พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้ำประกันการทำงาน: สิทธิคืนเมื่อทำงานครบกำหนด/ทุจริต & จำนวนเงินที่ต้องคืน
ใบสมัครงานของโจทก์ระบุชัดว่า โจทก์จะทำงานกับจำเลยอย่างน้อย 1 ปี และถ้าจะลาออกจะแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ถ้าผิดสัญญาและ/หรือถูกจำเลยให้ออก ไล่ออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม โจทก์จะไม่รับเงินค้ำประกันคืนเงินค้ำประกันนี้ไม่ค้ำประกันความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ก่อขึ้นเงินค้ำประกันที่โจทก์ยังจ่ายไม่ครบให้หักจากเงินเดือนจนครบตามจำนวนที่จำเลยต้องการ หมายความว่า เงินค้ำประกันดังกล่าวโจทก์วางไว้แก่จำเลยเพื่อประกันการทำงานว่าจะทำงานกับจำเลยไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาและถูกจำเลยให้ออกหรือไล่ออกจากงานด้วยเหตุใดก่อนครบ 1 ปีโจทก์ทั้งสองจะไม่รับเงินค้ำประกันคืนจากจำเลย และแม้โจทก์จะทุจริตต่อหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเลยจะไม่คืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเกิน 1 ปี ครบถ้วนตามข้อตกลงในใบสมัครงานแล้ว แม้ถูกจำเลยไล่ออก โจทก์ก็มีสิทธิรับเงินค้ำประกันคืน แต่หากโจทก์นั้นทำงานกับจำเลยมายังไม่ถึง 1 ปี ตาม ข้อตกลงในใบสมัครและถูกจำเลยไล่ออกเพราะความผิดของโจทก์ที่ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิรับเงินค้ำประกันที่วางไว้แก่จำเลยคืน ตามคำฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค้ำประกันจากโจทก์ครั้งแรกคนละ 2,000 บาท ในวันเริ่มทำงานและหักค่าจ้างโจทก์ทั้งสองอีกคนละ 1,000 บาท เป็นรายเดือนเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 5,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่จำต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตามใบสมัครงานเอกสารท้ายคำให้การ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่เพียงใด ย่อมหมายถึงว่าการที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดในเงินค้ำประกันต่อโจทก์ และมีความหมายรวมถึงปฏิเสธเรื่องจำนวนเงินค้ำประกันที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์มีจำนวนเท่าใด มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันกันแล้ว ทั้งมิใช่เป็นการตรวจและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานพิเคราะห์จากเอกสารซึ่งจำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานที่มีการระบุชัดเจนว่าเงินค้ำประกันมีจำนวน 2,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ค้างเงินค้ำประกันอยู่อีก ส่วนเงินที่หักจากโจทก์มีคนละ 3,000 บาท เป็นเงินค่าจ้างที่หักไว้เท่านั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น ข้อพิพาทโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้องคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับคืน แม้จำเลยใช้รถกระทำผิด
เดิมรถจักรยานยนต์ของกลางที่ศาลมีคำสั่งให้ริบเป็นของ ว.ซึ่งจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอเช่าซื้อมา แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1มีเงินไม่พอจึงไปติดต่อผู้ร้องเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องจึงได้ซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาจาก ว. และได้ให้จำเลยที่ 1เช่าซื้ออีกทอดหนึ่ง ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์จึงตกเป็นของผู้ร้องแล้วโดยผู้ร้องไม่จำเป็นต้องเอารถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องก่อน และไม่จำต้องโอนใส่ชื่อผู้ร้องในคู่มือการจดทะเบียนด้วย ทั้งการทำสัญญาเช่าซื้อนี้ก็มิใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินของจำเลยที่ 1 เพื่อไปซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย เมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมไม่ต้องเสียสิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ หากไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มิได้จำกัดสิทธิผู้เป็นเจ้าของร่วมมิให้ร้องขอคืนทรัพย์ที่ตนเป็นเจ้าของร่วมที่ศาลสั่งริบ เจ้าของร่วมที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงมีสิทธิร้องขอคืนทรัพย์ที่ศาลสั่งริบในส่วนของตนได้กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคืนภาษีอากรเมื่อผู้รับสินค้าไม่ใช่ผู้สั่งซื้อ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคห้านั้น ใช้กับผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษี และได้ชำระเงินค่าภาษีเกินไปจากที่ต้องเสียจริงกรณีของจำเลยที่ 1 เป็นการสั่งซื้อและนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้ขายส่งสินค้ามาให้โดยสับสนผิดพลาด จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้สั่งซื้อและนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ต้องรับผิดเสียอากรกรณีไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินกินเปล่า: สิทธิคืนเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงจากเหตุสุดวิสัย
เงินกินเปล่าที่โจทก์ได้จ่ายให้จำเลยไปแล้วนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์ชำระล่วงหน้าให้แก่จำเลยไปเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลยมีกำหนด 8 ปี แต่โจทก์เข้าอยู่ได้เพียง 3 เดือนเศษ ไฟก็ไหม้ตึกแถวพิพาทเสียหายหมด โดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินกินเปล่าให้แก่โจทก์ตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการและไม่มีคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความ ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เมื่อพ้น 5 ปี แล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของทีดินที่ถูกเวนคืนย่อมมี สิทธิที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดต่อไป./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิคืนเมื่อไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ & ผู้มีสิทธิรับคืน
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดย พ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ กรรมสิทธิย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่ศูนย์เสียทรัพย์นั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักก.ม.ในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้ว ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน ฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ ม.4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างสพานหรือถนนแล้วนั้น หมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นต้วเงินให้เท่านั้น
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่ศูนย์เสียทรัพย์นั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักก.ม.ในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้ว ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน ฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ ฯลฯ ม.4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ ซึ่งเหลือจากการสร้างสพานหรือถนนแล้วนั้น หมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นต้วเงินให้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินเพื่อชำระหนี้และเงื่อนไขการไถ่ถอน หากไม่ไถ่ตามกำหนด เจ้าของมีสิทธิขอคืนได้
ให้ที่ดินผู้อื่นไปให้เจ้าหนี้ทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ ผู้กู้ไปสัญญาด้วยว่าถ้าไม่ไถ่ใน 5 ปียอมให้หลุดเป็นสิทธิ เมื่อครบ 10 ปีนับแต่วันสัญญาไถ่ถอนแล้วไม่ไถ่ฝ่ายเจ้าของได้ขอที่ดินคืนภายใน 10 ปี ดังนี้ เมื่อเจ้าของที่กับเจ้าหนี้โต้แย้งกรรมสิทธิ์กัน ก็ต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่ทำตามแบบ แม้เป็นโมฆะ แต่ผู้ขายสละการครอบครองแล้วสิทธิคืนไม่ได้
ซื้อขายที่ดินแก่กันโดยมิได้ทำตามแบบแห่ง ม.456 ย่อมตกเป้นโมฆะ ซื้อขายที่นามือเปล่ากัน+ใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 4 โดยมิได้ทำตามแบบแห่ง ม.456 แต่ผู้ขายก็สละที่รายนั้นให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองทันทีดังนี้ ผู้ขายย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกที่ดินจากผู้ซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15572/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองกรรมสิทธิ์แทนกัน: โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยถือครองแทน สิทธิคืนแก่เจ้าของ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อให้โจทก์หาเงินมาชำระค่าขึ้นศาล เป็นการทิ้งฟ้องและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และฟ้องบังคับให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แม้ไม่ได้ทำหนังสือตั้งให้เป็นตัวแทนก็ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายใน ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงหาใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อให้โจทก์หาเงินมาชำระค่าขึ้นศาล เป็นการทิ้งฟ้องและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และฟ้องบังคับให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แม้ไม่ได้ทำหนังสือตั้งให้เป็นตัวแทนก็ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายใน ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงหาใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด