คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิควบคู่กันและการยินยอมของคู่สัญญา
สัญญาซื้อขายได้กำหนดเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดจนผลในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไว้แตกต่างกัน กล่าวคือ หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 จำเลยยอมให้โจทก์ริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา จำเลยยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนข้อ 9 นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8ในข้อนี้จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วน และตามสัญญาข้อ 9 วรรคสองในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้คดีนี้จำเลยไม่ส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ทันที โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามและกำหนดเวลาใหม่ให้โอกาสแก่จำเลยในการดำเนินการส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์สงวนสิทธิการปรับตามสัญญาและให้จำเลยแจ้งการยินยอมชำระค่าปรับมาด้วย ซึ่งจำเลยก็มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ายอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาตามที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังมีหนังสือยืนยันมาว่าจะส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และโจทก์มีหนังสือแจ้งการปรับในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบไปให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการปรับจำเลยเป็นรายวันไปก่อนเพื่อให้โอกาสจำเลยส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ใหม่ ซึ่งจำเลยก็ยินยอมตลอดมา ครั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การกระทำของโจทก์เช่นนี้ต้องด้วยข้อ 9วรรคสอง ของสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลย เป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.20 ของราคายางแอสฟัลต์ที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับรายวันจากสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิปรับก่อนบอกเลิกสัญญาชอบด้วยข้อตกลง
สัญญาซื้อขายได้กำหนดเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดจนในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไว้แตกต่างกันกล่าวคือ หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 จำเลยยอม ให้โจทก์ริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาจำเลยยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ใน สัญญานี้ด้วย ส่วนข้อ 9 นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ในข้อนี้จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของ ที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่จำเลยได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้อง ครบถ้วน และตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะ ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจาก ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้คดีนี้ จำเลยไม่ส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ทันที โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามและกำหนดเวลาใหม่ให้โอกาสแก่จำเลยในการดำเนินการส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์สงวนสิทธิการปรับตามสัญญาและให้จำเลยแจ้ง การยินยอมชำระค่าปรับมาด้วย ซึ่งจำเลยก็มีหนังสือแจ้งให้ โจทก์ทราบว่ายอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาตามที่เคยปฏิบัติมา เป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังมีหนังสือยืนยันมาว่า จะส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และโจทก์มีหนังสือแจ้งการปรับในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบไปให้จำเลยทราบเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการปรับจำเลยเป็นรายวันไปก่อนเพื่อให้โอกาสจำเลยส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ใหม่ ซึ่งจำเลยก็ยินยอมตลอดมา ครั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การกระทำของโจทก์เช่นนี้ต้องด้วยข้อ 9 วรรคสองของสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลย เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.20 ของราคายางแอสฟัลต์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้รับ หนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การผิดสัญญา, การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยสุจริต, และสิทธิในการปรับตามสัญญา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ข้อ 49 ได้กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้ว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา โดยจะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาการให้งดทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการละเอียดที่ผิดไปจากข้อกำหนดในสัญญาจ้าง นอกจากนี้ตามสัญญาจ้าง ข้อ 17 ก็ไม่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 กระทำเช่นนี้ได้เช่นกันเพราะกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนกิจการจ้าง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา แต่เป็นการกระทำที่มิให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าทำสัญญาจ้างกับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้าง จึงไม่มีอำนาจที่จะตกลงให้โจทก์งดเว้นทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องได้ แต่การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้รายงานจำเลยที่ 2ขออนุญาตตามลำดับชั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการก็ได้รายงานกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 1 เพื่อขออนุญาตจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่โจทก์ติดเหล็กดัดช่องแสงไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะอนุญาต จึงเป็นการกระทำที่เสี่ยงภัยของโจทก์เอง นับเป็นความผิดของโจทก์ เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้าง กำหนดให้ทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคา แต่โจทก์ยังไม่ได้ทา โจทก์จึงปฏิบัติผิดสัญญาในข้อนี้
