พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในความรับผิดของจำเลยร่วม เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่ความต่างฝ่ายกัน และเรียกจำเลยร่วมมาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลังหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีก็เพื่อให้ผูกพันในผลแห่งคดี จำเลยทั้งสองมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยร่วม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วม โดยที่โจทก์มิได้ฎีกา แม้จำเลยร่วมจะยื่นคำแก้ฎีกา ก็ไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และสิทธิในการฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานจำเลย โดยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยและมีคำพิพากษาใหม่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กล่าวคือ จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เพราะหากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลย ก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยถูกยกเลิกเพิกถอน ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการรับวินิจฉัยโดยไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และถือไม่ได้ว่าฎีกาของโจทก์เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิฎีกา
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะอุทธรณ์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาคำสั่งไม่อนุญาตถอนฟ้อง และการถอนฟ้องที่ล่วงเวลาในชั้นอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องทำให้จำเลยต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีผลกระทบโดยตรงและอาจเป็นที่เสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่ฝ่ายเดียว หรือเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิฎีกาโดยไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมเป็นการล่วงเวลาที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย จึงไม่มีคำฟ้องชั้นอุทธรณ์ที่จะถอนได้ ส่วนจำเลยมีข้อตกลงกับโจทก์อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ไม่มีสิทธิมาขอถอนคำฟ้องเดิมในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมเป็นการล่วงเวลาที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย จึงไม่มีคำฟ้องชั้นอุทธรณ์ที่จะถอนได้ ส่วนจำเลยมีข้อตกลงกับโจทก์อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ไม่มีสิทธิมาขอถอนคำฟ้องเดิมในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7025/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เหตุวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องอายุความค่าเช่า ชี้จำกัดสิทธิฎีกา
คดีนี้จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความเฉพาะค่าเสียหายอันเกี่ยวกับสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563 เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าค่าเช่าที่ค้างชำระไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (6) จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเช่าขาดอายุความ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ต้องไม่วินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (6) และไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามต้องชำระค่าเช่าค้างชำระตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด แม้ปัญหาดังกล่าวคู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม แต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้เสียก่อน
เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามต้องชำระค่าเช่าค้างชำระตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด แม้ปัญหาดังกล่าวคู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม แต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาขยายระยะเวลาวางหลักประกันการทุเลาการบังคับ และสิทธิในการฎีกา
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาทกับให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยให้จำเลยที่ 1 วางเงินประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาวางเงิน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คดีที่จำเลยที่ 1 ขอทุเลาการบังคับอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอขยายระยะเวลาวางหลักประกันเป็นเรื่องต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาภาคราษฎร
คดีราษฎรฟ้องความอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม, การจำกัดสิทธิฎีกา, ความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาน และการพิจารณาความเสียหายที่แท้จริง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใดต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานลักทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ส่วนความผิดเกี่ยวกับการทำลายพยานหลักฐานไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง แม้จำเลยจะย้ายศพ จ. ผู้ตายเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตายก็ตามโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาทำลายพยานหลักฐานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักในข้อหาทำลายพยานหลักฐาน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวแล้วพิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (14) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนคดีและคำสั่งยกคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินโดยอ้างว่าราคาที่ขายได้เป็นราคาที่ต่ำเกินไป ระหว่างการไต่สวนทนายจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีกับมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสาม จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วพิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9203/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229 จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ซึ่งจะมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปมีผลเท่ากับ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาจึงมิชอบ เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง