คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สำแดงราคา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การสำแดงราคาสินค้าเท็จ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ในชั้นชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ คือ 1. โจทก์มีอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 3. คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ 5. จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นในข้อ 2. และข้อ 5. เท่านั้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าจะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มที่ได้สำแดงเท็จไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจทำละเมิดให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไปแล้วพิพากษายกฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าต้องชำระค่าภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้น หากฟังได้ว่าจำเลยทราบเหตุดังกล่าว ก็จะมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะมิได้นำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างมาชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ก่อนอันจะถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้น หากจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริง และจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มแก่โจทก์เพียงใดเสียก่อน ถ้าหากมิได้เป็นหนี้ค่าภาษีอากรเพราะได้สำแดงราคาสินค้าถูกต้องตามราคาซื้อขายอันแท้จริงในท้องตลาดแล้ว จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินของห้างไปชำระให้แก่โจทก์ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจทราบแน่ชัดว่าห้างเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์หรือไม่ เพียงใด แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นแล้วอันเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยในประเด็นที่ 1. และประเด็นที่ 3. ที่ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเองได้ก็ตามแต่เพื่อให้คดีมีการตรวจสอบดุลพินิจเป็นไปตามลำดับชั้นศาล จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร กรณีสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาตลาด
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด และไม่ชำระภายในกำหนดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้นมิได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อสำแดงราคาสินค้าน้อยกว่าราคาตลาด
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มีความเห็นว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมพร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่มและแจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยมิได้ชำระเงินให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลา กรณีของจำเลยจึงอยู่ในข่ายที่โจทก์จะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้า กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการขอคืนอากรและสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณีคือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45 แต่คดีนี้ปรากฏว่าสินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลย นำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารซึ่งเป็นการยังไม่ได้ชำระค่าอากรไว้นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้ ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นการประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรศุลกากร การสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด และการตรวจค้นยึดเอกสารเพื่อใช้ในการประเมิน
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ในกรณีที่มีปัญหาค่าอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้นำเข้าสามารถนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางแทนการวางเงินเพิ่มเติมเป็นประกันก็ได้ และนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากร ทั้งนี้ ก็เพื่อความสะดวกแก่ผู้นำเข้าเองโดยไม่ต้องนำของนั้นไปยังศุลกสถานหรือเก็บไว้ในที่มั่นคงแห่งใด ส่วนการที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะชักตัวอย่างของไว้วินิจฉัยปัญหาเพื่อเปรียบเทียบราคาตลาดกับสินค้าที่มีชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก อย่างเดียวกัน แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ชักตัวอย่างสินค้าไว้ ก็เป็นภาระของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยที่ 1 สำแดงราคาสินค้าพิพาทต่ำกว่าราคาตลาด หามีผลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยมิชอบไม่
จำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นสำนักงานจำเลยที่ 1 แล้วยึดเอกสารมาประเมินสินค้านั้น เป็นกรณีไม่มีเหตุที่จะออกหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 69 หมายค้นที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้มาจากการตรวจค้นจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นสำนักงานจำเลยที่ 1 แล้วยึดเอกสารมาประเมินราคาสินค้า เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในการพิจารณาสืบพยานนั้น เป็นดุลพินิจของศาลในการจดบันทึกคำพยานข้อความที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจดบันทึกนั้นเป็นรายละเอียดที่มีอยู่ในเอกสารแล้วศาลจึงไม่จำต้องบันทึกอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาผิดประเภทสินค้าหลีกเลี่ยงอากร การประเมินภาษี และอายุความทางภาษี
