พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้ถูกผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์ก่อนฟื้นฟู
กฎหมายล้มละลายมีบทบัญญัติที่กำหนดสภาวะหยุดนิ่งหรือการพักชำระหนี้ (automatic stay) นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน และมีบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการขอรับชำระหนี้เพื่อให้ผู้ทำแผนทราบถึงจำนวนหนี้สินของลูกหนี้ที่จะต้องนำทรัพย์สินมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับแผนแล้วย่อมมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป ผู้คัดค้านซึ่งไปเจ้าหนี้รายหนึ่งในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ จึงต้องผูกพันในแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลสั่งเห็นชอบแล้ว และสิทธิในการจะบังคับชำระหนี้เองในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นี้ย่อมสิ้นไป สำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองในการห้ามยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว แม้มาตรา 90/12 (7) จะใช้คำว่า "ยึด" ก็ตาม แต่ย่อมหมายความรวมถึงการอายัดด้วย เพราะเมื่อมีการส่งทรัพย์สินหรือเงินตามที่อายัดให้ ก็จะนำไปสู่การบังคับคดีได้เองนั่นเอง แม้คดีนี้จะเป็นการอายัดก่อนศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วยโดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สิทธิผูกพันตามหลักฐานหนังสือ ห้ามเปลี่ยนแปลงด้วยพยานบุคคล
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในรูปแบบมีหลักฐานเป็นหนังสือ การวางมัดจำเป็นเพียงข้อตกลงข้อหนึ่งที่ปรากฏในหลักฐานที่เป็นหนังสือดังกล่าวเท่านั้นนิติกรรมคือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงก่อซึ่งสิทธิและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์และบังคับในรูปแบบของหลักฐานเป็นหนังสือหาใช่เพียงการวางเงินมัดจำไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าขณะทำสัญญาโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากจำเลยไม่ประสงค์จะขายที่ดินให้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนวันโอนนั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานที่เป็นหนังสือนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายก่อนคู่สัญญาสิ้นชีพ: สิทธิยังคงผูกพันทายาท/ผู้จัดการมรดก หากจำเลยผิดนัด
จำเลยให้การว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพ.ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างพ. กับจำเลยระบุวันที่คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเมื่อถึงกำหนดนัดพ. ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัดคำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาต่อกันหรือไม่แม้ประเด็นดังกล่าวจะตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การก็ตามแต่จำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ดังนี้ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่างพ.กับจำเลยต่อมาพ. ตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังนั้นสิทธิในการโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาย่อมเป็นกองมรดกของพ. ผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกการที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้พ. ทราบหลังจากที่พ. ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาที่จำเลยได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ซึ่งเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าอาคารบนที่ดินราชพัสดุ แม้ยังมิได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
กระทรวงการคลังตกลงให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการเช่าที่ดินราชพัสดุจัดทำประโยชน์สร้างอาคารพาณิชย์ให้บุคคลอื่นเช่าทำการค้าจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทบนที่ดินดังกล่าวแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังยินยอมให้จำเลยเป็นผู้เช่าอาคารหรือโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทได้สิทธิการเช่าจึงเกิดขึ้นจากนิติกรรมหรือข้อตกลงมิใช่เป็นทรัพยสิทธิ แต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งอาจจำหน่ายจ่ายโอนกันได้
จำเลยผู้มีสิทธิการเช่าอาคารที่พิพาทได้โอนสิทธินั้นให้แก่ผู้ร้องผู้ร้องได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาและเข้าครอบครองอาคารแล้วแม้ข้อตกลงโอนสิทธิการเช่าจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้มีการจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารให้แก่กระทรวงการคลังและยังไม่ได้ชำระค่าเช่าให้แก่เทศบาลเมืองสมุทรปราการผู้เช่าที่ดินดังกล่าวก็หาทำให้ข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่านั้นเป็นโมฆะไม่ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะเรียกร้องให้จดทะเบียนการเช่าและขอชำระค่าเช่าได้ตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะนำยึดสิทธิการเช่าดังกล่าวโดยอ้างว่ายังเป็นของจำเลยหาได้ไม่
จำเลยผู้มีสิทธิการเช่าอาคารที่พิพาทได้โอนสิทธินั้นให้แก่ผู้ร้องผู้ร้องได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาและเข้าครอบครองอาคารแล้วแม้ข้อตกลงโอนสิทธิการเช่าจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้มีการจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารให้แก่กระทรวงการคลังและยังไม่ได้ชำระค่าเช่าให้แก่เทศบาลเมืองสมุทรปราการผู้เช่าที่ดินดังกล่าวก็หาทำให้ข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่านั้นเป็นโมฆะไม่ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะเรียกร้องให้จดทะเบียนการเช่าและขอชำระค่าเช่าได้ตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะนำยึดสิทธิการเช่าดังกล่าวโดยอ้างว่ายังเป็นของจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าอาคารบนที่ดินราชพัสดุ แม้มิได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
กระทรวงการคลังตกลงให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการเช่าที่ดินราชพัสดุจัดทำประโยชน์สร้างอาคารพาณิชย์ให้บุคคลอื่นเช่าทำการค้าจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทบนที่ดินดังกล่าวแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังโดยกระทรวงการคลังยินยอมให้จำเลยเป็นผู้เช่าอาคารหรือโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทได้สิทธิการเช่าจึงเกิดขึ้นจากนิติกรรมหรือข้อตกลงมิใช่เป็นทรัพยสิทธิแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งอาจจำหน่ายจ่ายโอนกันได้ จำเลยผู้มีสิทธิการเช่าอาคารที่พิพาทได้โอนสิทธินั้นให้แก่ผู้ร้องผู้ร้องได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาและเข้าครอบครองอาคารแล้วแม้ข้อตกลงโอนสิทธิการเช่าจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และยังมิได้มีการจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์อาคารให้แก่กระทรวงการคลังและยังไม่ได้ชำระค่าเช่าให้แก่เทศบาลเมืองสมุทรปราการผู้เช่าที่ดินดังกล่าวก็หาทำให้ข้อตกลงการโอนสิทธิการเช่านั้นเป็นโมฆะไม่ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะเรียกร้องให้จดทะเบียนการเช่าและขอชำระค่าเช่าได้ตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะนำยึดสิทธิการเช่าดังกล่าวโดยอ้างว่ายังเป็นของจำเลยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียนเกิน 3 ปี สิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ไม่ตามไปกับทรัพย์สินที่โอน
หากสัญญาเช่าตึกพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนมิใช่สัญญาเช่าธรรมดาที่ต้องจดทะเบียนการเช่าที่เกินกว่า 3 ปี ขึ้นไปแล้ว สัญญานี้ก็คงผูกพันเฉพาะผู้ที่เป็นคู่สัญญาเดิมกับจำเลย ไม่+มากับตึกพิพาทที่โจทก์ซื้อจากเจ้าของเดิม
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของเดิมมีอายุ 3 ปี 2 ฉบับ มีอายุ 2 ปี 2 ฉบับ ต่อกันไปรวมเป็น 10 ปี โดยไม่จดทะเบียน ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้น โจทก์รับโอนตึกที่จำเลยเช่ามา โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้เพราะสัญญาหมดอายุแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกกับเจ้าของเดิมมีอายุ 3 ปี 2 ฉบับ มีอายุ 2 ปี 2 ฉบับ ต่อกันไปรวมเป็น 10 ปี โดยไม่จดทะเบียน ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี ต่อจากนั้น โจทก์รับโอนตึกที่จำเลยเช่ามา โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้เพราะสัญญาหมดอายุแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: การขออนุญาตจากผู้ให้เช่าตามสัญญาใหม่มีผลผูกพันแม้เจ้าของเดิมยินยอมก่อนหน้า
เมื่อฟ้องโจทก์อาศัยสัญญาเช่าที่ทำกันใหม่ซึ่งมีข้อความบ่งชัดว่า'ผู้เช่าช่วงจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นหนังสือก่อนจึงจะให้เช่าช่วงได้'ดังนี้ แม้เจ้าของที่ดินเดิมจะได้ยินยอมให้จำเลยให้คนอื่นเช่าช่วงห้องของจำเลยที่ปลูกในที่ดินนั้นแล้วที่ดินจึงได้โอนมายังโจทก์ก็ตามจำเลยก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาใหม่ที่ทำไว้กับโจทก์เมื่อไม่ได้รับอนุญาตในเรื่องเช่าช่วงจึงถือว่าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
วัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและไม่เกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและไม่เกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงสัญญาจำนอง: สิทธิจำนองผูกพันระหว่างจำเลย โจทก์ไม่อาจอุทธรณ์เพิกถอนสัญญาจำนองได้
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลบังคับจำเลยคนหนึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย และขอให้เพิกถอนสัญญาที่จำเลยอีกสองคนทำกันไว้เกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งรับโอนที่ดินแปลงนั้นลงชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไปแล้ว สัญญาจำนองจะใช้บังคับแก่ที่ดินนั้นได้หรือไม่ ย่อมเป็นภาระระหว่างจำเลย โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาจำนองอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8686/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยมีค่าตอบแทน และผลผูกพันต่อทายาท
ทางพิพาทอยู่บนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประชาชนที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์มีเพียงสิทธิครอบครอง ดังนั้น ผู้ครอบครองจึงไม่อาจนำที่ดินออกขาย แต่เมื่อพิเคราะห์สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อทำทางพิพาท ก็พอจะแปลเจตนาของคู่สัญญาได้ว่า เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้ทางพิพาท โดยได้รับค่าตอบแทน 2,000 บาท สัญญาดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม โจทก์เป็นบุตรของ อ. ผู้ซื้อ ส่วนจำเลยเป็นบุตรของ ผ. ซึ่งเป็นผู้ทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าว ขณะ ห. รับเงินค่าตอบแทนการใช้ทางพิพาท ผ. ยังเป็นผู้ครอบครองอยู่ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทผู้สืบสิทธิของ อ. และ ผ. ในที่ดินในเขตปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องผูกพันตามข้อตกลงที่อนุญาตให้ใช้ทางพิพาทตามที่สัญญาไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นไม่ให้โจทก์ใช้ทางพิพาท ส่วนโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็น