พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย: การอนุญาตเลื่อนคดีและสิทธิในการสืบพยาน
การที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี คำว่า คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 1 มาศาลถือว่าคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา และนำเอากระบวนพิจารณาโดยขาดนัดมาใช้บังคับแก่คดี ดังนั้น คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยมิได้ให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสสืบพยานของตน จึงเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน อีกทั้งการที่ทนายจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นทนายความและทนายความจำเลยที่ 1 ติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนำคดีเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นอำนาจประธานศาลฎีกา ไม่ใช่สิทธิคู่ความ
การจะนำปัญหาใดในคดีเรื่องใดเข้าวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิคู่ความที่จะขอให้นำคดีเข้าพิพากษาโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังมีคำพิพากษา: สิทธิของคู่ความ & กรอบเวลา
การขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนศาลมีคำพิพากษาเสมอไปไม่ หากคู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 204 และ 206
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การ ศาลจึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งบัญญัติใหม่ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2543 แก่คดีที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่และการใช้คำพิพากษาแทนเจตนาในคดีละเมิด
คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) หาเกินคำขอไม่
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10154/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายเอกสาร และสิทธิในการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสาร
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายข้อความซึ่งยังไม่ชัดแจ้งในเอกสารหมาย จ.๑ และที่จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้ย่อมกระทำได้ เพราะมิใช่เป็นการเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ หากแต่เป็นการนำสืบว่าเอกสารระบุข้อความค้างชำระหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์อย่างใด
ส่วนการที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้นเป็นสิทธิของคู่ความไม่ใช่หน้าที่ของศาล อีกทั้งศาลชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๖
ส่วนการที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้นเป็นสิทธิของคู่ความไม่ใช่หน้าที่ของศาล อีกทั้งศาลชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๖
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังมีคำพิพากษา: คู่ความที่เพิ่งทราบข้อเท็จจริงใหม่มีสิทธิยื่นคำร้องได้
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสองบัญญัติขึ้นใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้นจะนำมาใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วหาได้ไม่เพราะเป็นการขัดต่อเหตุผลและความเป็นจริงที่จะบังคับให้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาโดยที่ตนยังไม่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นได้ฉะนั้นกรณีเพิ่งทราบภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าวคู่ความที่เสียหายจึงชอบจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ตามมาตรา27วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ: สิทธิของผู้ร้องในการเข้าร่วมดำเนินคดีเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว
แม้จะมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาที่ผู้ร้องจะเข้ามาเป็นคู่ความได้อีก ไม่มีประโยชน์ที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ศาลชอบที่จะให้จำหน่ายคดีผู้ร้องเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานเอกสารและการไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิคู่ความ
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับเอกสารตามบัญชีเพิ่มเติมของจำเลยเป็นพยานหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จแล้วเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา45 วรรคแรก เอกสาร ดังกล่าว ถือ ว่า เป็น พยานศาล จึง ย่อม รับฟังได้ เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรคสาม จึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว