พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดก
บันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่ผู้คัดค้านและผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งผู้คัดค้านและผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ทั้งบันทึกด้านหลังทะเบียนสมรสนายทะเบียนได้ทำในวันและเวลาเดียวกันต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงถือว่าผู้คัดค้านและผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสในเรื่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนยังไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การจดทะเบียนสมรสนั้นไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลฎีกาพิพากษายืนฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 กรณีประเด็นสิทธิมรดกซ้ำกับคดีเดิม
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีเดิม แต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นทนายความของจำเลยที่ 2 ในคดีเดิม ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่าคู่ความหมายความรวมถึงทนายความของโจทก์หรือจำเลยด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความในคดีเดิมเช่นกัน
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คู่ความในคดีเดิมกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน มรดกที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายรายเดียวกัน คำขอของโจทก์ในคดีหลังที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันจดทะเบียน โอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งมีข้อต้องวินิจฉัยเบื้องแรกว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายฉบับโจทก์อ้าง หรือไม่ก่อน แล้วจึงจะวินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยทั้งสี่สมคบกันปิดบังพินัยกรรมดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และโอนทรัพย์มรดกที่พิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปได้ คดีเดิมกับคดีนี้ต่างมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ในระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 2 ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อในคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่าไม่มีพินัยกรรม ของผู้ตายฉบับที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์กลับนำคดีนี้มารื้อร้องฟ้องกันว่ามีพินัยกรรมฉบับดังกล่าวอีก ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีฟ้องที่ถูกต้องตามสถานะบิดา (มีชีวิต/เสียชีวิต) และสิทธิในการรับมรดก
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 188 (1)
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมถูกทำลายด้วยเหตุสุดวิสัย และสิทธิของทายาทถูกตัดสิทธิ
ผ.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกให้แก่จำเลยเพียงผู้เดียว โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. แต่โจทก์มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมดังกล่าว จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกของ ผ.
ผ.ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 94 วรคหนึ่ง (ก) และ (ข)
ผ.ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 94 วรคหนึ่ง (ก) และ (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย: สิทธิในการรับมรดกของผู้รับรองและทายาทลำดับถัดไป
ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับ อ.เจ้ามรดก อ. มิได้จดทะเบียนสมรสกับ พ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของ อ. ผู้ร้องนำสืบสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนของผู้ร้องในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญซึ่งมีข้อความระบุว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ อ. กับ พ. กับมีข้อความที่ อ. ได้บันทึกลงในช่องความเห็นผู้ปกครองแล้วลงลงชื่อกำกับไว้ทั้ง อ. เคยพาผู้ร้องไปให้พระภิกษุเปลี่ยนชื่อให้นอกจากนี้ในใบมอบตัวสำหรับนักเรียนเข้าใหม่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญก็มีข้อความระบุว่า อ. เป็นบิดาของผู้ร้องและมีลายมือชื่อของ อ. ลงไว้ในฐานะผู้ปกครองของผู้ร้องถือได้ว่า อ. ได้รับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตรของตนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองมีสิทธิมรดกเช่นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วจึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ 1ตามมาตรา 1629 หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับ บ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อออกโฉนดที่ดินกระทบสิทธิมรดก และการอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา
เมื่อ ท.ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่ดินส.ค.1ของท.ย่อมตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในทันที การที่จำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ส.ค.1 ดังกล่าวสูญหายไป แล้วไปคัดสำเนา ส.ค.1จากอำเภอและไปดำเนินการขอให้ออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าทนายโจทก์ไม่ป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีจึงสั่งให้ยกคำร้องและโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามนัด จึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้นมิใช่กรณีศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 คำสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา ผู้อุทธรณ์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรที่ศาลพิพากษาภายหลัง การเกิดสิทธิย้อนหลัง และอำนาจฟ้องของทายาทเดิม
คำสั่งศาลที่ว่าจำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ช. ผู้ตายมีผลทำให้ผู้ตายและจำเลยมีฐานะเป็นบิดาและบุตรชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) การที่จำเลยจะเกิดสิทธิรับมรดกของผู้ตายย้อนหลังไปถึงวันที่ผู้ตายถึงแก่กรรมหรือไม่ เป็นผลอันเกิดจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 หาได้มีผลมาจากคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ เมื่อไม่มีบทกฎหมายสารบัญญัติใดให้สิทธิฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าวว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้เช่นกรณีอื่น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในการรับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิมรดก: พฤติการณ์แสดงเจตนาชัดเจนถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้ามรดกอยู่กินกับมารดาโจทก์โดยไม่จดทะเบียนสมรส มารดาคลอดโจทก์เมื่อมาอยู่ที่บ้านอื่น แต่เจ้ามรดกก็ยังมาดูแลแจ้งการเกิดว่าโจทก์เป็นบุตร ให้โจทก์ใช้นามสกุล และให้ ค่าเลี้ยงดูศึกษาเล่าเรียน เป็นพฤติการณ์ที่เจ้ามรดกรับรองว่า โจทก์เป็นบุตร รับมรดกได้เหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกกรณีสมรสซ้อน: สุจริตของผู้สมรสย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ" ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