พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา แม้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล และสิทธิการฟ้องแย้งของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ธ. ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมาย แต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นจำเลยร่วมและการจำกัดสิทธิในการฟ้องแย้ง
ตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของจำเลยร่วมทั้งห้าอ้างว่าจำเลยและ ท.มารดาของจำเลยร่วมทั้งห้า ได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก จ.มาตั้งแต่ปี 2490 แต่มิได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว จ.ได้ส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยและ ท. จำเลยและ ท.ได้ครอบครองใช้ทำประโยชน์ตลอดมาจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ ต่อมา ท.ได้ถึงแก่ความตาย จำเลยร่วมทั้งห้าผู้เป็นบุตรของ ท.จึงได้ครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อมา ซึ่งมีลักษณะเป็นเจ้าของร่วมมีฐานะเดียวกันกับจำเลย และในตอนท้ายของคำร้องจำเลยร่วมทั้งห้าก็ขอเข้าเป็นจำเลยร่วม จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า จำเลยร่วมทั้งห้าได้ร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) หาใช่เป็นการร้องขอเข้ามาในฐานะที่เป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1) ไม่ เมื่อจำเลยร่วมทั้งห้าขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 57 (2) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วม เมื่อจำเลยให้การโดยมิได้ฟ้องแย้ง จำเลยร่วมทั้งห้าจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องแย้งโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องแย้งของบุตรเขย: แม้บุตรสาวฟ้องไม่ได้ บุตรเขยก็มีสิทธิฟ้องโจทก์ได้ตามกฎหมาย
มารดาฟ้องบุตรสาวและบุตรเขยเป็นจำเลยขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนด จำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ขอให้ห้ามไม่ให้โจทก์เข้ามาเกี่ยวข้อง และเรียกค่าเสียหายด้วย ดังนี้ แม้บุตรสาวจะฟ้องไม่ได้ บุตรเชยก็ย่อมฟ้องให้โจทก์รับผิดตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิที่ดิน: ชื่อในโฉนดไม่ใช่ข้อพิสูจน์เด็ดขาด เจ้าของที่แท้จริงมีสิทธิฟ้องแย้ง
ผู้มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดินนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้นั้นจะต้องมีสิทธิดีกว่าผู้อื่นเสมอไป อาจมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิแต่ไม่มีกรรมสิทธิ อันแท้จริงก็ได้