คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สาระสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายและผลของการรับชำระค่างวดเกินกำหนด แม้มีข้อตกลงยกเลิกสัญญาได้ทันที
ตามข้อกำหนดแห่งสัญญากำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่างวดตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญายกเลิกทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว แต่จำเลยชำระค่างวดรวม 24 งวด เกินกำหนดระยะเวลาและเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาเกือบทุกงวด โจทก์ก็รับไว้ทุกงวด ไม่เคยปฏิเสธการชำระค่างวดทุกงวดที่เกินกำหนดแม้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยภายหลังที่จำเลยชำระค่างวดไป 22 งวด แล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยนำเงินค่างวดงวดที่ 23 และ 24 ไปชำระให้แก่โจทก์ หลังจากโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยเพียง 1 สัปดาห์ โจทก์ก็รับไว้โดยไม่อิดเอื้อน ย่อมแสดงว่า ในทางปฏิบัติต่อกันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงจะนำเหตุแห่งข้อกำหนดในสัญญามาเป็นข้ออ้างสัญญาเลิกต่อกันทันทีเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามิได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 โดยหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรและบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่างวดสุดท้ายภายในระยะเวลานั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติโดยไม่มีเหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธ โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมดมาเป็นเหตุยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ หาเป็นการพิจารณาหรือพิพากษานอกประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การโดยไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ย่อมไม่อาจยกขึ้นต่อสู้คดีได้ และสัญญาที่ยังมิได้ตกลงรายละเอียดสาระสำคัญ
การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยมอบให้ยึดถือเป็นประกันไว้ได้
โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่งซึ่งจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันหรือไม่: การชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาหากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและอาคารของโจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า จำเลยครอบครองที่ดินและอาคารโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันด้วยว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วหรือไม่ หากสัญญาดังกล่าวเลิกกันโดยชอบย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น ปัญหาว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วโดยชอบหรือไม่ จึงเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ข้อตกลงสร้างสโมสร/สระว่ายน้ำเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งในสัญญาข้อ 12 ระบุว่า "โครงการฯ ตามสัญญาจะจัดให้มีสโมสรโครงการโรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำ เพื่อเป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการ" ข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากการก่อสร้างสิ่งปลูกตามแบบอาคารที่กำหนดไว้ในข้อ 1 อันเป็นเงื่อนไขและสาระสำคัญแห่งสัญญาโดยชัดแจ้ง เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อกำหนดแห่งสัญญา การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก็เป็นเพียงการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหยิบยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาข้อ 12 เป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาข้อ 12 จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการชำระหนี้ต่างตอบแทนภายในเวลาอันสมควร จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาณกำหนดสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมถือเป็นสาระสำคัญ หากผิดสัญญาผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ว่า "โครงการ ฯ ตามสัญญาจะจัดให้มีสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำเพื่อเป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการ" เป็นการระบุสิ่งที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างตามแบบอาคารที่กำหนด ตามแผ่นพับก็ปรากฏภาพสโมสรโครงการและสระว่ายน้ำ อีกทั้งสถานที่ก่อสร้างโครงการมิได้อยู่ในเขตการค้าหรือย่านธุรกิจสำคัญ และเนื้อที่ของที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียง 67.50 ตารางวา แต่ราคาตามสัญญาสูงถึง 3,955,000 บาท ย่อมชี้ชัดให้เห็นเจตนาของบุคคลทั่วไปที่จะเข้าเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสถานที่ดังกล่าวตามที่จำเลยที่ 1 จะสร้างให้เป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการแก่ลูกค้าของโครงการด้วย จึงเป็นเงื่อนไขและสาระสำคัญแห่งสัญญาโดยชัดแจ้ง
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ติดต่อสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ ก็เพียงเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำตามสัญญา ซึ่งล่วงเลยจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันประมาณ 1 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 1 ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้าง จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนดังกล่าวภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่ถือเอาเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ & การบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายที่ต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 สัญญาจึงเลิกกัน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดนัดชำระในงวดดังกล่าวเพราะโจทก์ยังไม่จัดหาธนาคารให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าที่ดินและอาคารงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ประเด็นในคดีจึงมีว่าการที่จำเลยยังไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ตามที่สัญญาระบุไว้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ถือกำหนดเวลาชำระเงินงวดที่ 26 ซึ่งตามสัญญาระบุไว้ว่าต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 เป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นในคดี มิได้นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การแต่อย่างใด
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระเงินค่าที่ดินและอาคารที่เหลือต่อไปอีก 26 งวด ภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่เมื่อจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดตั้งแต่งวดที่ 8 เป็นต้นมา โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ทั้งเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายมาเกือบ 1 ปี โจทก์ยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยจัดส่งเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อสำหรับเงินงวดสุดท้ายจากธนาคารให้โจทก์อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเลิกกันทันทีไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เสียก่อน ส่วนหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทไม่ถือว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เลิกสัญญา แม้ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อบางส่วน ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับการชำระเงินโดยไม่โต้แย้ง
ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไม่ตรงตามกำหนดตลอดมาแสดงว่าผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยรับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่โต้แย้ง จึงต้องผูกพันตามความประสงค์ของคู่สัญญาที่ไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญเช่นกัน เมื่อจะบอกเลิกสัญญาจำเลยต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาที่สมควรก่อน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อเพียง 3 งวด การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อแต่จำเลยไม่ยอมรับอ้างว่าค้างชำระถึง 9 งวด จึงเป็นการไม่รับชำระหนี้โดยไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอ้างได้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาตามหนังสือบอกเลิกสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในชั้นบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดินที่ต้องบังคับจำนองตามคำพิพากษาจากโฉนดเลขที่ 137814 เป็น 137818 เนื่องจากเจ้าหน้าที่โจทก์พิมพ์เลขโฉนดที่ดินดังกล่าวในสัญญาจำนองผิดพลาด เพราะหมายเลขโฉนดที่ดินเขียนด้วยเลขไทย ไม่สามารถอ่านได้ชัดเจนว่าเป็นโฉนดเลขที่ 137814 หรือ 137818 แต่ในสัญญาจำนองที่ดิน และหนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุระวางของที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตรงกับโฉนดที่ดิน ซึ่งโจทก์ได้ถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าวแนบท้ายฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจบังคับจำนองแก่ที่ดินตามโฉนดเลขที่ที่ถูกต้องได้ โดยไม่เป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาและไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นเพียงการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลยกคำร้องหากช่องทางฟื้นฟูไม่มีสาระสำคัญต่างจากเดิม แม้มีรายละเอียดต่างกัน
บทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ที่ว่านำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความถึงว่านำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ป.วิ.พ. บัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้ในมาตรา 144 ว่า "เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น?" บทบัญญัติของกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/8 บัญญัติว่า "ผู้ร้องจะขอถอนคำร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต แต่ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคำร้องขอไม่ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอ หรือขาดนัดพิจารณา หรือศาลอนุญาตให้ถอนคำร้องขอ ก่อนที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายและลูกหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน" และมาตรา 90/9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วน? กับให้ส่งสำเนาคำร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ?" จากวัตถุประสงค์และหลักกฎหมายดังกล่าวจึงเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามมาตรา 90/4 นั้นเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟื้นฟูกิจการโดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีหนึ่งถือเสมือนหนึ่งว่า เป็นการกระทำการแทนบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่นนี้หากคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับช่องทางในการฟื้นฟูกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วว่าไม่เป็นช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และในคดีหลังมีการเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีสาระสำคัญเหมือนกับคดีก่อน การพิจารณาวินิจฉัยคดีหลังย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
ในคดีก่อนลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างเหตุช่องทางการฟื้นฟูกิจการว่า จะพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดสรรให้มีพื้นที่เช่าสูงสุดเพื่อให้ผลกำไรของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยมีแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คือ แผนด้านผลิตภัณฑ์ จะพัฒนาสาธารณูปโภคได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นที่น่าพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ แผนด้านราคา เน้นการกำหนดราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่เช่าและรูปแบบการเช่า อาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งอาคารเปรียบเทียบกับค่าบริการของอาคารให้เช่าอื่น ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน แผนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นที่ความหลากหลายของโครงการ เช่น การจัดนิทรรศการต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของผู้ใช้บริการในอาคาร ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอที่จะนำมาหมุนเวียนในกิจการและแบ่งสรรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ในเมื่อผู้ร้องขอก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการระดมทุนตลอดถึงแหล่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเป็นข้อสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ก็ดี การติดตามหนี้สินที่ลูกค้าของลูกหนี้ค้างชำระก็ดี การเจรจากับเจ้าหนี้ภาระค้ำประกันโดยขอให้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันก่อนก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไม่อาจคาดหมายได้ คดีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ คดีนี้ผู้ร้องขอเสนอช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ว่า จะทำให้กิจการของลูกหนี้เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน โดยปรับปรุงคุณภาพสถานที่เพื่อให้เป็นอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นที่สุดอาคารหนึ่งในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนพื้นที่เช่าบางส่วนให้เป็นสถานบันเทิงแบบครบวงจร เช่น โรงภาพยนต์ขนาดเล็ก ลานโบว์ลิ่ง หรือลานเบียร์สด โดยอาศัยความได้เปรียบด้านที่ตั้งและพื้นที่ของอาคาร การเพิ่มรายได้ด้านอื่น ๆ คือเพิ่มค่าเช่าสำนักงานและพื้นที่การให้เช่า ให้บริการที่จอดรถ ให้เช่าพื้นที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ เรียกเก็บค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคจากลูกค้า รับเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานอื่น ๆ ขายพื้นที่หรือเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้มีประกัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การชำระหนี้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย รายละเอียดตามตารางการชำระหนี้ที่จะเสนอภายหลัง ช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ผู้ร้องขอเสนอมาดังกล่าวมีความแตกต่างจากช่องทางที่ลูกหนี้เสนอในคดีก่อนเพียงถ้อยคำและรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามช่องทาง แต่สาระสำคัญหรือหลักการเหมือนกับคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขพินัยกรรมโดยการขีดฆ่าและพิมพ์ใหม่ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ หากไม่เข้าข่ายแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ
ที่ผู้ตายขีดฆ่าคำว่า "ดังนี้" ออกไปเพราะเป็นการพิมพ์ข้อความตกแล้วพิมพ์ใหม่ว่า "ให้มีผลเมื่อข้าพเจ้าตายแล้วดังนี้" โดยผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับนั้น การขีดฆ่าดังกล่าวไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อความในพินัยกรรมเพราะแม้ไม่มีการขีดฆ่าดังกล่าวและไม่พิมพ์ข้อความใหม่ ข้อความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้นก็ระบุชัดเจนว่าเป็นใบมอบทรัพย์สิน (มรดก) ให้แก่จำเลยผู้รับมรดกเพียงผู้เดียว การรับมรดกย่อมจะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายอยู่แล้ว ส่วนการขีดฆ่าคำว่า "ผู้รับมอบ" แล้วพิมพ์ข้อความใหม่เป็นว่า "พยาน" ก็เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงว่า จ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรม มิใช่เป็นผู้รับมอบแต่อย่างใด การแก้ไขดังกล่าวมิใช่เป็นการตกเติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งเป็นการแก้ไขก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง จึงไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
of 25