พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7397/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแบบลีสซิ่ง: สิทธิในการซื้อทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการปิดอากรแสตมป์
บันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่าระบุว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์คือผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่า เมื่อผู้เช่าได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว หากผู้เช่าทำหนังสือถึงผู้ให้เช่าจะขอซื้อทรัพย์สินทั้งหมด ผู้ให้เช่าจะทำคำสนองตกลงราคาตามที่กำหนดในสัญญาแสดงให้เห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ายังไม่โอนไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลทอดตลาดในคดีล้มละลาย สิทธิของผู้ประมูลซื้อ vs. การครอบครองปรปักษ์ & เหตุสุดวิสัย
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์ภายหลังมีการประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 3 แล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตามกฎหมายทีแก้ไขใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) แต่คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายที่ดิน และให้ขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านมานั้นเป็นการมิชอบ
แม้คดีจะต้องห้ามอุทธรณ์แต่ศาลฎีกามีอำนาจรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาพิพากษาได้หากพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 4
การที่มีผู้ยื่นคำร้องขออ้างว่าได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนดังกล่าวนี้ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งย่อมได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายโดยสุจริต สิทธิของผู้ร้องจึงมิเสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมิใช่ของผู้ล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 แม้ผู้ร้องจะยังมิได้มีการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนหรือยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้ร้องก็ยังได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ผู้อื่นจะอ้างเหตุว่าเป็นผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินดังกล่าวขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ร้องมิได้ การที่มีผู้ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดจึงมิได้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใด
แม้มีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวไปแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลล้มละลายกลางยกคำร้องดังกล่าวไปแล้วและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงยังคงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330
แม้คดีจะต้องห้ามอุทธรณ์แต่ศาลฎีกามีอำนาจรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาพิพากษาได้หากพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 4
การที่มีผู้ยื่นคำร้องขออ้างว่าได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนดังกล่าวนี้ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งย่อมได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายโดยสุจริต สิทธิของผู้ร้องจึงมิเสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมิใช่ของผู้ล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 แม้ผู้ร้องจะยังมิได้มีการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนหรือยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้ร้องก็ยังได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ผู้อื่นจะอ้างเหตุว่าเป็นผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินดังกล่าวขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ร้องมิได้ การที่มีผู้ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดจึงมิได้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใด
แม้มีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวไปแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลล้มละลายกลางยกคำร้องดังกล่าวไปแล้วและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงยังคงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต vs. การครอบครองปรปักษ์: สิทธิใครเหนือกว่า?
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องต้องแสดงให้เห็นอำนาจพิเศษที่ดีกว่าโจทก์ ทั้งการครอบครองปรปักษ์เป็นการได้สิทธิมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เมื่อคำร้องของผู้ร้องกล่าวเพียงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โดยมิได้กล่าวว่าโจทก์ไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ ต้องฟังว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 6 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินของผู้เช่าทำนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อมีการโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าโจทก์คดีนี้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ เมื่อ ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาให้แก่ผู้ร้องสอด (จำเลยที่ 13) ผู้ร้องสอด ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าว คดีถึงที่สุด ดังนั้น คำพิพากษาในคดีดังกล่าวที่วินิจฉัยว่าโจทก์เช่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ทำนาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 13 ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดี ดังกล่าวย่อมต้องผูกพันด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา การที่ น. และ ย. โอนขาย ที่ดินพิพาทที่ได้รับโอนมาจากเจ้าของเดิมให้แก่ ฉ. และ ธ. ต่อมา ฉ. และ ธ. โอนขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 13 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 13 ในคดีนี้ขอซื้อที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะผู้เช่าที่นา ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่ารวมสิทธิซื้อ VS ค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ เหนือกว่าสัญญาซื้อขายที่ไม่แจ้งสิทธิซื้อก่อน
ที่ดินพิพาทเป็นนา จำเลยที่ 2 ที่ 3 เช่าที่ดินพิพาททำนาสิทธิหน้าที่ของผู้เช่านาและผู้ให้เช่านาจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ กล่าวคือ ตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ให้เช่านาจะขายนาได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันและถ้าผู้เช่านาแสดงความจำนงจะซื้อนาเป็นหนังสือยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ให้เช่านาต้องขายนาแปลงดังกล่าวให้ผู้เช่านาตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ได้แจ้งไว้ และมาตรา 54 วรรคหนึ่งถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้น แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองผู้เช่านา โดยเฉพาะ โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่านาซื้อนาที่จะขายได้ก่อนบุคคลอื่น คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้เช่าที่ดินพิพาททำนาได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททราบเพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้สิทธิซื้อก่อนตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ย่อมมีสิทธิแสดงความจำนงขอซื้อที่ดิน พิพาทจากจำเลยที่ 1 ได้ก่อนโจทก์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา 53 และเมื่อ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล มีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามราคาและวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมติของ คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 หากจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืน มติจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามมติ ของคณะกรรมการดังกล่าวได้ และเมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนโอนก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการ แสดงเจตนา เช่นนี้จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้สิทธิตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม บทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ดำเนินการบังคับคดีโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตน ตลอดจน จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยทั้งสี่ รู้อยู่ก่อนแล้วว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม ก็เป็นการกระทำไปตามสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และถึงหาก ว่าที่ดินพิพาทจะได้โอนไปยังโจทก์แล้วโดยมิได้แจ้ง การขายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบก่อนก็ตาม จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ยังคงมีสิทธิซื้อคืนจากโจทก์ได้ตามขั้นตอนและวิธีการ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 54 สิทธิของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงดีกว่า สิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่ถือว่ากระทำให้โจทก์ เสียเปรียบแต่อย่างใด ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกัน กระทำการฉ้อฉลโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ผู้เช่าต้องใช้สิทธิภายในกำหนด หากเลยกำหนด สิทธิสิ้นสุด
กรณีผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง กล่าวคือมิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบ โดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวัน ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอน แต่ผู้เช่านาจะต้องใช้สิทธิซื้อนาดังกล่าวภายในกำหนดสองปีนับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้หรือภายในกำหนดสามปีนับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนานั้นและผู้เช่านาจะต้องใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดดังกล่าว นับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนาเป็นครั้งแรก เพราะผู้เช่านามีสิทธิใช้สิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามบทบัญญัติดังกล่าวทันที มิใช่มีสิทธิใช้สิทธิซื้อนาทุกครั้งที่มีการโอนนาให้แก่ผู้รับโอนรายต่อ ๆ มามิฉะนั้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้ เนื่องจากต้องนับระยะเวลาใหม่ตลอดเวลาที่มีการโอนต่อ ๆ ไป
ช.ได้ขายนาแปลงพิพาทนี้ให้ อ.ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2527 โดยจำเลยที่ 1 ผู้เช่านาจาก ช.มิได้ใช้สิทธิซื้อที่นาดังกล่าวจาก อ.ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ ช.โอนที่นาแปลงนี้ให้ อ. การที่จำเลยที่ 1มายื่นคำร้องต่อ คชก.แขวงลำต้อยติ่ง อ้างว่า อ.ขายนาแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และ จ. ต่อมาโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขอให้โจทก์ผู้รับโอนขายนาให้แก่จำเลยที่ 1ผู้เช่านาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่ ช.ขายนาแปลงนี้ให้แก่ อ.ประมาณ 7 ปี จำเลยที่ 1 จึงหมดสิทธิซื้อที่นาดังกล่าวตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ช.ได้ขายนาแปลงพิพาทนี้ให้ อ.ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2527 โดยจำเลยที่ 1 ผู้เช่านาจาก ช.มิได้ใช้สิทธิซื้อที่นาดังกล่าวจาก อ.ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ ช.โอนที่นาแปลงนี้ให้ อ. การที่จำเลยที่ 1มายื่นคำร้องต่อ คชก.แขวงลำต้อยติ่ง อ้างว่า อ.ขายนาแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และ จ. ต่อมาโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขอให้โจทก์ผู้รับโอนขายนาให้แก่จำเลยที่ 1ผู้เช่านาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่ ช.ขายนาแปลงนี้ให้แก่ อ.ประมาณ 7 ปี จำเลยที่ 1 จึงหมดสิทธิซื้อที่นาดังกล่าวตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่า: ผู้เช่านามีสิทธิซื้อที่ดินจากผู้รับโอน หากผู้ให้เช่าขายโดยไม่แจ้งสิทธิ
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น
ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ
แม้ตามมติของ คชก.ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนา ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง
ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ
แม้ตามมติของ คชก.ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนา ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ คุ้มครองแม้มีการโอนสิทธิหลายทอด ผู้เช่ามีสิทธิซื้อจากผู้รับโอน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ แม้ตามมติของ คชก. ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนาซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันนั้นศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดดังกล่าวและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีเหตุตามกฎหมายใดในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว