พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อบุพการี: ข้อจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
จำเลยที่ 1 กับ ท. อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2480 อันเป็นเวลาภายหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปฯ มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ยังคงอยู่
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มิใช่เป็นความผิดอันยอมความกันได้ แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้ รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายจึงไม่ระงับไป การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความโดยรวมถึงความผิดฐานดังกล่าวไปด้วยจึงไม่ชอบ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายเพราะผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ เป็นการมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาใหม่ในความผิดฐานดังกล่าว
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายเพราะผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ เป็นการมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาใหม่ในความผิดฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, สิทธิในการฟ้องคดีหลังแปรสภาพบริษัท, และการยกข้อโต้แย้งใหม่ในชั้นฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์โดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยและมิได้ฟังคำคัดค้านของจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27เมื่อปรากฏว่าจำเลยย่อมทราบว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์แล้วแต่จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านเสียภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้องแต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ โจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิม โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้องแต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ โจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิม โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรสภาพบริษัทจากจำกัดเป็นมหาชนไม่กระทบสิทธิและหน้าที่เดิมในการฟ้องคดี
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯมาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิโจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิมโจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่ทนายความใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดในคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลพิจารณาความยุ่งยากในการดำเนินคดีและสิทธิในการฟ้องคดีแยกต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์ตามฟ้องซึ่งสามีโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีตามส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เรียก ให้แบ่งไม่ได้เพราะมีนิติกรรมขัดอยู่อีกทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร และโจทก์ขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่พิพาททั้งหมดเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวให้จำเลยทั้งสามดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินทุกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนกลับมาเป็นชื่อผู้ร้องต่อไป เป็นการยื่นคำร้องสอดเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ถ้าศาลรับคำร้องอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดได้ก็จะต้องให้โจทก์จำเลยทั้งสามยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย และคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งเก้าสำนวนเข้าด้วยกันแล้ว และสั่งว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวขอแบ่งแยกที่ดินและคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานและให้สืบพยานจำเลยที่ 1 ฉะนั้นหากอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามมาตรา 57(1) ดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งหากผู้ร้องมีสิทธิดังที่กล่าวอ้างในคำร้องสอดก็อาจยกสิทธินั้นยืนยันหรือดำเนินคดีกับโจทก์และจำเลยทั้งสามเป็นคดีต่างหากได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ภายหลัง: ผลกระทบต่อสิทธิการฟ้องคดี
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม2536 ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกันนี้เป็นคดีต่างหากและถอนฟ้องจำเลยไปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2536โดยไม่ปรากฎในคำร้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2537 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ก็ตามแต่การที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องไปแล้วเป็นเวลากว่า 10 เดือนแสดงว่า ผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ตามมาตรา 39(2) เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เท่ากับนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่อีกจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเวนคืน: ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อน จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทกำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 ว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในเมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25วรรคสอง ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 25 วรรคแรกแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ มิได้หมายความว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาล เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6297/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สิน - การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ - สิทธิในการฟ้องคดี - การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยนำยึดทรัพย์สินของโจทก์อ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ขอให้ใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การว่าทรัพย์สินที่นำยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเช่นนี้ ข้อที่ว่าทรัพย์สินที่นำยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่ของโจทก์ และลูกหนี้ตามคำพิพากษานำไปฝากโจทก์ไว้หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อนแล้วจึงจะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ไม่ควรงดสืบพยานโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าใจว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิก็ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีข้าราชการถูกลงโทษวินัย: ต้องรอการจัดตั้งศาลปกครอง
จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ และมีคำสั่งว่าโจทก์กระทำผิดวินัยข้าราชการให้ลงโทษภาคทัณฑ์ไว้ เป็นการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริการโดยเฉพาะ เมื่อจำเลยมีคำสั่งไปตามหน้าที่อย่างไรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว ส่วนการที่โจทก์จะนำคดีมาสู่ศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 จะกระทำได้ต่อเมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองแล้ว แต่ขณะนี้ยังมิได้มีการจัดตั้งศาลปกครอง สิทธิของโจทก์ที่จำนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองข้าราชการ กรณีไม่มีศาลปกครองใช้บังคับตามบทเฉพาะกาล
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 มาตรา 107 บัญญัติว่า 'เมื่อผู้บังคับบัญชา หรือ ก.พ. ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในมาตรา 104 หรือ มาตรา 105 แล้ว ผู้ถูกสั่งลงโทษเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น' แต่ขณะนี้ยังมิได้มีการจัดตั้งศาลปกครอง กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 120 ซึ่งบัญญัติว่าสำหรับการฟ้องคดีต่อศาลปกครองของผู้ถูกลงโทษตามความในมาตรา 107 ยังไม่ให้ใช้บังคับ ดังนั้น ผู้ถูกลงโทษจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีตามมาตรา 107.