พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองข้ามมรณะ: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความตามบทเว้นวรรคในประมวลกฎหมายแพ่ง
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จะห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 และมาตรา 745 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับชำระหนี้เกินกว่า1 ปี นับแต่ผู้ร้องรู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของเจ้าของมรดก ผู้ร้องก็ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, สิทธิบังคับจำนอง, และความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตายให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แม้โจทก์ฟ้องคดีหลังจาก ท. ถึงแก่ความตายไปเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 แม้คดีขาดอายุความแล้ว ก็ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ผลผูกพันคำพิพากษา: สัญญาซื้อขายยังไม่เลิก ผลของคำพิพากษาผูกพันคู่ความ โจทก์มีสิทธิบังคับตามสัญญา
จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยซึ่งอยู่ทาง ด้านทิศใต้ให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายและค่ามัดจำคืนจากจำเลยศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกโดยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดียวกันกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างเหตุที่ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีนี้ว่า หลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว น.ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้บังคับจำเลยยื่นเรื่องราวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวนครึ่งแปลงให้เป็นกรรมสิทธิ์ของน. และ พ. ซึ่งต่อมาปรากฏว่าจำเลยกับ น. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล ตกลงจะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันให้ที่ดินครึ่งแปลงทางด้านทิศเหนือเป็นส่วนของน. และ พ. และให้ที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นส่วนของจำเลยเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลผลการรังวัดสามารถคำนวณเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงได้แล้วทำให้โจทก์กับจำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินซึ่งจำเลยตกลงขายให้แก่โจทก์แน่นอนและสามารถคำนวณเงินราคาที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอน โจทก์จึงบอกกล่าวถึงจำเลยอีกครั้งหนึ่ง และขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนที่โจทก์อ้างเหตุ ในการขอเลิกสัญญาแก่จำเลยว่าจำเลยไม่ทำการรังวัดแบ่งแยก กรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนโจทก์ จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ดังนั้น เมื่อประเด็นของคดีเดิมและคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เลิกกัน และการ ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทุกส่วน มิใช่ผูกพันเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อคำพิพากษาผูกพันโจทก์จำเลยและต้องถือว่า สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติ ตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าจำเลย เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยจำนอง: สิทธิบังคับจำนองยังคงมีอยู่ แต่จำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยย้อนหลังเกิน 5 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ติดต่อขอไถ่จำนองจากจำเลยที่ 1และที่ 2 และได้นำต้นเงินกู้ยืมไปวางไว้ ณ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ตามใบเสร็จรับเงิน ซึ่งตามรายการวางทรัพย์เมื่อคำนวณแล้วจะเป็นต้นเงิน และรวมดอกเบี้ยค้างชำระ 5 ปีพอดี ย่อมแสดงว่าโจทก์ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในเรื่องดอกเบี้ยให้ปรากฏอยู่ในคำฟ้องแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 (เดิม) ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี ขึ้นไปไม่ได้เมื่อโจทก์ยกอายุความเรียกดอกเบี้ยขึ้นต่อสู้แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงินกู้และผู้รับจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจะเรียกดอกเบี้ยจากโจทก์เกิน 5 ปี ไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 (เดิม) ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี ขึ้นไปไม่ได้เมื่อโจทก์ยกอายุความเรียกดอกเบี้ยขึ้นต่อสู้แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงินกู้และผู้รับจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจะเรียกดอกเบี้ยจากโจทก์เกิน 5 ปี ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นสิทธิบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดย มิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่ง ฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับตามสัญญาประนีประนอม ผู้ร้องไม่ใช่คู่ความ ศาลไม่สามารถบังคับได้โดยตรง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องจดทะเบียนทางภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิบังคับผู้ร้องตามสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขอให้ศาลบังคับคดีเอากับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับผู้ร้องที่เป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน หากไม่จดทะเบียน สิทธิบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห. ได้ จึงมีผลบังคับ พ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังประนีประนอมยอมความ: สิทธิในการจดทะเบียน vs. กรรมสิทธิ์
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และศาลพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์ได้แต่สิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนโฉนดสำหรับที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินตามสัญญา แม้เนื้อที่ประมาณการ สิทธิบังคับตามสัญญาชอบธรรมเมื่อมีข้อมูลรังวัดจริง
เมื่อตามสัญญาจะซื้อขายและแผนที่สังเขปท้ายสัญญา แสดงให้เห็นเจตนาว่าตกลงจะซื้อขายที่ดินด้านทิศใต้ของถนนที่ตัดผ่านทั้งหมด จำนวนเนื้อที่ดินที่ลงไว้ในสัญญาเป็นแต่คาดหรือประมาณว่าเมื่อถนนตัดผ่านจะมีจำนวนเท่าใดแม้ผู้ขายโอนที่ดิน 8 ไร่ โดยใส่ชื่อผู้ซื้อในโฉนดไปแล้ว แต่เมื่อปรากฏจากการรังวัดแบ่งแยกโฉนดว่าที่ดินด้านทิศใต้ของถนนมี 11 ไร่เศษ ผู้ซื้อจึงชอบที่จะฟ้องบังคับผู้ขายโอนขายที่ดินให้ครบตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิในการบังคับตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน
โจทก์จำเลยตกลงยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารที่ทางอำเภอเปรียบเทียบ โดยขอรับสัญญาจะซื้อขายที่ดินไปดำเนินการกันทางศาลต่อไป ดังนั้นสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ระงับ โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายได้
จำเลยฎีกาเรื่องค่าธรรมเนียม ค่าทนายความ ถึงแม้ว่าชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่ก็ปรากฏว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความผิดกฎหมายศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาเรื่องค่าธรรมเนียม ค่าทนายความ ถึงแม้ว่าชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่ก็ปรากฏว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความผิดกฎหมายศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้