คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัตยาบัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงนำคำให้การพยานจากคดีอื่นมาใช้ในคดีปัจจุบัน ไม่ถือเป็นการผิดระเบียบ หากจำเลยให้สัตยาบัน
การที่โจทก์และจำเลยตกลงเห็นชอบร่วมกันให้ถือเอาถ้อยคำพยานโจทก์ที่เบิกความไว้ในคดีอื่นมาเป็นถ้อยคำพยานโจทก์ในคดีนี้ย่อมมีผลบังคับและศาลย่อมนำถ้อยคำพยานโจทก์ดังกล่าวมาวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่จำเลยจะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สมรส: การยินยอมและสัตยาบันหนี้ของคู่สมรส ทำให้เป็นหนี้ร่วมกัน
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยได้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส แม้ตอนที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องจะมิได้ร่วมอยู่ด้วยและไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินกู้มาใช้ในกิจการใดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องขับรถยนต์พาจำเลยไปที่บ้านโจทก์หลายครั้งและผู้ร้องขอผัดผ่อนการชำระหนี้เงินกู้รายนี้ เมื่อโจทก์ทวงถาม พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวเชื่อได้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นและยินยอมให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดกับจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสได้ทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดบ้านดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12523/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันนิติกรรมนอกอำนาจตัวแทน & ความรับผิดค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ ด. ฟ้องคดีระบุว่า ให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องร้องและดำเนินคดีแพ่งกับจำเลย รวมทั้งแต่งทนายความถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ ใช้สิทธิหรือสละสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้รับมอบอำนาจจึงเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำเนินคดีฟ้องจำเลยในคดีเกี่ยวกับทางจำเป็นเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจได้แถลงต่อศาลตกลงจะขายที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของโจทก์ ย่อมไม่ผูกพันตัวการ แต่หลังจากผู้รับมอบอำนาจกับจำเลยได้ตกลงจะซื้อที่ดินกันแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการให้ผู้อาศัยในที่ดินของโจทก์ออกจากที่ดินหมดสิ้นตามเงื่อนไขที่ผู้รับมอบอำนาจและจำเลยตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 โจทก์จึงต้องผูกพันตามนิติกรรมนั้นด้วย
การที่โจทก์ยินยอมจ่ายค่ารื้อถอนให้ผู้อาศัยในที่ดินเป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ผิดข้อตกลงกับจำเลย ค่ารื้อถอนที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับจากการที่จำเลยผิดข้อตกลงไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6728/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความ และการให้สัตยาบัน รวมถึงขอบเขตการเบิกความของพยาน
โจทก์มอบหมายให้ทนายความทำหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยการมอบหมายไม่ได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 แต่จำเลยรับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องแสดงว่าโจทก์ยอมรับการบอกกล่าวบังคับจำนองของทนายความแล้ว เป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของทนายความ ทนายความจึงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
ก. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารโจทก์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลบัญชีลูกหนี้ที่ผิดนัดค้างชำระหนี้ รวมทั้งติดตามเรียกร้องหนี้สินค้างชำระ เบิกความเป็นพยานโจทก์ประกอบเอกสารเกี่ยวกับหนี้สินจำเลยว่ามีอยู่และถูกต้องแท้จริง เป็นการเบิกความถึงสิ่งที่พยานมีหน้าที่เกี่ยวข้องรู้เห็นและทราบข้อความในเรื่องที่เบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของก. จึงไม่ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด ตัวการให้สัตยาบัน ผูกพันตามสัญญา แม้มอบอำนาจจำกัด
จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โครงการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 ก็จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3 เจรจาตกลงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ผ่อนชำระเงินคืนให้แก่โจทก์รวม 8 งวดต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ ธ. จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมเข้าผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เข้าทำข้อตกลงโดยพลการและมูลหนี้ที่ตกลงชำระกันเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบได้ อีกทั้งการให้สัตยาบันดังกล่าวมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด มิใช่เป็นการให้สัตยาบันเฉพาะในมูลหนี้ที่ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ และการให้สัตยาบันต่อการกระทำของตัวแทน
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น?" และมาตรา 798 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การแต่งตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย" บทบัญญัติมาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่งดังกล่าว
โจทก์มอบหมายให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ดังนั้น เมื่อ อ. ตัวแทนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนองย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 แล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่แก่โจทก์ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกันนี้ และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไปในภายหน้าด้วย การฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันซื้อขายสินค้าและการผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด
แม้การสั่งซื้อสินค้าพิพาทและการลงลายมือชื่อรับสินค้าของเจ้าหน้าที่คลังสินค้าของจำเลยจะถูกต้องตามระเบียบที่จำเลยกำหนดหรือไม่ก็ตาม แต่การที่สินค้าพิพาทอยู่ที่จำเลยและพฤติการณ์ที่จำเลยได้ส่งสินค้าพิพาทบางส่วนไปให้โจทก์ซ่อมแซม ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันในการซื้อสินค้าพิพาทแล้ว จำเลยจึงต้องชำระราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9442/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันเช็คที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้บริษัทผูกพันตามเช็ค แม้ลายเซ็นไม่ถูกต้อง
แม้เช็คพิพาทจำเลยที่ 2 ลงชื่อในเช็คแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่ต้องมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอื่นอีกหนึ่งคน และประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม แต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน บริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามเช็คแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 , 1167 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสื่อถึงกัน แม้ไม่มีตราบริษัท การยินยอมให้ใช้พื้นที่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัท บ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 จะลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับเอาผลของสัญญาเช่าดังกล่าวโดยยินยอมให้บริษัท ซ. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่บริษัท ซ. มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแม้ไม่มีตราประทับ แต่ยอมรับผลและให้เข้าครอบครอง ถือเป็นสัตยาบันผูกพันผู้เช่า
สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัท บ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 จะลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1ตามข้อบังคับก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับเอาผลของสัญญาเช่าดังกล่าวโดยยินยอมให้บริษัท ซ. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่บริษัท ซ. มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1ในฐานะผู้เช่า
of 12