สินค้าชนิดเดียวกันถ้านำเข้ามาในลักษณะที่เป็นอะไหล่รถยนต์จะต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.แต่การนำเข้าแบบซี.เค.ดี. นั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน จำเลยนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุมัติคณะกรรมการนำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. จึงต้องคิดราคาต*ลาดเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 75 ของราคาที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี. การที่เจ้าพนักงานของโจทก์ที่ 1 เพิ่มราคาและแจ้งให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มขึ้นจึงชอบ การเรียกเก็บเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา นั้นมิใช่เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าวางประกันก็เรียกเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ถ้าไม่มีการวางประกันกลับเรียกเก็บเงินเพิ่มไม่ได้ ซึ่งกฎหมายคงไม่ประสงค์จะให้เกิดผลผิดปกติเช่นนั้น การแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้นมิได้มีการกำหนดแบบหรือวิธีการไว้ เมื่อหนังสือที่แจ้งไปยังจำเลยกำหนดให้จำเลยนำค่าภาษีอากรที่ขาดไปชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้มิฉะนั้นจะดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไปย่อมถือเป็นการแจ้งการประเมินแล้ว จำเลยสำแดงราคาของที่นำเข้าผิดสภาพของสินค้าโดยนำเข้ามาอย่างอะไหล่แต่สำแดงราคาเป็นสินค้าที่นำเข้าแบบ ซี.เค.ดี.อันเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1ที่จะเรียกอากรที่ขาดเพราะเหตุเกี่ยวกับราคาของที่จำเลยนำเข้าจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10วรรคสามตอนแรก มิใช่กรณีที่มีการคำนวณจำนวนอากรผิดวัน จะมีอายุความ 2 ปี ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลนั้น เมื่อกรณีของจำเลยมีการแสดงรายการเท็จโดยเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียภาษีอากรส่วนที่ขาดได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 ทวิ(2) จำเลยนำสินค้าพิพาทเข้ามาในปี 2519 เจ้าพนักงานของโจทก์จึงประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรเพิ่มในปี 2524 และฟ้องคดีเมื่อปี 2528 อยู่ในกำหนดระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ในเรื่องอากรที่ค้างชำระนั้นได้มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ ให้ผู้ค้างชำระภาษีต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่มีการค้าง*ชำระเงินภาษีอากรจึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้ จะเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. อันเป็นสิทธิเรียกร้องทั่วไปไม่ได้ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในต้นเงินอากรที่ค้างชำระนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นการให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องเมื่อผู้เสียภาษียอมรับราคาสินค้าที่สำแดงไว้ต่ำกว่าราคาแท้จริง
โจทก์นำสืบได้ว่าราคาสินค้าแท้จริงที่จำเลยที่ 1 ได้สำแดงไว้ตามฟ้องต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดและเมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์เรียกจำเลยที่ 1 ไปพบ ตัวแทนจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าราคาสินค้าที่สำแดงไว้ตามฟ้องต่ำกว่าราคาแท้จริง ดังนั้น การประเมินราคาสินค้าให้สูงขึ้นกว่าที่จำเลยสำแดงเพื่อเรียกเก็บภาษีเพิ่มของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาชิ้นส่วนนำเข้า การเพิ่มราคาโดยคณะกรรมการศุลกากร และอำนาจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 บัญญัติว่าบรรดาค่าภาษีนั้นให้เก็บตามบทพระราชบัญญัติและตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร นั่นก็คือ เก็บภาษีอากรตามราคาตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 มาตรา 8(2) และราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามวิเคราะห์ศัพท์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2468 มาตรา 2 หมายถึง ราคาขายส่งหรือราคาที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ การที่จำเลยสั่งชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาในใบขนตามราคาที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งจะต่ำกว่าราคาอะไหล่ประมาณร้อยละ 75 ราคาที่จำเลยแสดงในใบขนจึงเป็นราคาส่งหรือราคาสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ จึงถูกต้องตรงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เป็นการสำแดงราคาอันเป็นเท็จ
เมื่อจำเลยผู้นำเข้าได้สำแดงราคาหรือแสดงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับราคาทางศุลกากรหามีอำนาจที่จะกำหนดให้จำเลยเพิ่มราคาสินค้าที่นำเข้าให้สูงผิดไปจากราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการฯที่จะกระทำได้เช่นนั้น อำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จะกระทำได้เพียงเฉพาะกรณีที่มีปัญหาว่า ผู้นำเข้าสำแดงราคาสินค้าในใบขนต่ำไปกว่าราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่เท่านั้น
การที่ทางราชการสืบทราบว่า ผู้นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์หาได้นำชิ้นส่วนไปประกอบรถยนต์ทั้งหมดไม่ แต่ได้นำบางส่วนมาจำหน่ายในลักษณะของอะไหล่ที่มีราคาสูงกว่า เป็นผลให้รายได้ภาษีอากรต้องขาดไปนั้น วิธีแก้ไขก็ด้วยทางราชการจะต้องกำหนดอัตราภาษีอากรชิ้นส่วนให้สูงกว่าอะไหล่มิใช่แก้ไขโดยมติของคณะกรรมการ ฯ ให้เพิ่มราคาชิ้นส่วนในการนำเข้าอีกร้อยละ 75 เพื่อให้เท่ากับราคาของอะไหล่ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการที่จะทำได้เช่นนั้น.