พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนทางประกันสังคมไม่ระงับ แม้ยื่นคำขอหลังหนึ่งปี มาตรา 56 วรรคหนึ่งเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัด
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ก็มิได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนระงับสิ้นไป ดังนั้นระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีจึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ซึ่งต่างจากมาตรา 56 วรรคสอง อันเป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน และสำนักงานประกันสังคมได้แจ้งให้บุคคลดังกล่าวมารับประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินนั้นจึงจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861-864/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร การพิจารณาช่วงเวลาการยื่นคำขอและเหตุผลความล่าช้า
สิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรจะเกิดมีขึ้นเมื่อใดนั้นจะต้องพิจารณาจากวันคลอดบุตรของผู้ประกันตนประกอบกับผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้วหรือไม่ แม้โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทั้งสี่คลอดบุตร แต่ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด กรณีที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลา 1 ปีดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่ยังไม่อาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรจากจำเลยได้ เนื่องจากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการส่งเงินสมทบระหว่างนายจ้างของโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยว่าจะต้องส่งเงินสมทบกรณีคลอดบุตรและตายเพียงใด ต่อมาหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว นายจ้างของโจทก์ทั้งสี่เพิ่งส่งเงินสมทบย้อนหลังกรณีคลอดบุตรและตายให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 โจทก์ทั้งสี่จึงอยู่ในฐานะที่อาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อจำเลยได้นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป การขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรของโจทก์ทั้งสี่ต่อจำเลย ถือว่าเป็นการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุผลความจำเป็น
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง หากผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนตามปกติบุคคลนั้นย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรเหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำฟ้องของโจทก์ว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ทราบว่าจะต้องยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าว และโจทก์อ้างว่าเมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วจำเลยก็น่าจะแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้าแต่อย่างใด การที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ย่อมเสียสิทธิดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเกินกำหนดระยะเวลา, การงดสืบพยาน, และกระบวนพิจารณานอกห้องพิจารณาคดี
คำสั่งเรียกพยานเอกสารเป็นกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี การที่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยส่งประกาศของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไปให้ศาลแรงงานกลาง แม้มิได้มีคำสั่งในระหว่างพิจารณาคดีในห้องพิจารณาต่อหน้าคู่ความ และมิได้มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาด้วย ก็ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 18 และมาตรา 45 แล้ว
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ: การยื่นคำขอเกินกำหนดและเหตุอันสมควร
แม้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ แล้วก็ตาม แต่หากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทน ก็จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 ซึ่งเป็นข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน ดังนั้น หากผู้ยื่นคำขอมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติบุคคลนั้นก็ย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอหาได้ไม่
โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพในส่วนของบำเหน็จชราภาพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน คือวันที่ 1 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมายังไม่พอที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นใดจึงยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนล่าช้า จึงย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพในส่วนของบำเหน็จชราภาพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน คือวันที่ 1 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมายังไม่พอที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นใดจึงยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนล่าช้า จึงย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต: การจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีและหน้าที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม แม้ผู้รับจ้างลาป่วย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ซี่งวันหยุดดังกล่าวล้วนแต่ให้หยุดในระหว่างการทำงานทั้งสิ้น เมื่อ ฉ. ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ตลอดมาจนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันหยุดตามประเพณีดังกล่าว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่ ฉ. และไม่ได้หักค่าจ้างของ ฉ. ส่งสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: การสละสิทธิบริการมาตรฐานและการบังคับใช้ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยรับบริการทางการแพทย์ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 63 ในสถานพยาบาลที่กำหนดตามมาตรฐานที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม หากผู้ประกันตนประสงค์จะได้รับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนด เช่น ค่าห้องพิเศษ ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์ที่ผู้ประกันตนระบุเฉพาะ ทางสถานพยาบาลจะเรียกเพิ่มได้เฉพาะในส่วนที่เกินจากสิทธิของประกันสังคมโดยตกลงกับผู้ประกันตนเป็นลายลักษณ์อักษรตามหนังสือของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลในโครงการประกันสังคม ฉบับลงวันที่ 15 เมษายน 2536
โจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด แต่โจทก์ประสงค์จะรับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนด จึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนที่เกินจากสิทธิของประโยชน์ทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมที่โจทก์สละสิทธิผู้ป่วยประกันสังคมโดยจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด ในส่วนที่ตัดสิทธิ์โจทก์ที่พึงได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานของประกันสังคม พ.ศ. 2533 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 คงบังคับได้เฉพาะค่าบริการทางการแพทย์ส่วนที่เกินจากสิทธิตามประกันสังคม
โจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด แต่โจทก์ประสงค์จะรับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนด จึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนที่เกินจากสิทธิของประโยชน์ทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมที่โจทก์สละสิทธิผู้ป่วยประกันสังคมโดยจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด ในส่วนที่ตัดสิทธิ์โจทก์ที่พึงได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานของประกันสังคม พ.ศ. 2533 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 คงบังคับได้เฉพาะค่าบริการทางการแพทย์ส่วนที่เกินจากสิทธิตามประกันสังคม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม การสละสิทธิเพื่อรับบริการพิเศษ และข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม แต่โจทก์ประสงค์จะได้รับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนดจึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนที่เกินจากสิทธิของประโยชน์ทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับโรงพยาบาลจำเลยร่วมที่ว่าโจทก์สละสิทธิผู้ป่วยประกันสังคมโดยโจทก์จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมดนั้นในส่วนที่ให้ตัดสิทธิที่โจทก์พึงได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานของประกันสังคม ซึ่งเป็นสิทธิที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 63 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 คงบังคับได้เฉพาะค่าบริการทางการแพทย์ส่วนที่เกินจากสิทธิตามประกันสังคม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตายหลังสิ้นสภาพลูกจ้าง: การส่งเงินสมทบต่อเนื่องและการปฏิเสธการรับชำระเงิน
ผู้ประกันตนถูกนายจ้างเลิกจ้าง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ต่อไปอีก 6 เดือน คือถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 อนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนต่อไปตามมาตรา 39 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 และให้ส่งเงินสมทบภายในวันที่ 1 ถึง 15 มีนาคม 2544 โจทก์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบแต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปฏิเสธที่จะรับชำระเงินสมทบ ครั้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายดังนี้ สำนักงานประกันสังคมจะปฏิเสธจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายโดยอ้างว่าผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหลังจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเกิน 6 เดือน โดยผู้ประกันตนไม่ได้ส่งเงินสมทบหนึ่งเดือนภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตายไม่ได้ เพราะโจทก์ได้แสดงความจำนงขอชำระเงินสมทบงวดแรกตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 แล้ว เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมเองที่ไม่ยอมรับ สำนักงานประกันสังคมจึงต้องจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เริ่มนับจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ ไม่ใช่วันที่แพทย์ประเมิน
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ โจทก์ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพในเรื่องเงินทดแทนการขาดรายได้นั้นเป็นไปตามมาตรา 71ส่วนกรณีใดจะเป็นกรณีทุพพลภาพนั้นเป็นไปตามมาตรา 5
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง