พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินตามหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกา แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายหลัง สิทธิขอคืนภาษีไม่เกิดขึ้น
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องในขณะที่ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ และเป็นการขายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งโจทก์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปตามมาตรา 91/10 (เดิม) แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย แม้ต่อมาจะมี พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ก็มีผลต่อการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ไม่มีผลต่อการขายที่ดินของโจทก์และความรับผิดในการเสียภาษีของโจทก์ที่มีอยู่แล้วแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีและจำเลยไม่ต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระแล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนภาษีซื้อของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการส่งออก และการฟ้องเรียกคืนภาษีที่ได้รับไป
การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดที่มิใช่การส่งออกเป็นการประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มาตรา 81/3(1) บัญญัติให้ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการดังกล่าวขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักจากภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีตามมาตรา 82/3 ได้ ดังนั้น หากผู้ประกอบการมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการย่อมไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 82/3
กรมสรรพากรโจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการค้าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ด แต่จำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลยเพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่งจึงเป็นการขายที่จำเลยมิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยยังยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ขอคืนภาษีซื้อ เป็นการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อคืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนพร้อมดอกเบี้ย แต่จำเลยไม่ยอมคืน โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด เมื่อคำฟ้องของโจทก์ระบุถึงมูลหนี้และเหตุที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์โดยแจ้งชัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
กรมสรรพากรโจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการค้าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ด แต่จำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลยเพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่งจึงเป็นการขายที่จำเลยมิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยยังยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ขอคืนภาษีซื้อ เป็นการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อคืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนพร้อมดอกเบี้ย แต่จำเลยไม่ยอมคืน โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด เมื่อคำฟ้องของโจทก์ระบุถึงมูลหนี้และเหตุที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์โดยแจ้งชัดแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6898/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คณะบุคคลเพื่อประโยชน์ทางภาษี: การถือหุ้นและสิทธิขอคืนภาษี
โจทก์ที่ 1 แบ่งหุ้นในบริษัทให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล มีการยื่นคำขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เพื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในหุ้นของบริษัท คณะบุคคลนำเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 นำเครดิตภาษีจากเงินปันผลรวมคำนวณภาษี และมีภาษีที่ชำระเกินจึงขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน จำเลยมีหนังสือแจ้งไม่คืนเพราะเห็นว่าเงินปันผลที่คณะบุคคลได้รับถือเป็นเงินได้ของบุคคลแต่ละบุคคลผู้ร่วมในคณะบุคคล
โจทก์ทั้งสามมีเพียงสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลที่จัดทำขึ้นเอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการแทนคณะบุคคล โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ชื่อผู้ถือหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นมาเป็นชื่อของตน แม้บริษัทจะได้ลงชื่อคณะบุคคลในทะเบียนผู้ถือหุ้นก็ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กลายเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทตามกฎหมาย เนื่องจากคณะบุคคลมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอันอาจเป็นผู้ใช้สิทธิถือหุ้นแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่อาจจะอ้างได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในหุ้นบริษัท ซึ่งความข้อนี้ก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้ความจาก ส. พยานโจทก์ว่า เงินปันผลที่ได้มาไม่มีการแบ่งปันให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 โดยเก็บสะสมไว้เป็นเงินสำหรับการศึกษาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 แสดงว่าเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นมิได้ตกแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อย่างแท้จริง แต่เป็นเงินที่อยู่ในความควบคุมและจัดการของโจทก์ที่ 1 พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสามจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า สาเหตุที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคณะบุคคลเป็นเพราะโจทก์ที่ 1 ต้องการที่จะจัดตั้งหน่วยภาษีขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีเท่านั้น หุ้นของบริษัทยังคงเป็นของโจทก์ที่ 1 เช่นเดิม ดังนั้น คณะบุคคลที่โจทก์ทั้งสามจัดตั้งขึ้นจึงไม่ใช่คณะบุคคลตามมาตรา 56 วรรคสอง อันจะมีสิทธิขอคืนเงินภาษีอากรได้
โจทก์ทั้งสามมีเพียงสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลที่จัดทำขึ้นเอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการแทนคณะบุคคล โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ชื่อผู้ถือหุ้นในทะเบียนผู้ถือหุ้นมาเป็นชื่อของตน แม้บริษัทจะได้ลงชื่อคณะบุคคลในทะเบียนผู้ถือหุ้นก็ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กลายเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทตามกฎหมาย เนื่องจากคณะบุคคลมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอันอาจเป็นผู้ใช้สิทธิถือหุ้นแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่อาจจะอ้างได้ว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในหุ้นบริษัท ซึ่งความข้อนี้ก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้ความจาก ส. พยานโจทก์ว่า เงินปันผลที่ได้มาไม่มีการแบ่งปันให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 โดยเก็บสะสมไว้เป็นเงินสำหรับการศึกษาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 แสดงว่าเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นมิได้ตกแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อย่างแท้จริง แต่เป็นเงินที่อยู่ในความควบคุมและจัดการของโจทก์ที่ 1 พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสามจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า สาเหตุที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคณะบุคคลเป็นเพราะโจทก์ที่ 1 ต้องการที่จะจัดตั้งหน่วยภาษีขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในทางภาษีเท่านั้น หุ้นของบริษัทยังคงเป็นของโจทก์ที่ 1 เช่นเดิม ดังนั้น คณะบุคคลที่โจทก์ทั้งสามจัดตั้งขึ้นจึงไม่ใช่คณะบุคคลตามมาตรา 56 วรรคสอง อันจะมีสิทธิขอคืนเงินภาษีอากรได้