พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4063/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่แจ้งสิทธิผู้ต้องหา ทำให้คำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่ได้มาใช้ไม่ได้ ศาลยกฟ้อง
เมื่อมีการจับกุมตัวจำเลยทั้งสามและแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสามแล้ว ไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งสิทธิให้จำเลยทั้งสามทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้จับมีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิรวม 3 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 1 คือพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง ดังนั้น บันทึกการจับกุมของจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสิทธิผู้ต้องหา, พยานเบิกความขัดแย้ง, และการใช้ประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีครอบครองยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสามและแจ้งข้อหาว่าร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ แต่ไม่ปรากฏว่าได้แจ้งสิทธิให้จำเลยทั้งสามทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้จับมีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิรวม 3 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 1 คือพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง ทั้งตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมก็ไม่มีข้อความระบุว่ามีการแจ้งสิทธิดังกล่าวด้วย บันทึกการตรวจค้นจับกุมจึงมีน้ำหนักน้อย เจ้าพนักงานตำรวจเพียงแต่พบเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่บริเวณหัวเตียงนอนและในห้องดังกล่าวซึ่งมีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อยู่ด้วยกัน โดยจำเลยที่ 3 เบิกความยอมรับว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เอง เมื่อมิได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนจากตัวจำเลยที่ 1 ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ โจทก์เพียงอ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ โจทก์เพียงอ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 ต่อศาลเท่านั้น มิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ต่อศาลด้วย ทำให้เป็นพิรุธน่าสงสัยว่า ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การว่าอย่างไร ได้ลงชื่อในบันทึกการจับกุมโดยสมัครใจหรือไม่ ข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 สอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจโท พ. และดาบตำรวจ ว. ในชั้นศาลหรือไม่ทั้จำเลยที่ 1 ไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมาก่อน กรณีจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหาและการรับฟังพยานหลักฐาน
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความร่วมฟังการสอบสวน: พนักงานสอบสวนไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสองบัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน ดังนั้น แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนดังที่จำเลยอ้างก็ตามก็ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ผู้ต้องหามีสิทธิขอชันสูตรซ้ำหรือไม่
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน นอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้วพนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6281/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำให้การของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐาน การสอบสวนต้องแจ้งสิทธิและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ในคดีอาญามีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน เมื่อจะเอาจำเลยเป็นผู้ต้องหาก็ต้องสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา เพราะจะต้องบอกให้จำเลยทราบก่อนว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 การที่พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยเป็นพยาน แล้วโจทก์จะอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยในฐานะพยานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นการมิชอบ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำรับซึ่งปรักปรำและเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็รับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะขัดต่อมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบันทึกคำรับสารภาพต้องแจ้งสิทธิผู้ต้องทราบก่อนใช้เป็นหลักฐาน
บันทึกของคำร้องที่จะใช้ยันผู้ต้องหาในชั้นพิจารณาของศาลได้นั้นจะต้องให้ผู้ต้องหาทราบเสียก่อนว่า ถ้อยคำที่บันทึกอาจใช้ยื่นผู้ต้องหาในการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การที่ไม่ได้แจ้งสิทธิผู้ต้องหา
โจทมีพยานเพียงแต่ว่าจำเลย+ต่อเจ้าพนักงานผู้ไปจับจำเลยเท่านั้น ไม่พอรับฟังเพื่อลงโทสจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ต้องหา – การจัดหาทนายความ – การสอบสวน – การริบของกลาง – ลดโทษ
คดีมีโทษถึงประหารชีวิต การสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาจึงอยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความให้ เมื่อพนักงานสอบสวนถามแล้วผู้ต้องหาไม่มีทนายความ เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิให้จำเลยทราบแล้ว และสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธไม่ต้องการทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยตามคำให้การดังกล่าวจำเลยไม่ขอให้การโดยจะไปให้การในชั้นศาล การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง แต่ในบทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ฉะนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด เมื่อมีการสอบสวนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ขอให้ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่า จำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุ และเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12,000 เม็ด อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ซองกระสุนปืน 1 ซอง กับกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ดังนั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใด ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งที่มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78
โจทก์ขอให้ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่า จำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุ และเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12,000 เม็ด อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ซองกระสุนปืน 1 ซอง กับกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ดังนั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใด ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งที่มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78