คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิคืนภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคืนภาษีอากร กรณีสินค้าผิดแบบ – ความล่าช้าของเจ้าหน้าที่
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นสินค้าผิดแบบโจทก์มีสิทธิที่จะขอส่งกลับคืนไว้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ของประกาศกรมศุลกากรที่ 9/2535 โจทก์ได้แจ้งเรื่องอุปกรณ์สินค้าที่นำเข้ามาผิดแบบให้จำเลยทราบทันที และขออนุมัติส่งคืนให้แก่ผู้ขายหลังจากทำการตรวจสอบสินค้าแล้ว แต่จำเลยมิได้มีคำสั่งเรื่องที่โจทก์ขอส่งสินค้ากลับคืนไปแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ของจำเลยเพิ่งจะมีคำสั่งแจ้งเรื่องให้โจทก์ทราบเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์นำสินค้าเข้ามา ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปภายใน 1 ปีได้นั้น จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอคืนเงินอากรที่ชำระให้จำเลยพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีภาษีอากร: การจำแนกประเภทสินค้า (แจกัน) และสิทธิในการขอคืนภาษี
สินค้าเครื่องประดับบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 หมายความว่าสิ่งของที่ใช้ตกแต่งให้สวยงาม ทำให้บ้านเรือนที่ใช้วัตถุหรือสิ่งของนั้นประดับหรือตกแต่งมีความสวยงามไปด้วย ความสวยงามของวัตถุหรือสิ่งของดังกล่าวตามลักษณะจึงควรเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่มีคุณค่าในตัวเอง มีความประณีต สวยงาม เหมาะสมที่จะใช้ประดับหรือตกแต่งบ้านเลือนเท่านั้น โดยผู้ซื้อมิได้นำไปใช้ตามสภาพเช่นสิ่งของทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในบ้านเรือน ส่วนสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ตามพระราชกำหนดดังกล่าว มีความหมายว่าสิ่งของที่ทำขึ้นใช้การต่าง ๆ ของใช้ เครื่องใช้ไม้สอยเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่ตามลักษณะเหมาะสมสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนเท่านั้น ไม่มีคุณค่าหรือความสวยงามในทางที่จะประดับหรือตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม
แจกันที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วถึง14 นิ้วเป็นเนื้อกระเบื้องหรือวัตถุที่ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีถึงแม้ว่าจะดูแปลกตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิเป็นจุดในเนื้อกระเบื้องราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง จึงไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน ประกอบกับตามสภาพและขนาดของแจกันดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นเครื่องใช้ในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป จึงเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่86) พ.ศ. 2521 ไม่ใช่สินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13
จำเลยรับชำระค่าภาษีไว้จากโจทก์โดยชอบ ต่อมาโจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า แจกันขนาด 6 นิ้วถึง 14 นิ้วที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 69.11 หรือประเภทที่ 69.13 ซึ่งถ้าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 แล้วก็ต้องห้ามนำเข้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โจทก์จึงสามารถนำเข้าได้ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ชำระไว้แก่จำเลยคืน จนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรและหรือโจทก์ส่งแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ซื้อขาย vs. จ้างทำของ และสิทธิคืนภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยผลิตเองบ้าง สั่งซื้อรองเท้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศบ้าง และสั่งทำจากร้านต่าง ๆ ในประเทศบ้าง นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าสำหรับรองเท้าที่ทำในประเทศ จะเข้าลักษณะสัญญาประเภทใด ก็ย่อมต้องดูเจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน เมื่อได้ความว่าโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าตกลงกันเป็นเรื่องซื้อขายและปรากฏด้วยว่าผู้ทำรองเท้าเหล่านั้นได้ยื่นรายรับแสดงการชำระภาษีการค้า ในฐานะผู้ผลิตต่อกรมสรรพากร และชำระค่าภาษีไปแล้ว จึงสนับสนุนให้เห็นเจตนาของโจทก์กับร้านเหล่านั้นว่ามุ่งที่จะก่อนิติสัมพันธ์กันในทางซื้อขาย มิใช่เรื่องเจตนาจ้างทำของ ส่วนที่มีข้อตกลงให้ร้านผู้ทำรองเท้าต้องทำรองเท้าตามชนิดขนาด ลักษณะ แบบ และวัสดุที่โจทก์กำหนด จะผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้อื่นไม่ได้ ร้านผู้ทำร้องเท้าต้องประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์บนรองเท้า และหีบห่อและต้องยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจการผลิตรองเท้า ก็เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาซื้อขายอาจตกลงกำหนดเป็นข้อบังคับกันได้ ตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่าย หาทำให้เจตนาของคู่สัญญาแปรเปลี่ยนไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อรองเท้าดังกล่าว ไม่ใช่ผู้ผลิต โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตรองเท้านั้น
การที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์ และโจทก์ได้ทำไปตามการประเมินนั้น ไม่ใช่เรื่องกรมสรรพากรได้ทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจำอ้างกฎหมายได้ กรณีไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 และ เมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ถ้าหากกรมสรรพากรไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย ก็ต้องคืนให้โจทก์โดยเฉพาะคดีนี้ กรมสรรพากรเคยยอมคืนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้โจทก์แล้ว โดยมอบให้หักเอาจากเงินค่าภาษี ที่โจทก์ต้องชำระแก่กรมสรรพากร ดังนี้ กรมสรรพากรจะอ้างว่าได้ครอบครองเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไปอย่างเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น ย่อมรับฟังไม่ได้