พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของทายาทเมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ร่วมเป็นบิดาของผู้ตาย โจทก์ร่วมจึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้นก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วมผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์แทน
ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้วตายลง แม้ผู้ร้องจะเป็นพี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายซึ่งเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตายด้วยก็ตาม แต่ผู้ร้องมิใช่บุคคลตามป.วิ.อ. มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายโดยอนุโลมต่อไปได้ ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ หรือคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของผู้จัดการมรดกแทนโจทก์ร่วม และเหตุรอการลงโทษจากชดใช้ค่าเสียหาย
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกัน และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้ เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนโจทก์ร่วม & เหตุบรรเทาโทษจากเช็คพิพาท
พี่ชายของโจทก์ร่วมผู้ตายเกิดจากบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ร่วมผู้ตาย มิใช่บุคคลตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ที่จะขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตายได้ จึงไม่มีสิทธิถอนคำร้องทุกข์หรือมีคำขออื่นใดแทนโจทก์ร่วมผู้ตายได้ เช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 500,000 บาท ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำเลยชำระเงินให้โจทก์ร่วม 20,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระเงินที่เหลือในเช็คพิพาทแล้วเป็นการบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำความผิด จึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5119/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของบุตรนอกกฎหมายและอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ในคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของผู้เสียหายซึ่งแม้จะไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคแรก และเมื่อผู้สืบสันดานของผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์ มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ก็ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมารดาไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ต่อศาลก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเฉพาะคดีแพ่ง ไม่กระทบสิทธิดำเนินคดีอาญา
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับเช็คฉบับที่ฟ้องจำเลยในคดีอาญาศาลพิพากษาตามยอมแล้วแต่ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วม (ผู้เสียหาย) ได้ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีส่วนอาญากับจำเลยแต่ประการใดดังนี้ ถือว่าคู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันแต่เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ของสมุห์บัญชีสหกรณ์: ความผิด ม.319 (1) หรือ (3) และสิทธิการดำเนินคดีของโจทก์
การยักยอกทรัพย์ที่จะเป็นผิด ก.ม.อาญา ม.319 (3) นั้นจะต้องปรากฎว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์โดยฐานะที่มีหน้าที่อันเกี่ยวแก่สาธารณชน
จำเลยเป็นแต่เพียงสมุห์บัญชีสหกรณ์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่ากับเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนของบริษัทนิติบุคคลในการค้าเท่านั้น หาได้เกี่ยวแก่สาธารณะชนแต่ประการใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม ม.319 (1) ไม่ใช่ 319 (3).
จำเลยเป็นแต่เพียงสมุห์บัญชีสหกรณ์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่ากับเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนของบริษัทนิติบุคคลในการค้าเท่านั้น หาได้เกี่ยวแก่สาธารณะชนแต่ประการใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม ม.319 (1) ไม่ใช่ 319 (3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในอุทธรณ์โดยผู้อื่น: สิทธิในการดำเนินคดีด้วยตนเอง และการเป็นเจ้าของเอกสาร
จำเลยลงชื่อในท้ายอุทธรณ์ว่าตนเป็นผู้เรียง โดยความจริงผู้อื่นเป็นผู้เรียงอุทธรณ์นั้นต้องนับว่าจำเลยเป็นเจ้าของอุทธรณ์นั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้อง เพราะกฎหมายไม่ห้ามการที่ตัวความจะเรียงอุทธรณ์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8537/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีของโจทก์ผู้จัดการแทนผู้เสียหาย และผลของการตายของโจทก์ระหว่างการพิจารณาคดี
นาย ก. สามีชอบด้วยกฎหมายของนาง ล. ผู้ตาย เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้นาง ล. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 291 นาง ล. จึงเป็นผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายถึงตาย และโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้จัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (2) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงระหว่างการพิจารณาสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้น การพิจารณาของศาลชั้นต้นก่อนโจทก์ถึงแก่ความตายย่อมไม่เสื่อมเสียไปเพราะความตายของโจทก์ และถือว่าโจทก์ฟ้องนั้นเป็นกระทำการแทนรัฐด้วยส่วนหนึ่ง ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้สืบไว้แล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบแล้ว
โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการแทนผู้เสียหาย มิใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงที่ยื่นฟ้องแล้วตายลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้สืบสันดานของผู้เสียหายกับโจทก์ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายตามบทบัญญัติดังกล่าว