คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิทางการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิทางการค้า: การใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ในเรื่องสิทธิในการใช้นามของบุคคลนั้น นอกจากจะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บัญญัติคุ้มครองไว้ ยังมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) คุ้มครองสิทธิการใช้ชื่อทางการค้าไว้โดยไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิว่าการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวจะต้องมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใด
โจทก์ใช้คำว่า "BMW" หรือที่เรียกขานในประเทศไทยว่า "บีเอ็มดับบลิว" เป็นทั้งชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้ารวมทั้งใช้เป็นชื่อบริษัทในเครือของโจทก์จนมีชื่อเสียงแพร่หลายในหลายประเทศมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยใช้ชื่อว่า "บีเอ็มดับบลิว" ในปี 2539 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิในการใช้ชื่อดังกล่าวและมีสิทธิใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าในประเทศไทยได้แม้ก่อนปี 2539 จะไม่ปรากฏว่าโจทก์เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยเองหรือจัดตั้งบริษัทในเครือโดยใช้ชื่อนี้ก็ตาม
จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าการใช้ชื่อพ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่แพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์แต่ยังจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ว่า "บีเอ็มดับบลิว" พ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้ชื่อนี้ในกิจการค้าสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยมุ่งหมายที่จะนำชื่อเสียงเกียรติคุณอันมีคุณค่าของโจทก์มาใช้เป็นประโยชน์แก่กิจการค้าของตนโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิใช้นามหรือชื่อดังกล่าวได้โดยชอบการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5,18 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าว ซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการมิให้ใช้ชื่อดังกล่าว หรือให้เปลี่ยนชื่อเสียได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป และได้รับจดทะเบียนในประเทศไทยสำหรับสินค้ารถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ และส่วนควบของรถครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม2509 สินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า"BMW" มีการจำหน่ายไปทั่วโลกเป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งนำคำว่า"บีเอ็มดับบลิว" มาจดทะเบียนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539กฎหมายห้ามนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปไม่ว่าสำหรับสินค้าจำพวกหรือชนิดใด แม้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือสำนักงานการค้านั้นจะประกอบการค้าขายสินค้าต่างจำพวกหรือต่างชนิดกับสินค้าของโจทก์ก็ตาม เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขัดขวางจำเลยทั้งสองในการใช้โดยไม่สุจริตซึ่งชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 อันเป็นชื่อสำนักงานการค้าของจำเลยทั้งสองและห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 47

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนกัน
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'SSECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภท ของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในรวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบ กิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'SSECRET" และ "วิคตอเรียซีเครท"โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็น ชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ ในนามของบุคคลซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหาย อยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้น มีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ มาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้า สำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับและสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัวเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีอันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของ จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของนามทางการค้า: การคุ้มครองชื่อ 'โตราย่า' จากการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและการแสวงหาผลประโยชน์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามอันชอบที่จะใช้ได้ที่ต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่บุคคลอื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในอันที่จะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความเสียหายได้ถ้าและพึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปจะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้โจทก์ใช้ชื่อ"โตราย่า"มาตั้งแต่ปี2496แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่โจทก์ก็ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ใช้ชื่อ"โตราย่า"ของโจทก์โดยโจทก์ไม่อนุญาตจึงเป็นเจตนาแสวงหาผลประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่1เป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า"ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7209/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทซ้ำกับผู้อื่นที่มีชื่อเสียง การจดทะเบียนโดยไม่สุจริตละเมิดสิทธิของเจ้าของชื่อเดิม
โจทก์ใช้คำว่า Reebok เป็นชื่อบริษัทและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่โจทก์ผลิตขายด้วย โจทก์ใช้ชื่อนี้ในประเทศอังกฤษมาก่อนจำเลยที่ 1 ใช้ ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และชื่อนี้เป็นคำเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีความหมายดังนี้ การที่บริษัท ท. โดยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ทดลองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า Reebokของโจทก์ แล้วต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นคำขอใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และมีวงเล็บว่า ประเทศไทย จึงเป็นการที่จำเลยที่ 3 เอาคำว่า Reebok ซึ่งเป็นซื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และได้ใช้ในต่างประเทศมาก่อนแล้วมาใช้เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวพันในการค้าของโจทก์หรือเป็นส่วนหนึ่งโจทก์ หากจำเลยที่ 1 กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ก็ไม่ควรใช้ชื่อซ้ำกับโจทก์ การจดทะเบียนบริษัทจำกัดของจำเลยที่ 1โดยใช้ชื่อว่าบริษัทรีบ๊อค (ประเทศไทย) จำกัด จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต เป็นการใช้นามของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของชื่อ Reebok เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ระงับการใช้ชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใช้ชื่อนั้นต่อไป และโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ คำที่พิพาทกันคือคำว่า Reebok ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษส่วนคำว่า รีบ๊อคที่โจทก์อ้างหรือคำว่ารีบ๊อค ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างเป็นเพียงการสะกดตัวอักษรที่แสดงถึงสำเนียงการอ่านคำภาษาอังกฤษดังกล่าวไม่ใช่สาระที่พิพาทกัน การที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสองใช้คำว่า Reebok โดยวงเล็บคำว่า รีบ๊อคหรือรีบ็อคไว้หลังคำว่า Reebok จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางการค้าต่างชาติ: อำนาจฟ้องคดีในไทย & การพิสูจน์สิทธิทางการค้า
โจทก์อยู่ต่างประเทศ อ้างสิทธิคำว่า HILTON เป็นนามทางการค้าของโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยใช้นามเดียวกันโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 กรณีเช่นนี้หาได้มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้อง และต่อสู้ด้วยว่า นามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางการค้าต่างประเทศ: อำนาจฟ้องคดีนามทางการค้าในไทย และหน้าที่การนำสืบหลักฐาน
โจทก์อยู่ต่างประเทศ อ้างสิทธิคำว่า HILTON เป็นนามทางการค้าของโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยใช้นามเดียวกันโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 กรณีเช่นนี้หาได้มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้องและต่อสู้ด้วยว่านามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนจำหน่ายและข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: การบังคับใช้สัญญาและการระงับข้อพิพาท
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตัวแทนจำหน่ายสินค้ายาสูบประเภทบุหรี่ ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวมีกรรมการคนหนึ่งของจำเลยลงลายมือชื่อท้ายสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งปกติจะไม่มีผลผูกพันจำเลย แต่ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยแล้ว จำเลยบอกเลิกสัญญาดังกล่าวต่อโจทก์ก่อนครบกำหนด เนื่องจากจำเลยต้องการจำหน่ายสินค้าบุหรี่เอง และปรากฏจากคำร้องของจำเลยที่ให้จำหน่ายคดีนี้เพราะในสัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวมีข้อตกลงให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ และจำเลยได้ยื่นข้อเรียกร้องต่ออนุญาโตตุลาการของหอการค้านานาชาติให้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ซึ่งเท่ากับว่า จำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของกรรมการผู้มีอำนาจของตน สัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
แม้ในขณะทำสัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าว ยังไม่มีการบัญญัติกฎหมาย พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาใช้บังคับ แต่สิทธิในความลับทางการค้าก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยสัญญาระหว่างคู่สัญญา และโดยหลักละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 421 อยู่แล้ว จึงเป็นสิทธิทางแพ่งอย่างหนึ่งที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ โจทก์กับจำเลยจึงสามารตกลงกันในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้าในสัญญาดังกล่าวได้