พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความตกทอดแก่ทายาท แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
สิทธิในการบังคับคดีของจำเลยผู้ตายให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเป็นสิทธิในทรัพย์สินไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว จึงตกทอดไปยังทายาทเมื่อผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของจำเลย อีกทั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลย และดำเนินการบังคับคดีแก่โจทก์ได้ มิใช่เป็นการเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเข้ารับมรดกความแทนจำเลยภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้วก็มีสิทธิที่จะยื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้มีการโอน ย่อมผูกพันผู้รับโอน
เมื่อโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล และจำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมที่โจทก์ได้มา จำเลยเพิกเฉย แม้จำเลยจะมิได้กระทำการป้องกันหรือขัดขวางมิให้โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ดำเนินการไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้แก่โจทก์ตามกฎหมายก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ควรจะได้จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอม จึงเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมของโจทก์อย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยมิให้ป้องกัน ขัดขวางการใช้ทางพิพาทของโจทก์และบริวารเป็นเพียงคำขอบังคับล่วงหน้าเพื่อป้องกันมิให้จำเลยขัดขวางการใช้ทางพิพาทเท่านั้น จึงไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องมีการกระทำตามที่โจทก์ขอบังคับก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้อง ส.เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382จึงเป็นการที่โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรค 2 เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และเนื่องจากภาระจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะภาระจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์แม้จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภาระจำยอมก็หาได้หมดสิ้นไป เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น ภาระจำยอมจึงจะระงับดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์
โจทก์ฟ้อง ส.เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382จึงเป็นการที่โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรค 2 เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และเนื่องจากภาระจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะภาระจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์แม้จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภาระจำยอมก็หาได้หมดสิ้นไป เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น ภาระจำยอมจึงจะระงับดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเก็บกิน vs. สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิขายได้ แม้มีภาระสิทธิเก็บกิน
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1417 เพียงมีสิทธิครอบครอง ใช้ ถือเอาซึ่งประโยชน์ และมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นเท่านั้น หามีอำนาจห้ามมิให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ขายทรัพย์สินนั้นไป โดยไม่เป็นที่เสื่อมสิทธิของตนไม่ บุตรผู้ร้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ย่อมมีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 1336 และสิทธิเก็บกินเป็นทรัพย์สิทธิประเภทหนึ่ง ย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป บุคคลภายนอกผู้รับโอนหาอาจทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเสื่อมสิทธิที่มีอยู่ได้ไม่
ผู้คัดค้านโอนที่พิพาทซึ่งมีเรือน 2 หลังปลูกอยู่บนที่พิพาทให้แก่บุตรผู้ร้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้ระบุแยกให้ชัดเจนว่า เรือน 2 หลังมิได้โอนยกให้ไปด้วยแล้ว ย่อมหมายความว่าผู้คัดค้านได้โอนยกให้ที่พิพาทพร้อมเรือน 2 หลังนั้นด้วย เพราะเรือนดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น
เจ้าของกรรมสิทธิ์จะขายที่ดินของตนแปลงใดก็ได้ ในเมื่อไม่ทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น ๆ ถ้ามี การที่บุตรผู้ร้องจะขายที่ดินพิพาทโดยมีภาระสิทธิเก็บกินติดไปด้วยก็ย่อมกระทำได้ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จะถือว่ามีเจตนาไม่สุจริตหาได้ไม่
ผู้คัดค้านโอนที่พิพาทซึ่งมีเรือน 2 หลังปลูกอยู่บนที่พิพาทให้แก่บุตรผู้ร้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้ระบุแยกให้ชัดเจนว่า เรือน 2 หลังมิได้โอนยกให้ไปด้วยแล้ว ย่อมหมายความว่าผู้คัดค้านได้โอนยกให้ที่พิพาทพร้อมเรือน 2 หลังนั้นด้วย เพราะเรือนดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น
เจ้าของกรรมสิทธิ์จะขายที่ดินของตนแปลงใดก็ได้ ในเมื่อไม่ทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น ๆ ถ้ามี การที่บุตรผู้ร้องจะขายที่ดินพิพาทโดยมีภาระสิทธิเก็บกินติดไปด้วยก็ย่อมกระทำได้ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จะถือว่ามีเจตนาไม่สุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม้ช่วยบำรุงทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิแบ่ง
ที่ดินมีโฉนดเป็นของหญิงมาก่อนแต่งงานกับขาย และเมื่อแต่งงานกันแล้ว ก็มิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้อง ดังนี้ แม้ชายจะได้ช่วยบำรุงที่ดินนั้นให้มีราคาสูงขึ้นในระหว่างที่อยู่กินกับหญิง ชายก็หามีสิทธิที่จะฟ้องขอแบ่งที่ดินนั้น ได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1310 - 1314 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองย่อมเป็นสิทธิทรัพย์สินแยกต่างหากจากสิทธิส่วนบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน แม้พิพากษายกฟ้องค้ำประกัน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งเจ็ดสัญญาพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่สำหรับหนี้ตามสัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิต ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษายกฟ้องโดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบจำนวนหนี้ที่แท้จริงในกรณีโจทก์คิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทำให้ศาลชั้นต้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ได้และในทำนองเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ก็โดยเหตุจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 เพียง 4 สัญญาในจำนวน 7 สัญญา แต่โจทก์นำสืบยอดหนี้รวมกันมาทั้งเจ็ดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจทราบจำนวนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี 4 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นเหตุให้ไม่อาจพิพากษากำหนดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดได้เช่นกัน แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชี้ชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตเช่นนี้แม้ศาลชั้นต้นในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีต่อโจทก์อันเป็นบุคคลสิทธิที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันก็ตามแต่สำหรับที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์นั้น โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้จำนองและทรงทรัพย์สิทธิที่จะบังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ตามวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองไว้ได้ เพราะไม่ปรากฏเหตุความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนองดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 744 บัญญัติไว้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำพิพากษาที่ถูกต้อง