พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการจ่ายเงินคืนให้ลูกหนี้/ผู้จัดการมรดก แม้ลูกหนี้สาบสูญ เงินยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากผู้มีสิทธิเรียกร้องทันเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา 322 วรรคสอง และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้ เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของบุคคลสาบสูญ: ผู้ร้องต้องมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้มีสิทธิเดิมที่ยังมีชีวิตอยู่
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ.เป็นคนสาบสูญโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ผ.แทนที่ท. บิดาผู้ร้องซึ่งเป็นลุงของ ผ.ดังนี้หากศาลสั่งให้ผ. เป็นคนสาบสูญตามกฎหมายก็ต้องถือว่า ผ. ถึงแก่ความตายเมื่อครบ 7 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา คิดแล้วไม่เกินปี พ.ศ. 2476 เพราะ ผ. ไปจากภูมิลำเนาเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่ ท. บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2478 ดังนั้น ถึง ท.จะมีสิทธิรับมรดกของผ.ในฐานะลุงดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิรับมรดกของผ.แทนที่ท.เพราะขณะที่ถือว่าผ. ถึงแก่ความตายนั้นท.ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผ. เป็นคนสาบสูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาบุคคลเป็นคนสาบสูญเมื่อขาดการติดต่อและหายตัวไปเป็นเวลานาน
ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้บิดาของผู้ร้องเป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 และมีผู้คัดค้านเข้ามาในคดี เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่มีใครทราบแน่ว่า บิดาผู้ร้องเป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่เมื่อฟังได้ว่าบิดาผู้ร้องไปจากภูมิลำเนาได้ 20 ปีเศษแล้ว โดยไม่กลับมาอีกเลย กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 ในอันที่จะมีคำสั่งให้บิดาผู้ร้องเป็นคนสาบสูญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญเมื่อหายตัวไปนานและไม่มีข้อมูลการกลับมา
ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้บิดาของผู้ร้องเป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64. และมีผู้คัดค้านเข้ามาในคดี. เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่มีใครทราบแน่ว่า บิดาผู้ร้องเป็นตายร้ายดีอย่างไร. แต่เมื่อฟังได้ว่าบิดาผู้ร้องไปจากภูมิลำเนาได้ 20 ปีเศษแล้ว โดยไม่กลับมาอีกเลย. กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 ในอันที่จะมีคำสั่งให้บิดาผู้ร้องเป็นคนสาบสูญได้.