คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สำแดงเท็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าอากรศุลกากร: เจตนาหลีกเลี่ยงอากร vs. การสำแดงรุ่นรถยนต์ไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 88 (เดิม) และมาตรา 87 (3) (เดิม) ซึ่งเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดขั้นตอนให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินให้ผู้เสียภาษีทราบโดยระบุให้ทำเป็นหนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งการประเมินเป็นหนังสือแก่ผู้เสียภาษีว่าจะต้องเสียภาษีประเภทใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีโอกาสตรวจสอบและโต้แย้งโดยการอุทธรณ์การประเมิน ดังนั้น การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานจะสมบูรณ์และเกิดหนี้ที่ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระก็ต่อเมื่อได้มีหนังสือแจ้งการประเมินแก่ผู้เสียภาษีอากรโดยชอบแล้ว การแจ้งการประเมินเป็นหนังสือจึงต้องกระทำให้เสร็จสมบูรณ์ภายในอายุความ จำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ที่ 1 ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2533 แต่มิได้แจ้งการประเมินดังกล่าวแก่จำเลย เพิ่งมีหนังสือแจ้งการประเมินในวันที่ 4 สิงหาคม 2542 และส่งให้จำเลยทราบได้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการแจ้งการประเมินเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) (เดิม) การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำเข้ารถยนต์พิพาทโดยสำแดงรุ่นไม่ถูกต้องไม่ได้เกิดจากการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสาม จำเลยนำรถยนต์คันพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2532 และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2532 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันนำเข้า ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จยี่ห้อสินค้าและผลกระทบต่อสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดงอันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 60,99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากรโจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อ ระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้าดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้นจึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร: ดอกเบี้ยผิดนัดเริ่มนับแต่วันทำละเมิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น ต่อมากรมศุลกากรโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกบัตรภาษีคืนจากจำเลยทั้งสี่เป็นมูลหนี้ละเมิด จำเลยทั้งสี่จึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดคือวันที่รับบัตรภาษี หาใช่นับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแจ้งให้คืนหรือชดใช้ราคาบัตรภาษีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดจากการสำแดงเท็จเพื่อรับเงินชดเชยภาษีอากร ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่รับบัตรภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น ต่อมากรมศุลกากรโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกบัตรภาษีคืนจากจำเลยทั้งสี่เป็นมูลหนี้ละเมิด จำเลยทั้งสี่จึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดคือวันที่รับบัตรภาษีหาใช่นับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแจ้งให้คืนหรือชดใช้ราคาบัตรภาษีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8476/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยสำแดงเท็จและใช้เอกสารราชการปลอม
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ได้แยกการกระทำความผิดไว้หลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิด อยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน ตามคำฟ้องและทางพิจารณา ปรากฏว่าเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรคือของที่นำเข้ามาเป็นของที่ต้องเสียภาษีมิได้ลักลอบนำเข้าแต่เป็นการนำมาผ่านศุลกากรโดยสำแดงรายการสินค้าว่าเป็น ซี่ลวดรถจักรยาน ไม่มีเครื่องหมายการค้า อันเป็นความเท็จซึ่งความจริงสินค้าดังกล่าวเป็นซี่ลวดรถจักรยานยนต์เพื่อให้เสียค่าภาษีน้อยกว่าที่จะพึงต้องเสียโดยมีเจตนาจะหลักเลี่ยงค่าภาษี กรณีจึงมีความผิดตามมาตรา 27 การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ ใน ฐานะผู้นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าโดยรู้เห็นให้พนักงานออกของหรือชิปปิ้งนำต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวซึ่งได้มีการลบคำว่า "NOBRAND"ออก และเติมเครื่องหมายการค้ารูปดาวห้าแฉกไปยื่นต่อ ก. นายตรวจศุลกากร ให้ตรวจปล่อยสินค้าซี่ลวดและ ก. ได้ตรวจปล่อยสินค้าดังกล่าวไป จึงเป็นการร่วมกันใช้ เอกสารราชการปลอมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ก. และกรมศุลกากร การใช้เอกสารราชการปลอมดังกล่าวเป็นการ กระทำความผิดต่างฐานกันกับความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้มีความมุ่งหมายในการกระทำเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็เป็น การกระทำต่างวาระกัน และในแต่ละวาระก็เป็นความผิด สำเร็จแล้ว จึงเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ขาดอายุความฟ้องฐานสำแดงเท็จ ก็ยังฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีได้ ผู้เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีย่อมมีความผิด
จำเลยเป็นผู้จัดการของบริษัท ท.จำกัด ได้สั่งเครื่องจักรหลายประเภทเข้ามาในราชอาณาจักร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อชำระอากรต่ำกว่าราคาที่แท้จริง อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ทั้งฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 และฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรตามมาตรา 27 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 99 เพราะขาดอายุความแล้ว ก็ย่อมฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 27 ได้
ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้นแม้บริษัท ท.จำกัด จะเป็นผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ท.จำกัด เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัท ท.จำกัดด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102, 102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ประกอบมาตรา 37 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร, การสำแดงเท็จ, และการระงับคดีอาญา: สิทธิในการโต้แย้งและการคืนหลักประกัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เห็นว่าโจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น ให้โจทก์นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันค่าภาษีอากรไว้ ทั้งการกระทำของโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ 99 จึงมีหนังสือเรียกให้โจทก์ไปตกลงระงับคดีอาญา ซึ่งหากโจทก์ยอมเสียค่าปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาดโดยคำนวณจากราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับตามมาตรา 102 และ 102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติศุลกากรกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยที่ตีราคาสินค้าโจทก์แล้วนำไปกำหนดค่าปรับ และโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันค่าภาษีอากรจนกว่าโจทก์จะชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบตามมาตรา 112 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรศุลกากร การสำแดงเท็จ และอำนาจเจ้าหน้าที่ในการวางประกันหรือปรับ
โจทก์นำกระบอกสูบเครื่องยนต์ระบุว่ายี่ห้อ เอ็น.พี.อาร์.แต่บางรายการมีเครื่องหมายรถยนต์ยี่ห้อฮีโน บางรายการเป็นอะไหล่ชนิดแท้ของรถยนต์ยี่ห้อฮีโน โตโยต้า และนิสสัน ไม่ตรงกับใบขนสินค้า แสดงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจให้วางเงินประกันหรือให้มีการค้ำประกันของธนาคารแทนการวางเงินตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 และเมื่อเห็นว่ามีการทำคำสำแดงเท็จเป็นการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร จำเลยอาจจะตกลงงดการฟ้องร้องทางอาญาถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 99,102,102 ทวิ เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปตกลงระงับคดีโดยเสียค่าปรับ จำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาและตามเกณฑ์ระงับคดีเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติและเป็นธรรมแก่คู่กรณีของจำเลยโจทก์จะต้องถูกปรับ 2 เท่า ของอากรที่ขาด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยถือเอาราคาที่บริษัทรถยนต์ฮีโน โตโยต้าและนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง กับสินค้าที่โจทก์นำเข้าแล้วลดให้ร้อยละห้าแล้วถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาดแล้วได้กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับนั้น เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจจะฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งใดของจำเลยได้ และคดีนี้ยังโต้เถียงจำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ประเมินอากรอันพึงต้องเสียและแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อชำระเงินอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิจะบังคับให้จำเลยคืนหลักประกันนี้.
of 4