พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกทางจำเป็นและการจำกัดสิทธิในที่ราชพัสดุ: การใช้สิทธิเรียกทางจำเป็นต้องเป็นทางออกไปยังที่ดินเดิมที่เคยรวมกัน
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทางในที่ราชพัสดุอ้างว่าเป็นทางมากกว่า 50 ปี โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นทางสาธารณะ จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์เรียกเอาทางในฐานะทางภารจำยอมหรือไม่ก็ทางจำเป็น ปรากฏว่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเดิมเป็นที่ดินที่สงวนไว้เพื่อราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมาจึงสร้างโรงเรียนลงในที่ดิน ดังนั้น ที่ราชพัสดุดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 ซึ่งมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน ทางที่โจทก์ฟ้องเรียกให้เปิดหากมีอยู่จริง จึงไม่ใช่ทางภารจำยอมที่จะได้มาโดยอายุความส่วนในกรณีทางจำเป็นได้ความว่าเดิมที่ดินของโจทก์รวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะ โดยโจทก์แบ่งซื้อมา โจทก์ย่อมมีสิทธิและชอบที่จะเรียกเอาทางออกผ่านที่ดินแปลงที่เคยรวมเป็นแปลงเดียวกันอยู่นั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ชอบที่จะเรียกเอาจากที่ราชพัสดุดังนั้น คำฟ้องโจทก์จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 โดยให้จำเลยเปิดทางมาใช้ศาลไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง & สิทธิทางจำกัดเมื่อทราบข้อจำกัดการใช้ทาง
การที่โจทก์และครอบครัวใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือหวงห้ามไม่ให้ใช้ทางเดินแต่อย่างใด แต่กลับได้ความว่าจำเลยมีเจตนาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมมาแล้วตั้งแต่ปี 2516 ดังนี้ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงหาใช่ใช้โดยถือวิสาสะไม่ เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางดังกล่าวเป็นทางเดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วจึงได้ภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา1401 ประกอบมาตรา 1382
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้ คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาทขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้ คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาทขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิจำกัดเฉพาะการสาบานตนและซักค้านพยาน การรับฟังพยานหลักฐานอื่นจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์การที่จำเลยอ้างส่งเอกสารเป็นพยานแล้วศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินจากข้อตกลงก่อนการซื้อขายที่ดิน: สิทธิมีผลเฉพาะคู่กรณีเดิม
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่าง บ. กับจำเลยก่อนที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีลักษณะที่ บ. ยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิม เป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ คงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้น ไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ.กับจำเลยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิจำกัดของผู้ล้มละลายในการคัดค้านการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนดเวลา
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้ว ทรัพย์สินของจำเลยทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจยึดทรัพย์สินทั้งปวงซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยหรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จำเลยไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ และไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 158 แต่จำเลยมีสิทธิยื่นคำคัดค้านว่าสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไม่ใช่ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดอันเป็นการโต้แย้งการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ตามมาตรา 146 โดยต้องทำเป็นคำร้องขอต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าที่จำกัด: สิทธิการจองเซ้งไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้ว จำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท. เงินที่ ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท.เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลัง จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท.จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลัง และต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับ ท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท.ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อตกลงเดิม การโอนสิทธิทำให้ผู้รับโอนต้องผูกพันตามข้อจำกัดนั้น
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์สัตยาบันคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การ ทำให้จำเลยมีสิทธิจำกัดในการสืบพยาน
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการรับคำให้การของจำเลย และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาเมื่อผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์แล้ว ผู้ร้องมิได้ร้องคัดค้านหรือขอเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นกลับปล่อยให้ทนายจำเลยซักค้านพยานโจทก์จนเสร็จสิ้น จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้แทนเฉพาะคดีของจำเลยได้ให้สัตยาบันต่อคำสั่งขาดนัดยื่นคำให้การของศาลชั้นต้นแล้ว
จำเลยที่ศาลสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้วมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น หามีสิทธินำพยานบุคคลและพยานเอกสารตามบัญชีพยานของจำเลยเข้าสืบได้ไม่
จำเลยที่ศาลสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้วมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น หามีสิทธินำพยานบุคคลและพยานเอกสารตามบัญชีพยานของจำเลยเข้าสืบได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909-1910/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดิน - ข้อตกลงไม่จดทะเบียน - สิทธิจำกัด - การรื้อถอน
เรือนของจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพราะแยกกันได้มาจากเจ้าของเดิมคนเดียวกัน โจทก์ตกลงให้เรือนคงอยู่ในที่พิพาทต่อไป ข้อตกลงนี้ไม่ได้จดทะเบียน จำเลยไม่มีสิทธิเหนือพื้นดิน โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อไปได้ กรณีไม่เข้า มาตรา 1310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: สิทธิจำกัดการใช้ทาง – เจ้าของที่ดินตอนในห้ามขยายทาง
ภารจำยอมเป็นทางเดินกว้าง 1.25 เมตร ไม่มีสภาพเป็นทางรถยนต์เข้าออก โจทก์เจ้าของที่ดินตอนในไม่มีสิทธิให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์เปิดเป็นทางรถยนต์กว้าง 3 เมตร