พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อแบ่งแยกที่ดิน: เจ้าของที่ดินแบ่งแยกไม่มีสิทธิเรียกร้องทางเดินเพิ่มบนที่ดินเดิม
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 151470 มีอาณาเขตทิศตะวันออกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 181640 ของจำเลย ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งด้านทิศใต้ของที่ดินแปลงดังกล่าวติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดทางสาธารณะ ปี 2536 จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้เป็นทางเดินกว้างประมาณ 3 เมตรตลอดแนว ออกสู่ทางสาธารณะแก่ที่ดินโฉนดที่ 4383 และที่ดินโฉนดเลขที่ 135087ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว แม้โจทก์จะมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยทางเรือ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกกัน ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกถนนเป็นทางสาธารณะประโยชน์ และสิทธิเรียกร้องทางเดินผ่านที่ดิน
การยกถนนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้นไม่จำต้องทำเป็นหนังสืออุทิศให้เสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ที่ทำถนนยกให้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 75788 มีทางเชื่อมต่อกับทางสาธารณะมาก่อนแล้วโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 75788 จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 75788 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1350 ได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกเท่านั้น แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่
ที่ดินโฉนดเลขที่ 75788 มีทางเชื่อมต่อกับทางสาธารณะมาก่อนแล้วโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 75788 จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 75788 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1350 ได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกเท่านั้น แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยก: สิทธิมีเฉพาะที่ดินที่ถูกแบ่งแยกเท่านั้น
เดิมที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันที่ดินแปลงดังกล่าวมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวถูกแบ่งแยกจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงที่ตกเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เปิดทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะซึ่งจะต้องผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกจากที่ดินพิพาท กรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 3 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เปิดทางเดินผ่านไปออกทางสาธารณะซึ่งจะต้องผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกจากที่ดินพิพาท กรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยก – มาตรา 1350 และวิธีบังคับคดีตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527
เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินแปลงเดิมมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแต่ภายหลังถูกแบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดินที่ถูกแบ่งแยกออกมาซึ่งเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การที่โจทก์มีคำขอว่า หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างก็ขอให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยชดใช้้ค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 12 เพิ่มเติมมาตรา 296 ทวิเปลี่ยนแปลงวิธีการดังกล่าวเป็นว่า หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามวิธีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม และสิทธิทางเดิน: ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ครอบครองที่ดินกันมาไม่ตรงตามฟ้อง และยังมีทางเดินจากที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองออกไปสู่คลองสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมใช้เดินติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว ขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนทางภาระจำยอม ดังนี้การที่จำเลยจะมีสิทธิเดินผ่านที่ดินของโจทก์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายที่ดิน, การบังคับตามสัญญา, สิทธิทางเดิน, การจดทะเบียน
คดีแพ่ง ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด ถ้าจำเลยเห็นว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม จำเลยก็ชอบที่จะระวังผลประโยชน์ของตนเองโดยต่อสู้ไว้เสียตั้งแต่ศาลชั้นต้น คดีแพ่งหาเหมือนกับคดีอาญาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ก็เป็นความบกพร่องของตนเองไม่เกี่ยวกับผู้อื่น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้อนี้
จำเลยทำสัญญาขายส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของตนให้โจทก์ โดยจำเลยยอมตกลงทำถนนในที่ดินของจำเลยแปลงที่ติดต่อกัน เพื่อโจทก์จะได้ใช้เป็นทางออกสู่ถนนหลวงได้ เมื่อโจทก์ผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วหากจำเลยไม่ยอมทำถนนดังกล่าว โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีเช่นนี้ จำเลยจะเถียงว่านิติกรรมรายนี้ยังไม่มีการจดทะเบียน ยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 หาได้ไม่ เพราะชั้นนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องและอ้างว่ามีสิทธิทางเดินอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503 เฉพาะปัญหาข้อแรก)
จำเลยทำสัญญาขายส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของตนให้โจทก์ โดยจำเลยยอมตกลงทำถนนในที่ดินของจำเลยแปลงที่ติดต่อกัน เพื่อโจทก์จะได้ใช้เป็นทางออกสู่ถนนหลวงได้ เมื่อโจทก์ผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วหากจำเลยไม่ยอมทำถนนดังกล่าว โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีเช่นนี้ จำเลยจะเถียงว่านิติกรรมรายนี้ยังไม่มีการจดทะเบียน ยังไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 หาได้ไม่ เพราะชั้นนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องและอ้างว่ามีสิทธิทางเดินอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503 เฉพาะปัญหาข้อแรก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งแยกโฉนดและสิทธิทางเดิน ต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผลผูกพันบังคับได้
เจ้าของร่วมตกลงแบ่งแยกโฉนดกัน ตกลงกำหนดลงไปว่าใครได้ตรงไหนแน่ เช่นนี้ ย่อมเป็นการระงับข้อพิพาท อันจะมีขึ้นให้เสร็จไป จึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 850.
ข้อตกลงที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งยอมให้ เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งผ่านที่ ที่คนได้รับในการแบ่งแยกนั้น ก็ย่อมเป็นส่วน หนึ่งของการตกลงแบ่งแยกโฉนดดังกล่าว เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ก็ย่อมจำนำมาฟ้องร้องให้บังคับหาได้ไม่./
ข้อตกลงที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งยอมให้ เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งผ่านที่ ที่คนได้รับในการแบ่งแยกนั้น ก็ย่อมเป็นส่วน หนึ่งของการตกลงแบ่งแยกโฉนดดังกล่าว เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ก็ย่อมจำนำมาฟ้องร้องให้บังคับหาได้ไม่./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางเดิน vs. กรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิทางเดินยังคงมีได้แม้มีการแบ่งแยกที่ดินและมีกรรมสิทธิ์ใหม่
การได้กัมสิทธิไนที่ดินกับการได้สิทธิทางเดินบนที่ดินย่อมเปนสิทธิคนละหย่าง แม้จำเลยจะเปนผู้ได้กัมสิทธิไนที่ดินตามคำสั่งสาลก็ตามแต่สิทธิไนทางเดินบนที่ดินนั้นก็ยังอาดมีไนที่ดินนั้นได้ , เมื่อสาลดีกาเห็นสมควนจะได้ฟังข้อเท็ดจิงไนคดีต่อไปก็มีอำนาดย้อนสำนวนไปไห้สาลล่างสืบพยานต่อไปได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน vs สิทธิทางเดิน: สิทธิทางเดินยังคงมีอยู่แม้มีการเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินกับการได้สิทธิทางเดินบนที่ดินย่อมเป็นสิทธิคนละอย่าง. แม้จำเลยจะเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำสั่งศาลก็ตามแต่สิทธิในทางเดินบนที่ดินนั้นก็ยังอาจมีในที่ดินนั้นได้. เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรจะได้ฟังข้อเท็จจริงในคดีต่อไปก็มีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างสืบพยานต่อไปได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางเดินต้องจดทะเบียนเพื่อมีผลสมบูรณ์ แม้แต่ตามกฎหมายเก่าก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การได้มาโดยนิติกรรมในสิทธิทางเดิน แม้ตามกฎหมายเก่าก่อนใช้ประมวลแพ่งฯก็ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์มีผลได้ตามกฎหมาย ปพพม 1299-1387-1429-1349 ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.142-247 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางในชั้นฎีกากล่าวด้วยว่าถ้าเจ้าของข้างเคียงปิดอย่างจำเลย+แล้วโจทก์ไม่มีทางออกดังนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย