พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายและการบังคับจดทะเบียนภารจำยอม สิทธิบุคคลสัญญาไม่อาจอ้างเหตุแบ่งแยกที่ดินหลีกเลี่ยงการจดทะเบียน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โดยมีข้อตกลงกันในวันกำหนดโอนที่ดินที่จะซื้อจะขายดังกล่าวว่า จำเลยยินยอมที่จะจดทะเบียนภารจำยอมเพื่อให้โจทก์มีสิทธิในการใช้ถนนเข้า - ออก จากที่ดินของโจทก์ในที่ดินที่เป็นถนนทุกแปลงที่จำเลยมีกรรมสิทธิ์ เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้โดยสัญญานี้โจทก์จะไม่ได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิในทางภารจำยอมโดยบริบูรณ์ เพราะไม่ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่บทมาตรานี้ก็หาได้บัญญัติให้เป็นผลไปถึงว่านิติกรรมหรือสัญญานั้นเป็นโมฆะเสียเปล่าไปไม่ สัญญาดังกล่าว จึงยังคงมีผลก่อให้เกิดบุคคลสิทธิในอันที่จะเรียกร้องบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญาและเมื่อที่ดินของจำเลยต้องตกอยู่ในภารจำยอม ภารจำยอมดังกล่าวจะสิ้นไปก็ด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399เมื่อภารจำยอมยังไม่สิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตามข้อตกลงท้ายสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบคำสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิบุคคล: หลักการตามมาตรา 30 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบไต่สวน ซึ่งมุ่งหมายให้ศาลทำหน้าที่ค้นคว้าหาความจริงและตรวจสอบการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ หาใช่เพียงแต่ควบคุมการพิจารณาและปล่อยให้คู่ความคอยระวังรักษาผลประโยชน์ของตนดังเช่นคดีแพ่งไม่ แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมีข้อความว่า คู่ความประสงค์ให้ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 3, 4, 5 และ 37 หรือไม่ โดยมิได้กล่าวถึงมาตรา 30 ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์แล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้ศาลตรวจสอบการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องถือว่าโจทก์ยังประสงค์ให้ศาลพิจารณาและวินิจฉัยว่า การออกคำสั่งที่ 689/2540 ของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 30 หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสละประเด็นข้อนี้แล้ว
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) บัญญัติมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แก่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง ส่วนงานใดเป็นงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 อันว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 ถึงมาตรา 89 ซึ่งเป็นแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแนวทางที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงชี้แจงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาแล้ว งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คืองานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตาม มาตรา 4 (7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 4 (3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 689/2540 ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 50
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) บัญญัติมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แก่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง ส่วนงานใดเป็นงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 อันว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 ถึงมาตรา 89 ซึ่งเป็นแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนแนวทางที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงชี้แจงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาแล้ว งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คืองานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 4 (3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตาม มาตรา 4 (7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม มาตรา 4 (3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 689/2540 ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้ทางร่วมกัน – สิทธิบุคคล – ไม่ใช่ภาระจำยอม – การรื้อถอนรั้ว
จำเลยกับ จ.ได้ทำหนังสือยินยอมยกที่ดินของจำเลยกับ จ.ให้เป็นทางใช้ร่วมกันกว้างฝ่ายละ 0.50 เมตร ยาวตลอดสุดที่ดินของจำเลย จ.เจ้าของที่ดินเดิมใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลยก็โดยอาศัยสิทธิตามข้อตกลง มิใช่ใช้ทางโดยเจตนาจะให้ได้ภาระจำยอม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา1401 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจาก จ. และใช้ทางพิพาทต่อมา จึงไม่ได้ภาระจำยอมเช่นกันแต่การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดังกล่าวแล้ว ได้ปรับปรุงตึกแถวบนที่ดินนั้นทำเป็นหอพักมีผู้เช่าตึกแถวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ถนน และโจทก์ต่อท่อระบายน้ำเข้ากับท่อระบายน้ำของจำเลยที่ฝังอยู่ใต้ทางพิพาท โดยจำเลยมิได้โต้แย้งหวงห้ามหรือปิดกั้นทางพิพาท จนเมื่อโจทก์เทปูนยกระดับทางพิพาทสูงขึ้นและเกิดมีปัญหาน้ำท่วมขังจำเลยจึงบอกเลิกการใช้ทางต่อโจทก์แล้วกั้นรั้วบนทางพิพาท แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ตกลงยอมรับโดยปริยายที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของจำเลยกับ จ.เจ้าของที่ดินเดิมในอันที่ต่างฝ่ายต่างเว้นที่ดินของตนไว้เป็นทางพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันมา จำเลยจึงต้องยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงต่อไป
เหตุที่เกิดน้ำท่วมขังบ้านจำเลยเกิดจากเหตุที่ปัจจุบันบ้านจำเลยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนซอยมากกว่าการที่โจทก์เทพื้นทางพิพาทสูงขึ้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีสิทธิทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนรั้วออกไป แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลสิทธิและไม่ใช่ภาระจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมตามฟ้อง
เหตุที่เกิดน้ำท่วมขังบ้านจำเลยเกิดจากเหตุที่ปัจจุบันบ้านจำเลยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนซอยมากกว่าการที่โจทก์เทพื้นทางพิพาทสูงขึ้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดข้อตกลงในการใช้ทางพิพาทร่วมกับจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีสิทธิทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนรั้วออกไป แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลสิทธิและไม่ใช่ภาระจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วกระทบสิทธิบุคคลอื่น ศาลไม่สามารถพิพากษาเพิกถนิติกรรมได้
เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1แล้วคู่ความย่อมกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยหากภายหลังถอนฟ้องมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่1ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่2ผู้เช่าย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่1อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดีศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ข้อวินิจฉัยผูกพันบุคคลนอกคดีโดยมิชอบเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 90 ป.วิ.อ. คุ้มครองสิทธิบุคคลจากการถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความเข้าดังบัญญัติไว้ในมาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21) และ (22) อธิบายไว้ไม่ ฉะนั้น มาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2504
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21) และ (22) อธิบายไว้ไม่ ฉะนั้น มาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 90 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา: การคุ้มครองสิทธิบุคคลที่ถูกควบคุมหรือขังโดยมิชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความมา เข้าดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21)(22) อธิบายไว้ไม่ฉะนั้นมาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภรรยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนชำเราต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภรรยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านผู้มีชื่อนั้นเพื่อพบและช่วยภรรยาผู้ร้องซึ่งถูกกักขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา58(3),69(3) นั้น ถือได้ว่าผู้ร้องได้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21)(22) อธิบายไว้ไม่ฉะนั้นมาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภรรยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนชำเราต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภรรยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านผู้มีชื่อนั้นเพื่อพบและช่วยภรรยาผู้ร้องซึ่งถูกกักขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา58(3),69(3) นั้น ถือได้ว่าผู้ร้องได้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย