พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7814/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การใช้ภาพ คำ ข้อความ และสีคล้ายกัน ทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์ที่ 1 ทำหนังสือสัญญาอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า หลังจากที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนได้ แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเพิ่งยื่นคำขอและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 ภายหลังจากที่มีการฟ้องคดีนี้จึงเท่ากับว่าขณะยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 2 ในเครื่องหมายการค้าตามที่กล่าวอ้างในฟ้อง โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด
ลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าบนขวดน้ำยาล้างจานเป็นภาพมะนาวอยู่ด้านบนภาพของจานช้อนอยู่ด้านล่าง คำว่า ซันไลต์ อยู่กลางมีข้อความผลิตภัณฑ์ล้างจาน ข้อความว่าขัดคราบมันและกลิ่นคาว และข้อความว่าล้างจานชามกองใหญ่ได้ใสสะอาด และมีกลุ่มของสีเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเหลือง ทั้งภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสีทั้งหมดรวมกันเป็นเครื่องหมายการค้าเดียว จำเลยที่ 1 เพิ่งนำเครื่องหมายการค้าคำว่า ทีไลม ไปใช้กับภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสี รวมเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวแล้วนำไปใช้กับสินค้าน้ำยาล้างจาน หลังจากโจทก์ที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ามานานหลายปี โดยมีภาพมะนาวอยู่ด้านบน ภาพกองจาน ช้อน แก้ว อยู่ด้านล่าง มีคำว่า ทีไลม อยู่ในตำแหน่งตรงกลางเช่นเดียวกับคำว่า ซันไลต์ โดยมีขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน ข้อความว่าผลิตภัณฑ์ล้างจานชามกองใหญ่ได้สะอาดก็มีเช่นเดียวกับของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ใช้คำว่า "ขจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" จำเลยก็เลี่ยงเป็นว่า "กำจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" และกลุ่มของสีจำเลยที่ 1 ใช้สีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลือง โดยวางตำแหน่งและการเรียงสีในลักษณะที่คล้ายกันมาก เมื่อนำภาพ คำ ข้อความและกลุ่มของสีเหล่านี้ไปใช้กับขวดบรรจุสินค้าประเภทเดียวกันคือน้ำยาล้างจานที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับของโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะโดยรวมของการใช้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดเป็นการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่การพัฒนาการตลาดขึ้นเอง ย่อมเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 คือสินค้าของโจทก์ที่ 1
ลักษณะเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าบนขวดน้ำยาล้างจานเป็นภาพมะนาวอยู่ด้านบนภาพของจานช้อนอยู่ด้านล่าง คำว่า ซันไลต์ อยู่กลางมีข้อความผลิตภัณฑ์ล้างจาน ข้อความว่าขัดคราบมันและกลิ่นคาว และข้อความว่าล้างจานชามกองใหญ่ได้ใสสะอาด และมีกลุ่มของสีเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเหลือง ทั้งภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสีทั้งหมดรวมกันเป็นเครื่องหมายการค้าเดียว จำเลยที่ 1 เพิ่งนำเครื่องหมายการค้าคำว่า ทีไลม ไปใช้กับภาพ คำ ข้อความและกลุ่มสี รวมเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวแล้วนำไปใช้กับสินค้าน้ำยาล้างจาน หลังจากโจทก์ที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ามานานหลายปี โดยมีภาพมะนาวอยู่ด้านบน ภาพกองจาน ช้อน แก้ว อยู่ด้านล่าง มีคำว่า ทีไลม อยู่ในตำแหน่งตรงกลางเช่นเดียวกับคำว่า ซันไลต์ โดยมีขนาดตัวอักษรใกล้เคียงกัน ข้อความว่าผลิตภัณฑ์ล้างจานชามกองใหญ่ได้สะอาดก็มีเช่นเดียวกับของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ใช้คำว่า "ขจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" จำเลยก็เลี่ยงเป็นว่า "กำจัดคราบน้ำมันและกลิ่นคาว" และกลุ่มของสีจำเลยที่ 1 ใช้สีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลือง โดยวางตำแหน่งและการเรียงสีในลักษณะที่คล้ายกันมาก เมื่อนำภาพ คำ ข้อความและกลุ่มของสีเหล่านี้ไปใช้กับขวดบรรจุสินค้าประเภทเดียวกันคือน้ำยาล้างจานที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับของโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะโดยรวมของการใช้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดเป็นการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่การพัฒนาการตลาดขึ้นเอง ย่อมเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 คือสินค้าของโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: การส่งเอกสารร้องเรียนเฉพาะเจาะจงบุคคลเดียว ไม่ถือเป็นการโฆษณาต่อสาธารณชน
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือร้องเรียนซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาท น. ยื่นต่อนายอำเภอคอนสารโดยเฉพาะเจาะจง ไม่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร เพราะหนังสือร้องเรียนดังกล่าวยื่นต่อนายอำเภอคอนสารซึ่งเป็นบุคคลที่สามเพียงคนเดียวเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาใส่ความโดยโฆษณาให้บุคคลอื่นทั่วไปทราบนอกจากนายอำเภอคอนสาร จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8585/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนทั่วไป ว่าจะสับสนหรือไม่
ความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าต้องถือเอาความรู้สึกของสาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ เป็นหลักว่ารู้สึกสับสนหรือก่อให้เกิดความหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8585/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนว่าสับสนหรือไม่
ความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าต้องถือเอาความรู้สึกของสาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ เป็นหลักว่ารู้สึกสับสนหรือก่อให้เกิดความหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเดนท์"ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 275667ประกอบด้วยอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้าเป็น "UNIPRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์ และอักษรคำว่า"UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 275668มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า"ยูนิ-เพรสซิเดนท์"ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า"ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นการแสดงออกให้คนซื้อสินค้าทราบว่าสินค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายนี้มีชื่อเรียกขานที่สำคัญว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" รูปลักษณะโดยรวม ตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนไม่อาจทำให้สาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เรียกขานว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "PRESIDENT" ของโจทก์หรือเป็นสินค้าที่โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยไปได้ สาธารณชนย่อมไม่สับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายอันจะทำให้เข้าใจผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเดนท์"ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 275667ประกอบด้วยอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้าเป็น "UNIPRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์ และอักษรคำว่า"UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 275668มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า"ยูนิ-เพรสซิเดนท์"ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า"ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นการแสดงออกให้คนซื้อสินค้าทราบว่าสินค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายนี้มีชื่อเรียกขานที่สำคัญว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" รูปลักษณะโดยรวม ตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนไม่อาจทำให้สาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เรียกขานว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "PRESIDENT" ของโจทก์หรือเป็นสินค้าที่โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยไปได้ สาธารณชนย่อมไม่สับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายอันจะทำให้เข้าใจผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
มาตรา 29 และ 35 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เป็นบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกันทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชน
สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันคำว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย
มาตรา 29 และ 35 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เป็นบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกันทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชน
สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันคำว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต่างกันชัดเจน ไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายหนึ่งคือ "CK" อ่านว่า "ซีเค" ส่วนอีกเครื่องหมายหนึ่งคือ "CK Calvin Klein" โดยคำว่า "CK" กับ "Calvin Klein" วางทับซ้อนกันรวมเป็นอักษร 13 ตัว อ่านแยกกันเป็น "ซีเค" และ "คาลวินไคลน์" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน คือ ในส่วนคำสำคัญคือคำว่า "CCKK" นั้น มีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ โดยอักษรตัวแรกคือ ตัว C และ อักษรตัวที่ 3 คือตัว K มีขนาดเท่ากัน อักษรตัวที่สองคือตัว C และอักษรตัวสุดท้ายคือตัว K มีขนาดใหญ่กว่า รวมเป็นตัวอักษร 4 ตัววางเรียงกัน แม้ตัวอักษรตัวที่ 2 คือตัว C และอักษรตัวที่ 4 คือ ตัว K จะมีขนาดใหญ่กว่าอักษรอีก 2 ตัว แต่ก็เห็นได้ชัดว่าระหว่างตัว C และ K ที่ขนาดใหญ่ขึ้นนั้นมีอักษรตัว K อีกตัวหนึ่งคั่นอยู่ จึงอ่านได้ว่า "ซี ซี เค เค" มิใช่ "ซีเค" อย่างของโจทก์แต่อย่างใด จึงเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับของโจทก์ดังกล่าวมีรูปลักษณะตัวอักษร การวางตัวอักษร จำนวนตัวอักษร และเสียงเรียกขานที่แตกต่างกันจนสังเกตได้ชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ และไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามรับจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8(10) และ (11) การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้หรือขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า แม้สินค้าต่างจำพวก หากก่อให้เกิดความสับสนแก่สาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 10ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเครื่องบอกเวลาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2494 เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎห้ายอด บนยอดมงกุฎแต่ละยอดมีจุดกลมสีดำ ใต้มงกุฎมีอักษรโรมันคำว่า ROLEX (โรเล็กซ์) ส่วนจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าจำพวก 39 รายการดินสอ และสินค้าจำพวก 39 ทั้งจำพวกเมื่อปี2524 และปี 2526 โดยเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎห้ายอดมีจุดกลมสีดำอยู่บนมงกุฎเช่นเดียวกัน ใต้มงกุฎต่างมีอักษรโรมันคำว่า Lolex ซึ่งมีลักษณะตัวอักษรคล้ายคลึงกัน ทั้งยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า "โรเล็กซ์" ด้วย เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจึงคล้ายคลึงกันมาก แม้จำเลยจะจดทะเบียนในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ ก็นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น แม้จำเลยจะยังมิได้นำสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่าย แต่การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อไปได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามานานกว่า80 ปี และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41(1)นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22 ไว้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามานานกว่า80 ปี และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41(1)นอกเหนือจากการที่เคยใช้สิทธิโต้แย้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22 ไว้แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้จริงและผลกระทบต่อสาธารณชน
ในคดีเครื่องหมายการค้าเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องวินิจฉัยไม่เพียงแต่ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะต้องเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณะทำนองเดียวกันด้วย จะชี้ขาดว่าเครื่องหมายการค้าไม่เหมือนกันโดยเอามาเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างนั้นไม่ได้ จำต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและใช้กันโดยสุจริตถึงประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าประจำและถึงสภาพแห่งท้องตลาดคือแยกปริมาณที่ประชาชนจะพึงซื้อ
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และการกำหนดค่าเสียหาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมี ค. โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อรับรองและยืนยันว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ลายมือชื่อในเอกสารฉบับนี้เป็นลายมือชื่อของ ร. ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจโดยถูกต้องในการลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ และ ร. ได้สาบานตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าตนจริง จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างให้เห็นว่า ร. มิใช่ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในการมอบอำนาจให้นายบุญมาฟ้องคดีนี้ และโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง ดังนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีใบสำคัญของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า ค. เป็นโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีผู้มีอำนาจเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แต่เมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงหนังสือมอบอำนาจนั้น จึงไม่ต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งป.วิ.พ.
เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมัน และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัว เหมือนกับตัวอักษร5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่า โมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้ จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโดนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว
โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมทำให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน 100,000บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 10,000บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท
เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมัน และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัว เหมือนกับตัวอักษร5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่า โมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้ จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโดนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว
โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมทำให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน 100,000บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 10,000บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: การใช้คำ 'PEPE' ทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า PEPE เป็นคำเฉพาะที่แปลความไม่ได้เป็นคำประดิษฐ์ที่โจทก์และกลุ่มบริษัทของโจทก์ในต่างประเทศใช้เป็นชื่อทางการค้าและเป็นเครื่องหมายการค้ามาเป็นเวลานานประมาณ 15 ปีแล้วสำหรับในประเทศไทย โจทก์และกลุ่มบริษัทโจทก์ยังได้ยื่นคำขอและจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าดังกล่าวไว้หลายรูปแบบซึ่งล้วนแต่ใช้คำว่า PEPE เป็นหลักสำคัญ ความ-มุ่งหมายสำคัญของโจทก์ ตลอดจนความเข้าใจของสาธารณชนจึงอาศัยคำว่า PEPEดังกล่าวเป็นสำคัญในการบ่งชี้ว่าสินค้าที่ใช้คำดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ การที่จำเลยเพิ่งใช้คำว่า PEPE ในเครื่องหมายการค้าคำว่า DON PEPE เป็นการใช้คำประดิษฐ์ที่ไม่มีคำแปลตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยจงใจ แม้จำเลยจะใช้คำว่า DON ประกอบด้วย แต่จากตำแหน่งที่วางคำว่า DON ซึ่งอยู่บนคำว่าPEPE โดยใช้ตัวอักษรที่เล็กกว่า ไม่ใช้ตัวอักษรที่ใหญ่และเด่นชัดเท่ากับคำว่า PEPEย่อมเป็นการเน้นสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า PEPE เป็นหลักตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า DON ลักษณะของตัวพิมพ์อักษรในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยที่ไม่ก่อให้เกิดข้อแตกต่างที่เด่นชัดแก่สาธารณชน แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยในการลอกเลียนใช้คำว่า "PEPE" เป็นข้อสำคัญตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อผลของการลวงสาธารณชนให้เกิดความสับสนหลงผิดอย่างชัดแจ้ง และโอกาสที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหลงผิดในตัวสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ว่าเป็นสินค้าของโจทก์เป็นไปได้ง่าย เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด