คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินยักยอกที่วางศาลเกิน 5 ปี ผู้เสียหายไม่รับสิทธิขาดตกเป็นของแผ่นดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งนำมาใช้ในคดีอาญาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อจำเลยได้นำเงิน20,885 บาท ที่ยักยอกไปมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อวันที่ 6มิถุนายน 2539 ผู้เสียหายต้องมารับไปภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวาง มิใช่นับจากวันที่ผู้เสียหายทราบถึงการวางเงิน การที่ผู้เสียหายมาขอรับเงินเมื่อวันที่ 21มิถุนายน 2545 ซึ่งเกิน 5 ปี เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4868/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องดำเนินการก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดแล้วถือเป็นสิทธิขาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 และคดีต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาตามเงื่อนไข ในมาตรา 221 จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแต่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาของจำเลยแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยย่อมทราบ วันครบกำหนดหนึ่งเดือนที่ต้องยื่นฎีกาหรือหากมีพฤติการณ์พิเศษ ที่จำเลยจะต้องขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป จำเลย ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเสียก่อน ครบกำหนดดังกล่าวได้แต่จำเลยหาได้ปฏิบัติเสีย ให้ถูกต้องไม่ ทั้งการรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาว่า จะสั่งรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยก็มิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ต้อง ด้วยบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลายื่นฎีกาจึงไม่ชอบจำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มี คู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง สิทธิขาด
โจทก์ฟ้องเรื่องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ซึ่งไม่ใช่อายุความฟ้องร้อง จึงนำเอา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง ในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นโจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 เดือน นับแต่วันลงมติ หากพ้นกำหนดสิทธิขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่โดยอ้างว่าผู้คัดค้านนัดเรียกประชุมไม่ถูกต้องเป็นผลให้การประชุมใหญ่และการลงมติในที่ประชุมไม่ถูกต้อง ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ผู้ร้องต้องร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ภายใน 1 เดือน นับแต่วันลงมติเมื่อได้ความจากคำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดคดีจึงพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นงดทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757-1760/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแย่งการครอบครองที่ดิน: ฟ้องเกิน 1 ปี สิทธิขาด
โจทก์ฟ้องความอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุกทำให้เสียทรัพย์ เมื่อเรื่องที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่ฟ้อง เพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ซึ่งไม่ใช่เรื่องอายุความฟ้องร้อง กรณีจึงจะนำมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับหาได้ไม่ โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนด 1 ปีแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมือเปล่า ผู้ทิ้งร้างสิทธิขาด
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ไม่ใช่ที่ดินที่มีโฉนดและไม่ใช่ที่บ้านที่สวน โจทก์ได้ขอจับจองที่พิพาทแล้วบุกเบิกทำเป็นนาในระหว่างที่ ผู้ร้องสอดได้ทิ้งร้างที่พิพาทนี้ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 โจทก์ได้เข้าครอบครองทำกินโดยสงบเปิดเผยและโดยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของมาแต่ พ.ศ. 2495 จนถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลา 5 ปี ผู้ร้องสอดเคยจับจองที่พิพาทไว้ แต่ได้ละทิ้งไปเสียนานเกือบ 10 ปี เช่นนี้ ผู้ร้องสอดย่อมหมดสิทธิในที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619-6620/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันก่อนล้มละลาย สิทธิเรียกร้องต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากไม่ยื่นสิทธิขาด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์และได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้ว โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นการทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่จำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มูลหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันจึงเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดการที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 เท่านั้นหาทำให้มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหมดไป โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายภายในกำหนด 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันมาฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10912/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การเพิกถอนขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากพ้นกำหนดสิทธิขาด
คำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศแจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าการขายทอดตลาดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในบังคับมาตรา 296 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวและเสนอบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน รายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 ว่า ได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและจ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไปแล้ว การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงตามมาตรา 296 วรรคสี่ (2) การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 13 ธันวาคม 2550 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247