คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำคดีอาญาที่มีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยกับ ส. ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับมานำสืบและแสดงเป็นพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 180 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง จึงเท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งความผิดแล้ว ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งโจทก์ได้ฟ้องแล้ว คดีนี้โจทก์นำการกระทำของจำเลยในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องจำเลยอีก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยปลอมเอกสารสิทธิและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งแตกต่างกัน แต่มูลคดีนี้ก็มาจากการกระทำอันเดียวกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ไม่มีกำหนดระยะเวลา 90 วัน
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอ เนื่องจากเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว และโจทก์เห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อาจฟ้องต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ซึ่งการใช้สิทธิทางศาลในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 38 วรรคสอง และมาตรา 39 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสแม้ทรัพย์สินอยู่นอกเขตศาล เมื่อโจทก์ฟ้องก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่า โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจำเลยแล้ว ได้ฟ้องขอให้แบ่งสินสมรส จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้น ประกอบกับโจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4 (1) และมาตรา 4 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเสียหายหลังเกิดเหตุ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่จำเลยนำเงินไปวางที่สำนักงานบังคับคดี และที่ศาลชั้นต้นเพื่อใช้ราคาทรัพย์คืนแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมเป็นแต่เพียงการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ไม่มีผลเป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังคงอยู่
จำเลยได้นำเงินไปวางที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ดและที่ศาลชั้นต้นเพื่อใช้ราคาทรัพย์จำนวน 52,500 บาท คืนแก่ผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมเป็นแต่เพียงการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ไม่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ถูกต้อง และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำประดิษฐ์
คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ บัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด แต่คำวินิจฉัยจะเป็นที่สุดได้ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการพิจารณาความถูกต้องตามกฎหมายหรือความไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ ศาลย่อมมีอำนาจฟ้องพิจารณาถึงความชอบหรือไม่ชอบในเหตุผลของคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าได้วินิจฉัยไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือไม่ด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยได้
เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX เป็นคำที่นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่าใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกัน คำนี้ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งได้ขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้า กระดุมแป็บที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุม ตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบและแฟชั่น จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะและไม่เล็งเห็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 (1) (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีติดตามเอาคืนทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิ แม้ฟ้องบุพการีต้องห้าม ก็ไม่กระทบสิทธิฟ้องบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 การซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และการจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความระหว่างจำเลยและผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอชดใช้ค่าเสียหายระงับ
การที่ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกในบันทึกข้อตกลงการหย่า: สิทธิฟ้องของคู่สัญญา
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาต่างตอบแทน โดยยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากจะระบุยกทรัพย์สินบางรายการให้แก่กันและกันแล้ว ยังมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินของ ป. มารดาโจทก์ ท. และ บ. พี่โจทก์ซึ่งจำเลยยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่บุคคลทั้งสามด้วย เป็นผลให้มีฐานะเป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยชำระหนี้ให้แก่ ป. ท. และ บ. โจทก์ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงกับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้จากบริษัทที่เลิกบริษัทแล้ว แม้มีการชำระบัญชีแล้ว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 แม้ต่อมาได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายหลังก็ตาม ก็ไม่ทำให้หนี้สินของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นหนี้ที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1272 แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้ได้ คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ได้
of 57