คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัตว์ป่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางจากสัตว์ป่าขยายพันธุ์: ข้อโต้แย้งเรื่องสถานะสัตว์คุ้มครองและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี และริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า ของกลางในคดีนี้เดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวนอย่างละ 2 ตัว ซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาสัตว์ได้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติจนมีจำนวนตามฟ้อง ลูกของสัตว์ป่าดังกล่าวหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ไม่ จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยแล้วว่าจำเลยมีสัตว์ป่าคุ้มครองในจำนวนทั้งหมดตามฟ้องไว้ในครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดซ้ำซ้อนใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า: แยกกระทง vs. รวมกรรม
ความผิดฐานมีซากสัตว์ป่าสงวนไว้ในความครอบครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มาตรา 14 และ มาตรา 38 กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่น ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามมาตรา 16 และมาตรา 40 กฎหมายแยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิด แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ส่วนความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นความผิดตามมาตรา 15 และมาตรา 40บทมาตราเดียวกัน แสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดฐานมีซากสัตว์ป่าสงวนกับซากสัตว์ป่าคุ้มครอง และการรวมกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
การมีไว้ในครอบครองซึ่งขาเลียงผาซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าสงวนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 มาตรา 14 และมาตรา 38 ส่วนการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่นซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นความผิดตามมาตรา 16 และมาตรา 40 แยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิดแสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 การค้าลิ่น ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกับการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งงูเหลือมซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นความผิดตามมาตรา 15 และ มาตรา 40 บทมาตราเดียวกัน แสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้ไม่รู้เห็นเป็นใจในความผิดตามกฎหมายอุทยานและสัตว์ป่า ศาลวินิจฉัยว่าต้องไม่ริบหากเจ้าของมิได้รู้เห็น
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 บัญญัติในทำนองเดียวกันว่า "บรรดาอาวุธเครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นโดยมิต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่" นั้น แม้จะบัญญัติให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ด้วยก็ตาม แต่มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของผู้ที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดตามกฎหมายอุทยานและสัตว์ป่า
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 29 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มาตรา 47ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2515 ข้อ 18 บัญญัติในทำนองเดียวกันว่า"บรรดาอาวุธเครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือไม่" นั้น แม้จะบัญญัติให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ด้วยก็ตาม แต่มิได้บัญญัติมีข้อความระบุถึงกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จะตีความว่าบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงมีสิทธิร้องขออาวุธปืนของกลางคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องคดีฆ่าสัตว์: การระบุประเภทสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ป่าในคำฟ้อง
คำฟ้องที่บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันฆ่ากระบือโดยมิได้รับอนุญาตและมิได้เสียอากรฆ่าสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 มาตรา 6, 18 นั้น ย่อมเป็นการแสดงว่ามุ่งหมายถึงสัตว์ซึ่งมิใช่สัตว์ป่าอยู่ในตัว ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าเป็นสัตว์บ้านหรือสัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด จึงถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องคดีฆ่าสัตว์ การระบุประเภทสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ป่าในคำฟ้อง
คำฟ้องที่บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันฆ่ากระบือโดยมิได้รับอนุญาตและมิได้เสียอากรฆ่าสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2502 มาตรา 6,18 นั้น. ย่อมเป็นการแสดงว่ามุ่งหมายถึงสัตว์ซึ่งมิใช่สัตว์ป่าอยู่ในตัว.ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าเป็นสัตว์บ้านหรือสัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด. จึงถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเคาะไม้ไล่ต้อนสัตว์ป่าถือเป็นความผิดฐานล่าสัตว์ป่าสำเร็จรูปตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า "ล่า" หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ และหมายความรวมถึงการไล่ การต้อน การเรียก หรือการล่อเพื่อการกระทำดังกล่าวด้วย ดังนั้น การเคาะไม้ไล่ต้อนสัตว์ป่าจึงอยู่ในความหมายของคำว่า "ล่า" ตามคำนิยามดังกล่าว การที่จำเลยกับพวกร่วมกันเคาะไม้ไล่ต้อนสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อให้พวกของจำเลยที่ดักซุ่มรออยู่ใช้อาวุธปืนยิง จึงเป็นความผิดสำเร็จฐานล่าสัตว์ป่า มิใช่เป็นเพียงความผิดฐานพยายามล่าสัตว์ป่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนของกลางคดีอาญา: การริบอาวุธปืนและสัตว์ป่า, เจ้าของต้องไม่รู้เห็นเป็นใจ
ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 29 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จําเลยทั้งสองกระทําความผิดบัญญัติให้ริบอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้และยานพาหนะใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทําความผิดเสียทั้งสิ้นโดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาของศาลหรือไม่และตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 57 ก็บัญญัติให้ริบอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้...ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทําความผิดหรือมีไว้เนื่องในการกระทําความผิดเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคําพิพากษาหรือไม่ ส่วนการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคําร้องขอต่อศาลที่สั่งริบในคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปของการขอคืนของกลางในคดีอาญา และศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์สินเมื่อเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิด คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีคําขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16 (3) (9) (13) (16), 24, 25, 27, 29 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 16, 19 วรรคหนึ่ง, 47, 57 ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสองตามกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว และสั่งริบของกลางรวมทั้งอาวุธปืนยาว 2 กระบอก การที่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 29 บัญญัติให้ริบอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้...เสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคํานึงว่าเป็นของผู้กระทําความผิดหรือไม่ นั้น มิใช่เป็นการริบโดยเด็ดขาดเพราะจะเป็นการลงโทษบุคคลอื่นผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งมิใช่ผู้กระทําผิดอาญา เนื่องจากริบทรัพย์สินเป็นโทษทางอาญาสถานหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 18 (5) ขัดกับหลักทั่วไปของการใช้กฎหมายอาญาที่ว่า บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทําความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเจ้าของที่แท้จริงมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลขอให้สั่งคืนทรัพย์ที่ถูกริบได้ สําหรับคดีนี้คือการยื่นขอคืนตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะจําเลยทั้งสองกระทําความผิด
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 109 และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 56 บัญญัติให้ศาลเป็นผู้สั่งริบทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้ในการกระทําความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทําความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทําความผิดโดยการร้องขอของพนักงานอัยการเช่นเดิม แต่ก็ยังให้โอกาสเจ้าของทรัพย์สินยื่นคําขอคืนได้ มิได้ตัดโอกาสเจ้าของมิให้ขอคืน โดยการขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 56 วรรคสอง และตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 109 วรรคสอง พนักงานอัยการสามารถร้องขอได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา กฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าของที่แท้จริงสามารถพิสูจน์ในทํานองเดียวกับการขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 โดยต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า ตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการนําทรัพย์สินนั้นไปใช้ในการกระทําความผิด อีกทั้งตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทําความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามบทบัญญัติมาตรา 56 วรรคสอง และมาตรา 109 วรรคสอง ดังกล่าว ไม่อาจนํามาบังคับใช้กับคดีนี้ซึ่งศาลได้มีคําพิพากษาไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทําความผิดได้ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิร้องขอคืนของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 36 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคําร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคําพิพากษาถึงที่สุด จึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 36