พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการปรับอัตราดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีตามสัญญา
โจทก์ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่นั้น ย่อมสุดแท้แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้กู้ หากในสัญญาระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้หากผู้ให้กู้ไม่แจ้ง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยได้
ตามหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทมีข้อความว่า ถ้าปรากฏว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้เบิกเงินเกินจากบัญชีกระแสรายวันไปเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกัน ผู้เบิกเงินเกินบัญชียินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในส่วนเบิกเกินไปนั้น ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้สำหรับการให้กู้ยืมในขณะนั้นได้ และยินยอมให้ธนาคารนำดอกเบี้ยนี้คำนวณทบต้นตามธรรมเนียมและประเพณีของธนาคารที่กล่าวไว้แล้วได้ด้วย และแม้ก่อนจะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิของธนาคารที่จะบอกเลิกสัญญาหรือที่จะลดวงเงินหรือที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบหรือไม่ก็ตามผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมและขอปฏิบัติตามทุกประการโดยพลัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแจ้งชัดแล้วว่า การที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แม้จะไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบก็ตาม
ตามหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทมีข้อความว่า ถ้าปรากฏว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้เบิกเงินเกินจากบัญชีกระแสรายวันไปเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกัน ผู้เบิกเงินเกินบัญชียินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในส่วนเบิกเกินไปนั้น ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้สำหรับการให้กู้ยืมในขณะนั้นได้ และยินยอมให้ธนาคารนำดอกเบี้ยนี้คำนวณทบต้นตามธรรมเนียมและประเพณีของธนาคารที่กล่าวไว้แล้วได้ด้วย และแม้ก่อนจะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิของธนาคารที่จะบอกเลิกสัญญาหรือที่จะลดวงเงินหรือที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบหรือไม่ก็ตามผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมและขอปฏิบัติตามทุกประการโดยพลัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแจ้งชัดแล้วว่า การที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แม้จะไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แม้มีข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยเดิม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากตามประเพณีการค้า ซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอนำาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควร ตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วน ตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อน แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12.5 ต่อปี โจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ 12.5 ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: สิทธิธนาคารในการปฏิเสธจ่ายเช็ค, ปิดบัญชี, และหักหนี้
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 11 มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชีจะรับทราบหรือไม่ก็ตาม ข้อ 16 มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ 17 มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีและการเรียกร้องหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังปิดบัญชี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารโจทก์พลั้งเผลอนำเช็คไปหักทอนบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่น เมื่อโจทก์ทราบข้อผิดพลาด แม้เป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยขอปิดบัญชีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิแก้ไขให้ถูกต้อง โดยนำเช็คฉบับนั้นไปหักทอนจากบัญชีของจำเลยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย เมื่อโจทก์ปรับปรุงบัญชีใหม่แล้ว จำเลยเป็นหนี้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้หนี้ดังกล่าวแม้โจทก์จะยอมให้จำเลยไถ่ถอนจำนองและปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ: สิทธิของธนาคารจะสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินฝากเพิ่มเติม
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโจทก์ในวงเงิน 150,000 บาท โดยจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนใดค้างชำระยอมให้โจทก์ทบต้นเข้ากับจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระแล้วคิดดอกเบี้ยในเดือนต่อไปได้ตามสัญญา เมื่อพ้นกำหนดชำระเงินต้นในวันที่ 5 มีนาคม 2520 จำเลยไม่ยอมชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนองรวมเป็นเงิน 210,189.07 บาท และเมื่อคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาโดยไม่ทบต้นนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้ถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 232,189.69 บาท จึงขอให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินตามฟ้องต่อโจทก์ ดังนี้แสดงว่าจำเลยเข้าใจในข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินเกินบัญชีจากเช็ค: สิทธิธนาคารในการเรียกคืนเงินและดอกเบี้ย
การที่ธนาคารโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คของจำเลย เป็นการทำไปในฐานะตัวแทนจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับนั้นเท่านั้น และตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็มีว่า การนำเช็คฝากเข้าบัญชีจะถือว่าธนาคารได้รับฝากเงินต่อเมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ๆ ได้แล้ว เมื่อธนาคารโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คของจำเลยไม่ได้ ธนาคารโจทก์ก็มีอำนาจเพิกถอนรายการรับฝากเงินตามเช็คดังกล่าวของจำเลยออกได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าธนาคารโจทก์ก็ได้รับฝากเงินนั้นไว้จากจำเลยแล้ว
จำเลยเพียงทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์เท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องทำสัญญา บัญชีเดินสะพัดต่อกัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น และตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่า ถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเข็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไปผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนัยแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ก็มิได้มีข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ กับทั้งมิใช่เรื่องกู้ยืมเงิน ตามมาตรา 654 แต่เป็นเรื่องของธนาคารโจทก์จ่ายเงินตามคำสั่งของจำเลยผู้ออกเช็คเกินกว่า จำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชี ซึ่งตามมาตรา 991 มิได้บังคับโดยเฉียบขาดมิให้ธนาคารโจทก์มีอำนาจจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับเกินไปคืนให้ธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ จำเลยก็ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามมาตรา 7 และ 224 โดยไม่ทบต้น
จำเลยเพียงทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์เท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องทำสัญญา บัญชีเดินสะพัดต่อกัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น และตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่า ถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเข็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไปผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนัยแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ก็มิได้มีข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ กับทั้งมิใช่เรื่องกู้ยืมเงิน ตามมาตรา 654 แต่เป็นเรื่องของธนาคารโจทก์จ่ายเงินตามคำสั่งของจำเลยผู้ออกเช็คเกินกว่า จำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชี ซึ่งตามมาตรา 991 มิได้บังคับโดยเฉียบขาดมิให้ธนาคารโจทก์มีอำนาจจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับเกินไปคืนให้ธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยไม่คืนเงินให้โจทก์ จำเลยก็ตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามมาตรา 7 และ 224 โดยไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาขายฝากและการบังคับสิทธิในเงินฝากเพื่อชำระหนี้: สิทธิของธนาคารผู้รับฝากเมื่อสัญญาขายฝากถูกยกเลิก
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด แล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปี และในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิก ลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้ เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้ นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาขายฝากแล้ว ธนาคารมีสิทธิรับเงินฝากเพื่อชำระหนี้ได้
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัดแล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปีและในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิกลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ย, สิทธิของธนาคาร, การเลิกสัญญา
การที่ลูกค้าผู้เปิดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันไว้กับธนาคารพาณิชย์และได้ทำการเดินสะพัดทางบัญชี โดยนำเงินฝากและถอนเงินไปใช้เรื่อยมาภายหลังลูกค้ามีเงินฝากเหลืออยู่ในบัญชีเพียงเล็กน้อย จึงได้ตกลงกับธนาคารนั้นขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนตามประเพณีธนาคารแล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อลดหนี้บ้าง ดังนี้ หาเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินไม่แต่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ
คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้ว่า จะต้องชำระเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใดสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดเลิกกันเมื่อธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว ระยะเวลาต่อจากนั้นธนาคารจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกหาได้ไม่ คงคิดได้เฉพาะดอกเบี้ยตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้บัตรเครดิตตามข้อตกลง แม้หนี้ขาดอายุความ ไม่ถือเป็นการละเมิด
ธนาคารจำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต มิใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ข้อความในคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ให้นำหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความไปก่อนที่จำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้แล้วนั้นมาหักบัญชีเงินฝากของโจทก์เป็นข้อสัญญาที่มุ่งจะขยายอายุความ อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นั้น เป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้นไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ข้อความในคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ให้นำหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความไปก่อนที่จำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้แล้วนั้นมาหักบัญชีเงินฝากของโจทก์เป็นข้อสัญญาที่มุ่งจะขยายอายุความ อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นั้น เป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้นไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง