คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัตวแพทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการไม่จัดหาสัตวแพทย์ตรวจเนื้อสัตว์, ความรับผิดของโรงฆ่าสัตว์, ส่วนละเลยของโจทก์
โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8เป็นคู่สัญญาการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 ตามสัญญาคนละฉบับและได้รับอนุญาตให้ฆ่าสุกรแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนต่างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โดยลำพังตนเอง แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาถึงสิทธิในการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง เทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดให้มีโรงฆ่าสัตว์และต้องดูแลควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อยตามระเบียบที่วางไว้จำเลยที่ 1 ได้ออกอาชญาบัตรให้แก่โจทก์ที่ 3 เพื่อฆ่าสุกรในโรงฆ่าสัตว์ของจำเลยที่ 1และชำแหละเนื้อสุกรนำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปตามสัญญาที่ทำไว้ วันเกิดเหตุไม่มีสัตว์แพทย์และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มาตรวจ และตีประทับตราเนื้อสุกรชำแหละเพื่ออนุญาตให้นำออกไปจำหน่ายได้ตามปกติ โดยสัตวแพทย์มาตรวจ เนื้อสุกรชำแหละและเจ้าหน้าที่มาตีประทับตราเนื้อสุกรชำแหละให้นำออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ10 นาฬิกา ต่อมาเนื้อสุกรชำแหละเน่าเสียหาย จำเลยที่ 1มีหน้าที่ต้องจัดหาสัตวแพทย์มาตรวจ เนื้อสุกรชำแหละก่อนที่จะให้โจทก์ที่ 3 นำออกไปจำหน่าย ซึ่งการตรวจจะต้องกระทำภายในช่วงเวลาการฆ่าและชำแหละสุกรคือระหว่างเวลา 00.01 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกา แม้ว่าในสัญญาฆ่าสุกรจะไม่ระบุว่าสัตวแพทย์จะต้องมาทำการตรวจเนื้อสุกรชำแหละเวลาใดก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1จะต้องจัดให้มีสัตวแพทย์มาปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาดังกล่าวการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสัตวแพทย์เพิ่มมาตรวจ และ มี การตีประทับตราให้นำเนื้อสุกรชำแหละออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ 10 นาฬิกา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1มิได้จัดหาสัตวแพทย์มาตรวจ เนื้อสุกรชำแหละตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการละเลยประมาทเลินเล่ออันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 3 ขณะที่สัตวแพทย์จำเลยที่ 3 ตรวจเนื้อสุกรชำแหละและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตีประทับตรานั้นเนื้อสุกรชำแหละยังสามารถจะนำไปจำหน่ายได้แต่ก็เป็นเวลาประมาณ 10 นาฬิกา ซึ่งจะเลิกขายเนื้อสุกรชำแหละแล้ว โดยเริ่มขายตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกาไปจนถึง 10 นาฬิกา หากโจทก์ที่ 3 จะนำเนื้อสุกรชำแหละไปขายก็คงขายได้ไม่มากนัก เพราะใกล้จะหมดเวลาที่ประชาชน จะมาซื้อตามที่เคยปฏิบัติมาเสียแล้ว ดังนั้น ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ที่ 3 แต่ฝ่ายเดียว เพียงถือได้ว่าโจทก์ที่ 3 มีส่วนละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย โดยไม่นำเนื้อสุกรชำแหละที่ผ่านการตรวจจากจำเลยที่ 3 และตีประทับตราแล้วออกจำหน่าย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาที่จะสามารถจำหน่ายได้บ้าง ศาลจึงกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 3 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าเสียหาย ที่โจทก์ที่ 3 ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่จัดหาสัตวแพทย์ตรวจเนื้อสุกรชำแหละ หากละเลยถือเป็นการละเมิด โจทก์มีส่วนละเลยไม่บรรเทาความเสียหาย
โจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนโจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่โจทก์ทั้งสามต่างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โดยลำพังตนเอง แม้จะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกันเพื่อความสะดวกแต่การพิจารณาถึงสิทธิในการฎีกาต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง การฟ้องคดีรวมกันหรือแยกกันย่อมไม่มีผลทำให้สิทธิในการฎีกาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปรากฏว่าค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 แต่ละคนเรียกร้องมาไม่เกินห้าหมื่นบาทการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฎีกา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ และต้องดูแลควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ออกอาชญาบัตรให้แก่โจทก์เพื่อฆ่าสุกรในโรงฆ่าสัตว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องจัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละก่อนนำออกไปจำหน่ายแก่ประชาชนในระหว่างเวลา 0.01 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาการที่สัตวแพทย์เพิ่งมาตรวจเนื้อสุกรชำแหละ และตีประทับตราให้นำเนื้อสุกรชำแหละออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ 10 นาฬิกาจนเป็นเหตุให้เนื้อสุกรชำแหละของโจทก์เน่าเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้จัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละภายในเวลาที่จะต้องตรวจตามหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการละเลย ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การที่โจทก์มีส่วนละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายโดยไม่นำเนื้อสุกรชำแหละที่ผ่านการตรวจจากสัตวแพทย์ และตีประทับตราแล้วออกจำหน่าย ทั้งที่อยู่ในช่วงเวลาที่จะสามารถจำหน่ายได้บ้างอันจะเป็นการบรรเทาความเสียหายให้ลดน้อยลงได้ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความอำนาจออกประกาศของสัตวแพทย์ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ต้องเป็นหนังสือ เพื่อให้มีหลักฐานชัดเจนและเป็นธรรมต่อประชาชน
ออกประกาศหรือสั่งเป็นหนังสือ ในมาตรา 18 (1) แห่งพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 คำว่า ออกประกาศ หมายความว่าออกประกาศเป็นหนังสือ หาใช่ออกประกาศด้วยวาจาก็ได้ไม่ เพราะมาตรา นี้มุ่งบังคับเอากับประชาชน ถ้าตีความว่า ออกประกาศด้วยวาจาก็ใช้ได้ ก็ย่อมปราศจากหลักฐานและเป็นช่องทางให้โต้เถียงกันได้
สัตวแพทย์ประกาศเป็นหนังสือกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราว และประกาศด้วยวาจาให้จำเลยและเจ้าของสัตว์แจ้งจำนวน โค กระบือ และให้นำโคกระบือมาให้ตรวจและฉีดยา จำเลยฝ่าฝืน ยังไม่เป็นความผิดเพราะสัตวแพทย์ ประกาศด้วยวาจามิใช่เป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวอ้างเป็นผู้ได้รับมอบหมายโดยผู้อื่นเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของสัตวแพทย์ ไม่ถือเป็นการปลอมตัวเป็นเจ้าพนักงาน
กล่าวแก่ราษฎรว่านายกมนตรีและรัฐมนตรีใช้ให้+ดูการกระทำของพวกสัตวแพทย์ สัตว์ของใครจะ+ฉีดยาก็อย่าย่อมให้ฉีดดังนี้+ไม่เข้าลักษณปลอมตนไปกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน