสัญญาเกิดผลในทางปฏิบัติ มิได้มีเจตนาหรือประสงค์ให้เงินจำนวนนี้เป็นการวางมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนเพื่อให้เกิดผลบังคับเป็นสัญญาใหม่แทนสัญญาจะซื้อจะขายเดิมไม่ อีกทั้งโจทก์ผู้จะขายมอบเงินแก่จำเลยผู้จะซื้อเพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ไม่มีลักษณะเป็นการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยฉบับเดิมตกเป็นโมฆะไปแล้ว โจทก์กลับอุทธรณ์ว่าเงินจำนวนนี้เป็นการวางมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนเป็นคำเสนอสนอง สัญญาย่อมเกิดขึ้นใหม่เพื่อให้โจทก์สามารถฟ้องร้องบังคับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้อีก จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะจากเหตุเริ่มต้น สัญญาใหม่ไม่เกิดขึ้น แม้มีการมอบเงินประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลย แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยภายในกำหนดได้เนื่องจากขัดข้องเรื่องเอกสาร จึงขอขยายระยะเวลา หลังจากที่มีการขอขยายระยะเวลาแล้วโจทก์คืนมัดจำ 5,000,000 บาท แก่จำเลย โจทก์ได้เสนอให้จำเลยถือเงินสดของโจทก์ไว้ 3,000,000 บาท เป็นประกันว่าโจทก์สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตกลงจะซื้อจะขายแก่จำเลยได้หาไม่แล้วให้เงินดังกล่าวตกเป็นของจำเลย แต่หากโจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วเสร็จก็ให้จำเลยถือปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมพร้อมกับคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ แสดงว่าการที่โจทก์มอบเงินจำนวนนี้แก่จำเลยสืบเนื่องมาจาก สัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน เพื่อให้การบังคับตามสัญญาเกิดผลในทางปฏิบัติมิได้มีเจตนาหรือประสงค์ให้เงินจำนวนนี้ เป็นการวางมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วน เพื่อให้เกิดผลบังคับ เป็นสัญญาใหม่แทนสัญญาจะซื้อจะขายเดิมไม่ อีกทั้งโจทก์ผู้จะขายมอบเงินแก่จำเลยผู้จะซื้อเพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ไม่มีลักษณะ เป็นการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยฉบับเดิมตกเป็นโมฆะไปแล้วโจทก์กลับอุทธรณ์ว่าเงินจำนวนนี้เป็นการวางมัดจำ หรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนเป็นคำเสนอสนอง สัญญาย่อมเกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้โจทก์สามารถฟ้องร้องบังคับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้อีก จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง และเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้: โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยหากไม่ทำสัญญาใหม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง พ. กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือ พ. มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ พ. ในขณะเดียวกัน พ. ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะ ได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก พ.แม้ว่า พ. จะสามารถโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะ เจ้าหนี้ให้แก่บุคคลอื่นหรือโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก ได้ก็ตามแต่ พ.ก็ไม่อาจโอนหนี้ให้บุคคลอื่นหรือโจทก์ มาเป็นลูกหนี้แทนโดยเพียงแต่ทำเป็นหนังสือสัญญา ระหว่าง พ. กับบุคคลอื่นหรือโจทก์ เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ได้ทำสัญญาใหม่กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ หนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกันหลังเปลี่ยนแปลงกรรมการและทำสัญญาใหม่ ย่อมทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออกและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าว ไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ จำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิม ลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพัน ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้น สัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันดับยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้วจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างเนื่องจากไม่ยอมทำสัญญาใหม่ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 5 ปี นับแต่วันที่26 กุมภาพันธ์ 2516 ตามสัญญาจ้างได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อจ้างกันครบกำหนด 5 ปีแล้ว จำเลยจะจ้างโจทก์ต่ออีกคราวละ 1 ปี ต่อเมื่อจำเลยได้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์เป็นที่พอใจแล้ว เมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดจำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่ออีก 1 ปี โดยระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ว่า หากสิ้นสุดระยะเวลาว่าจ้างตามสัญญานี้แล้ว และมิได้มีการแจ้งให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ ต่อมาหลังจากสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยหาได้แจ้งแก่โจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต่อสัญญาจ้างให้โจทก์อีกหรือไม่และจำเลยคงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งเดิมและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตลอดมาการที่ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเช่นโจทก์จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพทุกปีก็เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น จึงหามีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีไม่ดังนั้นเมื่อสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงและจำเลยจ้างโจทก์ต่อมา จึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่ยังคงไว้ซึ่งความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581,582 การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต่ออายุสัญญาจ้างให้โจทก์คราวละ5 ปี ตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ ขอให้โจทก์แจ้งความประสงค์ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2537 หากพ้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป และจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์นั้นโดยจำเลยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยให้ระยะเวลาถึง 11 เดือนแก่โจทก์ในการตัดสินใจ และเป็นสัญญาจ้างใหม่ที่เป็นคุณกว่าเดิมทั้งเป็นผลสืบเนื่องจากการยื่นข้อเท็จจริงของสหภาพแรงงานพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกันในหมู่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินด้วยกันและเป็นระเบียบเดียวกันแม้โจทก์จะไม่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าวและมิได้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ยอมผูกพันตามสัญญาจ้างที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวกรณีเช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีเหตุผลสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเช่า: เงื่อนไขการต่อสัญญาและการทำสัญญาใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4.1 ระบุว่า ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่ 1) ต้องสร้างอาคาร 3 หลัง แล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์) และผู้รับสัญญา (โจทก์) ตกลงให้ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะตอบแทนกันเพียง 3 ปี และจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญา ข้อ 4.3 ดังนั้น แม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอม-ยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง 3 ปี ส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
สัญญาเช่ารายพิพาท ข้อ 9 ระบุว่า ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) ภายใน 60 วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่ 1 ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้น แต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่า ...ฯ ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญา แล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญา ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์
สัญญาเช่ารายพิพาท ข้อ 9 ระบุว่า ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) ภายใน 60 วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่ 1 ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้น แต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่า ...ฯ ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญา แล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญา ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละอายุความด้วยการผ่อนผันหนี้และแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ ทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาใหม่
หลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความแล้วจำเลยทำหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ถึงโจทก์แจ้งว่าตามที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยการผ่อนชำระและจำเลยยอมสละประโยชน์แห่งอายุความของสิทธิเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 แม้หนังสือดังกล่าวจะมีข้อความว่าจำเลยขอแปลงหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้โดยขอให้งดคิดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ใหม่ไว้1ปีด้วยก็ตามแต่ก็มิได้มีข้อกำหนดว่าหากโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอดังกล่าวแล้วจะมีผลอย่างไรการที่โจทก์ไม่ตกลงด้วยในการงดคิดดอกเบี้ยจึงไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนาสละประโยชน์แห่งอายุความของจำเลย จำเลยทำหนังสือสัญญาแปลงหนี้จากหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้แม้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะขาดอายุความแล้วแต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญากู้ที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญาแปลงหนี้ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยตกลงกับโจทก์แปลงมาจากหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือแปลงหนี้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นเมื่อโจทก์เรียกร้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน