คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิถูกโต้แย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสิทธิถูกโต้แย้ง และการคำนวณกรรมสิทธิ์รวมเมื่อที่ดินขาดหายไปจากการรังวัด
โจทก์และจำเลยเคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากที่ดินส่วนของโจทก์ขาดหายไปประมาณ30 ตารางวา โจทก์ต้องการที่ดินส่วนของโจทก์ 100 ตารางวา แต่จำเลยไม่ยินยอม ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์และจำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงขาดหายไป 30ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งหลังมีคำพิพากษา: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
กรณีนี้ผู้คัดค้านซึ่งไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ แม้เจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้สอบสวน หากสิทธิถูกโต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จากผู้มีชื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอให้รังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอไปรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินให้โจทก์จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่อที่ดินอำเภออ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยดังนี้แม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.เป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นกับโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วโจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหนังสือให้จำเลยซึ่งเป็นผู้คัดค้านการที่โจทก์ขอเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากน.ส.3เป็นน.ส.3ก.ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนเปรียบเทียบและดำเนินการตามระเบียบต่อไปโดยได้ส่งหนังสือให้จำเลยตามที่อยู่ของจำเลยแล้วแต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่ได้ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหนังสือนัดหมายทางพนักงานเจ้าหน้าที่จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบไม่ได้ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถจะสั่งการใดๆให้โจทก์จำเลยปฏิบัติได้และตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60หาได้มีข้อห้ามมิให้โจทก์ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดของบุคคลภายนอกเมื่อสิทธิถูกโต้แย้งจากการโอนสิทธิการเช่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเดิม เพียงแต่สิทธิถูกโต้แย้งก็มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
ผู้ร้องร้องเข้ามามีใจความสำคัญว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยได้ เพราะจำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้รับโอนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของผู้ร้องเกี่ยวกับการรับโอนสิทธิการเช่าตึกรายเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้ตกลงยอมโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้นโจทก์ยังจะคงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดของบุคคลภายนอกเมื่อสิทธิถูกโต้แย้งจากการโอนสิทธิเช่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเดิม เพียงแต่สิทธิถูกโต้แย้ง ก็มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
ผู้ร้องร้องเข้ามามีใจความสำคัญว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะรับโอนสิทธิการเช่าจากจำเลยได้ เพราะจำเลยได้ทำนิติกรรมโอนขายให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้รับโอนพร้อมทั้งชำระเงินให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของผู้ร้องเกี่ยวกับการรับโอนสิทธิการเช่าตึกรายเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้ตกลงยอมโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปแล้วนั้น โจทก์ยังจะคงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับสิทธิที่ถูกโต้แย้งในคำฟ้องเดิม ศาลฎีกาพิพากษายืนคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 นอกจากจะต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้ว ต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมอย่างไรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์อ้างว่าประมูลซื้อมาจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในฐานะที่โจทก์เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 3 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องคดี และไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการดำเนินการตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนรวม การถือหน่วยลงทุน การจดทะเบียนกองทุนรวมต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนการลงนามในสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ดังนี้ หากศาลรับฟังและวินิจฉัยว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์และการลงนามในสัญญาขายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่อ้างว่าประมูลซื้อมาได้และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์ยังคงมีอยู่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ผู้รับจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 3 มิได้มีส่วนได้เสียถึงกับจะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์จึงไม่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่อาจฟ้องแย้งรวมเข้ามาในคำให้การได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้งเป็นคำคู่ความซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคสามที่ว่า ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับฟ้องแย้งอันเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้จำเลยที่ 3 ฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงไม่มีผลทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย