คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สามีเสียชีวิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกเงินกู้: สินส่วนตัว vs. สินสมรส และผลกระทบจากการเสียชีวิตของคู่สมรส
ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินส่วนตัว และฟ้องเรียกเงินนั้นคืนได้โดยลำพัง
แม้ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินสมรส และฟ้องคดีโดยสามีไม่ได้ยินยอมด้วย แต่ปรากฏชั้นฎีกาว่าสามีตายแล้วไม่มีทางให้สามีเข้าจัดการร่วมด้วย ภริยาจัดการสินสมรสได้โดยลำพังและมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนการขาดอุปการะจากสามีที่เสียชีวิตจากละเมิด ศาลกำหนดตามสมควรแก่เหตุ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453 สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี่ยงดูกัน ดังนั้น เมื่อสามีโจทก์ถูกจำเลยยิงตายโดยละเมิด จำเลยจึงต้องชดใช้ที่โจทก์ขาดไร้อุปการะจากสามี และแม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่นอนว่าค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และได้ยื่นคำขอต่อศาลขอว่าความอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องฟังคำคัดค้านของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เพราะในกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องระหว่างศาลกับคู่ความที่ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสันดานเด็กเกิดจากหญิงอยู่กินกับชายอื่นหลังสามีตาย บุตรเกิดหลัง 310 วัน ไม่เป็นบุตรตามกฎหมาย
เด็กซึ่งเกิดจากหญิงผู้ซึ่งได้อยู่กินกับชายฉันสามีภริยาหลังจากที่ชายได้ตายไปเกินกว่า 310 วันแล้ว ย่อมมิใช่บุตรของชายผู้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1519, 1520 และ 1521 และมาตรา 1519,1520,1521 นี้ย่อมนำมาใช้บังคับในกรณีที่ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสได้ ในเมื่อมีปัญหาว่าเด็กที่เกิดจากหญิงนั้นเป็นบุตรของชายที่อยู่กินด้วยกันหรือมิใช่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังสามีเสียชีวิต: ไม่ต้องฟ้องภายใน 1 ปี และพิจารณาอายุการครอบครองตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ
ในกรณีที่มีผู้ครอบครองที่ดินของสามีที่ตายไปแล้ว ภริยาไม่จำต้องเรียกร้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามอายุความมรดกเพราะกรณีไม่ใช่เรียกร้องตามสิทธิของเจ้าหน้าอันมีต่อกองมรดก และไม่ใช่เป็นเรื่องพิพาทในระหว่างทายาท
การที่จะใช้กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ครอบครองที่ดินนั้น ต้องแล้วแต่ว่าที่ดินนั้นได้เป็นที่บ้านที่สวนตั้งแต่เมื่อใด คือ ก่อนหรือหลังวันที่ 1 เมษายน 2475 ซึ่งเป็นวัน ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน ถ้าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อน ก็ต้องนำเอากฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังสามีเสียชีวิต: อายุความ & กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ
ในกรณีที่มีผู้ครอบครองที่ดินของสามีที่ตายไปแล้วภริยาไม่จำต้องเรียกร้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามอายุความมรดก เพราะกรณีไม่ใช่เรียกร้องตามสิทธิของเจ้าหนี้อันมีต่อกองมรดกและไม่ใช่เป็นเรื่องพิพาทในระหว่างทายาท
การที่จะใช้กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 บังคับในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ครอบครองที่ดินนั้น ต้องแล้วแต่ว่าที่ดินนั้นได้เป็นที่บ้านที่สวนตั้งแต่เมื่อใด คือ ก่อนหรือหลังวันที่ 1 เมษายน 2475ซึ่งเป็นวันประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน ถ้าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อน ก็ต้องนำเอากฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากมรดกและการแบ่งสินสมรสเมื่อสามีเสียชีวิต
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือน ก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยุ่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ป.ม.แพ่งฯบรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่า ๆกัน ถ้ามีภรรยา 2 คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียว และในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ภริยาหลวงได้ 2 ส่วน ภริยาน้อยได้1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิมแปลงเป็นสินบริคณห์เมื่อสามีเสียชีวิตกลับเป็นสินเดิม เจ้าหนี้มีสิทธิยึด
ทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของภรรยาซึ่งเอามาบริคณห์กลายเป็นสินบริคณห์ในเวลาแต่งงานนั้น เมื่อสามีตายแล้ว สินบริคณห์นั้นย่อมตกเป็นทรัพย์ของภรรยาตามเดิม เจ้าหนี้ส่วนตัวมีสิทธิยึดเอาชำระหนี้ได้
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.148-271