ส่วนการใช้เหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร ซึ่งไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่116 - 2517 นั้น แม้โจทก์รับว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 เพราะขณะทำการก่อสร้าง เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวขาดตลาด แต่เหล็กที่โจทก์นำมาใช้ก็มีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะให้ฟังว่าโจทก์ไม่ผิดสัญญาจ้างในข้อนี้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เคยมีหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองว่า โครงเหล็กหลังคาถูกต้องตามแบบและเรียบร้อย และไม่ได้ทักท้วงตั้งแต่ตอนแรกว่าเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)เลขที่ 116 - 2517 เพราะตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างเหล็กโครงสร้างหลังคามีเหล็กหลายขนาด และโจทก์ได้นำหลักฐานสำเนาใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเลขที่ 116 - 2517 ตามเอกสารหมาย ปจ.9 มาแสดงต่อจำเลยที่ 3 แล้วจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อาจสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่ารวมทั้งเหล็กค้ำยันโครงหลังคาด้วยจึงได้ทำหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองให้โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบโดยละเอียดแล้วพบว่าเอกสารหมาย ปจ.9 ที่โจทก์นำมาแสดงนั้นไม่มีรายการของเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร รวมอยู่ด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงได้โต้แย้งข้อนี้ภายหลัง กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างหมาย จ.4 กำหนดให้เหล็กที่ค้ำยันโครงหลังคาต้องเป็นเหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 แต่โจทก์ใช้เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวทำเหล็กค้ำยันโครงหลังคา แม้เหล็กดังกล่าวจะมีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกัน โจทก์ก็ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างข้อนี้
โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
สัญญาจ้างข้อ 19 ระบุว่า "ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ
(1) ปรับผู้รับจ้างเป็นรายวัน วันละ 765 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์
2. ...
3. ...
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย" เห็นว่าตามข้อสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันเฉพาะกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้บอกเลิกสัญญา จนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ แต่ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อนวันบอกเลิกสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาต่อมาจึงไม่อาจใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันตามสัญญาจ้างข้อ 19 (1) ได้ คงได้แต่ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจ้างเท่านั้น
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ไม่รับมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 และจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา เช่นนี้ โจทก์ก็ไม่อาจคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันส่งมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายหลังใช้สิทธิปรับ ค่าปรับรายวันและค่าเสียหายที่พอสมควร
โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว จำเลยมิได้ส่งมอบ โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบสิ่งของ กับจำเลยมีหนังสือตอบแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งมอบสิ่งของ แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจำเลยยอมปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องค่าปรับ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับตามที่สัญญาซื้อขายระบุไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาได้
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญา vs. สิทธิปรับรายวัน: การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมตัดสิทธิอีกอย่างหนึ่ง
ตามสัญญาข้อ 8 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ส่วนตามสัญญาข้อ 9 กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบได้ นับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนกว่าผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน กับเรียกให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้ใช้สิทธิปรับเป็นรายวันก่อนบอกเลิกสัญญา แม้โจทก์จะสงวนสิทธิการเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 9 ไว้ท้ายหนังสือบอกเลิกสัญญา ก็หามีผลเป็นการใช้สิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันแล้วไม่ จึงเป็นกรณีบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นรายวันจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ตามกฎหมาย
ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยผู้ขายได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งตามสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนการที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวัน จำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์รวม 4 ครั้ง แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกแล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือประกันตามสัญญาข้อ 7กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกตามสัญญาข้อ 9 วรรค 2 แต่เนื่องจากโจทก์เรียกค่าปรับมาสูงเกินส่วนเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างน้อย ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิปรับควบคู่การเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายให้สิทธิโจทก์บอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวันจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิจะปรับจำเลยนั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรก แล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 วรรคสามได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการส่งมอบงานและผลกระทบต่อสิทธิปรับรายวันของผู้ว่าจ้าง
ตามสัญญา ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา หากผู้รับจ้างยังทำงานให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิปรับเป็นรายวัน การที่ผู้รับจ้างทิ้งงานไปแล้ว แต่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาในทันที ทำนองรับเอาความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีไม่เข้าตามข้อกำหนดในสัญญา และคู่กรณีไม่ได้ตกลงเรื่องผู้รับจ้างทิ้งงานไปเป็นพิเศษ โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก