คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สารเคมี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของสารเคมีในผลิตภัณฑ์และการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีวัตถุอันตราย
ฎีกาของจำเลยที่ว่าของกลางที่โจทก์นำไปตรวจพิสูจน์แล้วนำมาฟ้องจำเลยเป็นของกลางที่โจทก์นำมาจากโรงงานของจำเลยโดยเป็นของกลางที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและส่งขายในท้องตลาด ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์จากความเสียหายสินค้าอันเกิดจากระบบป้องกันอัคคีภัยบกพร่องและการจัดเก็บสารเคมีไม่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเคมีภัณฑ์ของแข็งไวไฟประเภทถ่านผงสีดำซึ่งผู้เอาประกันสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทยการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้รับฝากสินค้าดังกล่าวไว้โดยนำไปเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่3บริเวณท่าเรือกรุงเทพต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้คลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่3ทำให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องคดีนี้ได้ สถานที่ที่จำเลยที่3นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วยและสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกันแล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่3มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา659วรรคสองบัญญัติไว้จำเลยที่3จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคุณสมบัติสินค้าเพื่อจัดประเภทอัตราอากร กรณีสารเคมีมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดสนิมและปฏิกิริยาออกซิเดชัน
สินค้าพิพาท โจทก์ซื้อจากประเทศสิงคโปร์ ประเทศในภาคีอาเซียน และเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 38.14 ปรากฏว่า สินค้าพิพาทนอกจากจะมีคุณสมบัติกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันและป้องกันการกัดกร่อน ด้วย ดังนั้นสินค้าพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่ง ที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม" ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. 10/2527 ที่จะได้ลดอัตราศุลกากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บ หรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคา แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้รับ ลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 80 หรือต้องเสียอากรร้อยละ 24 ของราคา เมื่อการเรียกเก็บอากรขาเข้าถูกต้องแล้ว ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บแทนจำเลยที่ 2 จึง ถูกต้องด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก่อนหรือไม่ต่อไป เพราะไม่เป็น ประโยชน์แก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435-1436/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดินดำไม่ใช่วัตถุระเบิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้มีสารเคมีผสม หากไม่มีคุณสมบัติในการระเบิด
วัตถุระเบิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2501 มาตรา 3 คือ วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันเมื่อระเบิดขึ้นโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดัน หรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหารฯลฯ
ดินดำของกลางในคดีนี้ซึ่งฟังได้เพียงว่าเป็นวัตถุที่มีสารเคมีผสมอยู่ คือ โปแตสเซียมไนเตรท กำมะถัน และถ่าน เท่านั้น ไม่ปรากฎว่า มีอำนาจหรือคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าว จึงมิใช่วัตถุระเบิด