พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง: การครอบครองและเสนอขายถือเป็นความผิดกรรมเดียว
ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า "ค้า" ว่า หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และหมายความรวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้น การที่จำเลยมีซากสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าคุ้มครองของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและวางเสนอขายของกลางดังกล่าว จึงเป็นความผิดฐานค้าซากสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์คุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง จำเลยก็ยกขึ้นอ้างในฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง: การรับเลี้ยงชั่วคราวเพื่อส่งมอบ ไม่ถือเป็นความผิด
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติให้มีความหมายเป็นพิเศษ ต้องถือว่ามีเจตนายึดถือเพื่อตนตามหลักกฎหมายทั่วไป การที่จำเลยรับเลี้ยงดูหมีควายหรือหมีดำของกลางซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้สถานีเพาะเลี้ยสัตว์ป่ามารับไปในภายหลังนั้น จำเลยไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน จึงหาใช่เป็นการมีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวเพื่อส่งมอบให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
จำเลยรับฝากหมีควายไว้จากผู้ใหญ่บ้านเพื่อส่งมอบให้แก่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า แต่ทางสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ายังก่อสร้างบ่อเลี้ยงหมีควายไม่แล้วเสร็จ จึงให้จำเลยเลี้ยงดูไปก่อน แต่การที่จำเลยจะมีความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติให้มีความหมายเป็นพิเศษ จึงต้องถือว่าการครอบครองในกรณีนี้ต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตนทั้งนี้ตามหลักกฎหมายทั่วไป ดังนั้นการที่จำเลยรับเลี้ยงดูหมีควายซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่ามารับไปในภายหลัง จำเลยไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน จึงหาใช่เป็นการมีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 47 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่าปะการังและการครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง: การพิจารณาความผิดหลายกรรม
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งคำว่า "ล่า" นั้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้ว่า หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็งซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมหมายความถึงปะการังนั้น ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระโดยหาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีก คำฟ้องโจทก์หาได้เคลือบคลุมไม่
การจะพิจารณาว่า การกระทำใดเป็นความผิดหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์คุ้มครองมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครองและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบตามฟ้อง ย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การจะพิจารณาว่า การกระทำใดเป็นความผิดหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญ ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์คุ้มครองมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครองและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบตามฟ้อง ย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและมีไว้ในครอบครองซากสัตว์ป่า: การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำว่า "ล่า" ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 4 หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมหมายถึงปะการังนั้นไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ โจทก์หาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีกไม่ส่วนรายละเอียดที่บรรยายฟ้องต่อมาถึงวิธีการล่าโดยการเก็บ หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใดก็น่าจะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จเมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าดังกล่าวแยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จเมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ส่วนการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าดังกล่าวแยกต่างหากจากการเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่าปะการังและครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง: ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งคำว่าล่า นั้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ให้คำนิยามไว้ว่าหมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็ง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมหมายความถึงปะการังนั้นไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระโดยหาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีก ส่วนคำบรรยายฟ้องต่อมาเป็นการบรรยายรายละเอียดถึงวิธีการล่าโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใด ซึ่งน่าจะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องโจทก์จึงหาได้เคลือบคลุมไม่
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง และการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเป็นเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง และการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเป็นเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2804/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการริบของกลางในคดีสัตว์ป่าคุ้มครอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยและริบของกลาง จำเลยอุทธรณ์ขอไม่ให้ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าไก่ฟ้าและนกหว้า ของกลางเดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองประเภทละ 2 ตัวซึ่งชอบด้วยกฎหมายต่อมาสัตว์ดังกล่าวได้ขยายพันธุ์จนมีจำนวนตามฟ้องลูกของสัตว์ป่าเหล่านั้นหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพว่ามีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2804/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการริบของกลางสัตว์ป่าคุ้มครองที่เกิดจากการขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 700 บาท ริบของกลางศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า สัตว์ป่าของกลางเดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองประเภทละ 2 ตัวซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาสัตว์ดังกล่าวได้ขยายพันธุ์จนมีจำนวนตามฟ้อง ลูกของสัตว์ป่าเหล่านั้นหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไม่จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพว่าจำเลยมีสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวนทั้งหมดตามฟ้องไว้ในความครอบครองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ: ข้อจำกัดการริบของกลาง และการแก้ไขบทมาตราที่อ้าง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี และริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า ของกลางในคดีนี้เดิมจำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวนอย่างละ 2 ตัว ซึ่งชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาสัตว์ได้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติจนมีจำนวนตามฟ้อง ลูกของสัตว์ป่าดังกล่าวหาใช่สัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 ไม่ จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะริบได้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยแล้วว่าจำเลยมีสัตว์ป่าคุ้มครองในจำนวนทั้งหมดตามฟ้องไว้ในครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดกระทงความผิดซ้ำซ้อนในคดีสัตว์ป่าคุ้มครอง: แยกกระทงหรือรวมกระทง
การมีไว้ในครอบครองซึ่งขาเลียงผา ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าสงวนตามฟ้อง ข้อ ก. เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 มาตรา 14 และมาตรา 38 ส่วนการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่นซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามฟ้องข้อ ง.เป็นความผิดตาม มาตรา 16 และ มาตรา 40 แยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิดแสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ส่วนการค้าลิ่นซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ข้อ ข.กับการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งงูเหลือม ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ข้อ ค.เป็นความผิดตาม มาตรา 15 และมาตรา 40 บทมาตราเดียวกันแสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตามกฎหมายอาญามาตรา 90