พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275-1278/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: เอกสารประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงและการสาบานตนพยาน
เอกสารที่จำเลยยื่นส่งต่อศาลแรงงานกลางเพื่อประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวของคู่ความและศาลแรงงานกลางได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นมิใช่เอกสารที่จำเลยอ้างประกอบการสืบพยานของจำเลยแต่อย่างใดจึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 ทั้งการแถลงรับข้อเท็จจริงของคู่ความดังกล่าวก็เป็นกรณีที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารรับฟังเป็นยุติโดยไม่จำต้องนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงอีก เมื่อไม่มีการสืบพยานก็ย่อมไม่มีการสาบานตนของพยานตลอดถึงการซักถามพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31,45 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาที่มีจำเลยเป็นชาวต่างด้าว จำเป็นต้องมีล่ามสาบานตนและลงลายมือชื่อในคำแปลตามกฎหมาย
ตามคำให้การจำเลย คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตลอดจนรายงานกระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ ณ ที่ใดเลยว่า ร. ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนหรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจ ไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปลและก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการสาบานตน แม้ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลไม่ผิด หากจำเลยไม่ใช้สิทธิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองที่บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานได้ แม้จะขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นแต่กฎหมายให้สิทธิไว้ จำเลยจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอใช้สิทธินี้เลยทั้งเมื่อศาลจดรายงานว่าหมดพยานโจทก์ทั้งสอง ให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้ จำเลยที่ 1ไม่ได้โต้แย้ง กลับลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาและลงชื่อรับฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าจะถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองหรือไม่ จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานหรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสาบานตน
การที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีระบุพยาน จำเลยไม่มีสิทธิสาบานตนให้การเป็นพยานได้เพราะมีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 และ 87บัญญัติเรื่องการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไว้โดยชัดแจ้งอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับบังคับใช้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์แนวปฏิบัติศาลเกี่ยวกับการสาบานตนของผู้ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย ไม่เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เขียนข้อความลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีใจความเพียงว่ากฎหมายระบุให้ผู้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องสาบานตนว่าเป็นคนยากจน ซึ่งทางปฏิบัติมักจะดำเนินการต่อหน้าศาล แต่ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีเจ้าพนักงานของศาลให้ผู้ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถากล่าวคำสาบานตรงหน้าที่รับส่งคำคู่ความ ทำให้ผู้คนมองกันเป็นตาเดียว เหมือนกับเป็นการประจานความยากจนของผู้ร้อง จึงอยากจะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง แม้ข้อความที่ว่าการสาบานตนว่าเป็นคนยากจน ทางปฏิบัติมักจะดำเนินการต่อหน้าศาลนั้นจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ข้อความทั้งหมดก็เป็นเพียงความเห็นที่เสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขการสาบานตนว่าเป็นคนยากจนไม่ให้ทำต่อหน้าผู้อื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าข้อความหรือความเห็นดังกล่าวไม่ทำให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาล หรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาฟ้อง สหกรณ์การเกษตรเมืองปราจีนบุรี จำกัดหรือในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในคดีดังกล่าว ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไปแต่อย่างใดผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นผู้เขียนบทความและเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงยังไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์แนวปฏิบัติการสาบานตนของศาล ไม่เป็นละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เขียนข้อความลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีใจความเพียงว่ากฎหมายระบุให้ผู้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องสาบานตนว่าเป็นคนยากจน ซึ่งทางปฏิบัติมักจะดำเนินการต่อหน้าศาล แต่ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีเจ้าพนักงานของศาลให้ผู้ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถากล่าวคำสาบานตรงหน้าที่รับส่งคำคู่ความ ทำให้ผู้คนมองกันเป็นตาเดียว เหมือนกับเป้นการประจานความยากจนของผู้ร้อง จึงอยากจะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง แม้ข้อความที่ว่าการสาบานตนว่าเป็นคนยากจน ทางปฏิบัติมักจะดำเนินการต่อหน้าศาลนั้นจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ข้อความทั้งหมดก็เป็นเพียงความเห็นที่เสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขการสาบานตนว่าเป็นคนยากจนไม่ให้ทำต่อหน้าผู้อื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าข้อความหรือความเห็นดังกล่าวไม่ทำให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาล หรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาฟ้องสหกรณ์การเกษตรเมืองปราจีนบุรี จำกัดหรือในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในคดีดังกล่าว ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไปแต่อย่างใดผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นผู้เขียนบทความและเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงยังไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการสาบานตนเบิกความ แม้ขาดนัดยื่นคำให้การ หากมิได้ใช้สิทธิและโต้แย้งคำสั่งศาล ย่อมเป็นเหตุให้ต้องห้ามอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอบบัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานได้ แม้จะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ขอใช้สิทธินั้น และเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ คดีเสร็จสำนวน นัดฟังคำพิพากษา จำเลยก็ไม่โต้แย้งคำสั่งนี้อันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและหลักแห่งความยุติธรรม มิได้ยกขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้งว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลและหลักความยุติะรรมในข้อใด อย่างไร หรือเหตุผลอย่างใด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและหลักแห่งความยุติธรรม มิได้ยกขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้งว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลและหลักความยุติะรรมในข้อใด อย่างไร หรือเหตุผลอย่างใด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจไต่สวนเองได้ แต่ต้องสอบพยานสาบานตนหากไม่ปรากฏต่อหน้าศาล
ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นความผิดต่อศาล. ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนได้เองตามที่เห็นสมควร. ไม่ว่าพยานหลักฐานเหล่านั้นฝ่ายใดจะได้อ้างหรือไม่. สำหรับกรณีที่การละเมิดอำนาจศาลได้กระทำต่อหน้าศาล. ย่อมถือได้ว่าศาลได้ทราบข้อเท็จจริงนั้นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏแก่ศาลเองแล้ว. ศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไปได้ทีเดียว. แต่ในกรณีที่การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไม่ได้กระทำต่อหน้าศาล. ศาลจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงก่อนเพียงแต่สอบถามปากคำพยานโดยไม่ปรากฏว่าพยานเหล่านั้นได้สาบานตน. หรือกล่าวคำปฏิญานว่าจะให้การตามสัตย์จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112.ถ้อยคำพยานเหล่านั้นจึงฟังเป็นความจริงยังไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 824/2492).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จต่อศาล ไม่จำเป็นต้องสาบานตนก่อน หากความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 มิได้วางเกณฑ์องค์ประกอบความผิดไว้ว่า พยานที่เบิกความเท็จนั้นจะต้องได้สาบานหรือปฏิญาณตัวแล้วด้วยจึงจะมีความผิดดังเช่นในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 155ความมุ่งหมายอันเป็นสารสำคัญของมาตรา 177 อยู่ที่จะเอาผิดกับผู้เบิกความในข้อสำคัญแห่งคดีด้วยความเท็จเป็นสำคัญเพราะการเบิกความเท็จต่อศาลย่อมมีส่วนทำให้เสื่อมเสียความยุติธรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จต้องพิสูจน์การสาบานตนของพยาน การอ้างแบบพิมพ์ไม่เพียงพอต่อการลงโทษ
ในคดีฟ้องหาว่าเบิกความเท็จนั้นถึงแม้โจทก์จะอ้างคำเบิกความของจำเลยในคดีที่เป็นเหตุให้จำเลยถูกฟ้องฐานเบิกความเท็จ และปรากฏมีข้อความในคำเบิกความนั้นว่า'ข้าพเจ้าพยานได้สาบานตนแล้ว' ก็ตาม ข้อความดังกล่าวก็เป็นแต่เพียงแบบพิมพ์ซึ่งได้ตีพิมพ์ไว้ก่อนและเพราะในการเบิกความเป็นพยานในศาลก็หามีกฎหมายบังคับให้พยานทุกคนต้องสาบานหรือปฏิญาณตัวก่อนเบิกความไม่ฉะนั้นเมื่อจำเลยปฏิเสธและโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานบุคคลถึงความข้อนี้เลย ก็ลงโทษจำเลยฐานเบิกความเท็จไม่ได้