คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สาขาในไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากกำไรของบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้ลูกค้าในไทยโดยผ่านสาขาในไทย และการส่งกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณ เป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใดดังนั้น โจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรทีพิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐสภาไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการ คำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้นโจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นบริษัทต่างประเทศที่มีสาขาในไทย แม้ชื่อสาขาไม่เป็นนิติบุคคล ก็สามารถฟ้องได้หากระบุตัวบริษัทแม่ชัดเจน
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า"สายเดินเรือเมอส์ก กรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใดดำเนินธุรกิจในทางใดจดทะเบียนพาณิชย์ไว้ในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่าอะไรสำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัทด.กับบริษัทอ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาบริษัทต่างชาติที่มีสาขาในไทย อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าในศาลไทย
จำเลยเป็นบริษัทอยู่ต่างประเทศ ได้มอบให้สำนักงานสาขาในประเทศไทยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือว่าบริษัทจำเลยมีภูมิลำเนาในส่วนกิจการนี้ในประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 โจทก์จึงฟ้องจำเลยเรื่องเครื่องหมายการค้าในศาลไทยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยในการฟ้องบริษัทต่างประเทศที่มีสาขาในไทย และสิทธิของผู้รับตราส่งตามสัญญาขนส่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบริษัทอยู่ต่างประเทศแต่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ดังนี้ ถือว่าโจทก์ฟ้องบริษัทใหญ่เป็นจำเลย มิใช่ฟ้องบริษัทสาขาให้รับผิด และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 71 ถือว่าบริษัทจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงฟ้องบริษัทจำเลยในศาลไทยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
สัญญาขนส่งทำระหว่างบริษัทในต่างประเทศกับบริษัทจำเลย แต่โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง เมื่อโจทก์ได้เรียกให้ส่งมอบของแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทจำเลยให้รับผิดเกี่ยวกับสัญญาขนส่งในฐานะที่จำเลยเป็นผู้รับขนส่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627