คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิรับชำระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิในคดีล้มละลายภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 กำหนดให้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้แต่ดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามมูลแห่งหนี้และกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ คดีนี้ได้ความว่าเจ้าหนี้ยื่นความประสงค์ขอรับชำระหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิต่อคณะกรรมการดำเนินการแทนบริษัทลูกหนี้ ต่อมาคณะกรรมการ ปรส. ได้อนุญาตจัดสรรเงินบางส่วนชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้แล้วตามความเห็นของคณะกรรมดำเนินการแทนลูกหนี้ โดยการคำนวณยอดหนี้คงค้างในส่วนของดอกเบี้ยนั้น ปรส. ถือปฏิบัติตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 5 ว่า นับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มเติมในคดีล้มละลายซึ่งเป็นกระบวนการขอรับชำระหนี้ต่อเนื่องมาจากการได้รับเงินส่วนเฉลี่ยหนี้คืนจาก ปรส. เพียงเท่าจำนวนหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ค้างชำระก่อนวันที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีผลใช้บังคับเท่านั้น ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย และสิทธิการรับชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้ทราบถึงฐานะลูกหนี้
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน เพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งคำถามให้เจ้าหนี้ตอบเพียงเท่าที่ถามแล้วจดรายงานว่าเจ้าหนี้แถลงหมดพยานหลักฐานเพียงเท่านี้ ไม่ติดใจนำพยานอื่นมาให้สอบสวน หาได้หมายความว่าเจ้าหนี้ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์หรือเป็นพิรุธไม่ ในเมื่อเจ้าหนี้ได้เบิกความเป็นพยานและอ้างพยานเอกสารประกอบคำขอรับชำระหนี้ของตนไว้ มิใช่ว่าเจ้าหนี้ไม่มีพยานหลักฐานใดเลย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีข้อสงสัยในเรื่องหนี้สินหรือฐานะของเจ้าหนี้ที่อ้างว่าได้ฝากเงินไว้กับธนาคารต่าง ๆ นั้นจริงหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะกำหนดให้เจ้าหนี้นำหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมได้ เมื่อเจ้าหนี้ไม่นำพยานหลักฐานมาแสดงจึงจะถือว่าเจ้าหนี้มีพิรุธ แล้วจึงทำความเห็นเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ต่อไป เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการทีลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนี้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษี: คดีภาษีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล สิทธิในการรับชำระภาษียังไม่เกิดขึ้น
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชำระค่าภาษีจำเลยได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามประมวล รัษฎากรมาตรา 30(2) แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระค่าภาษีหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยของศาลเสียก่อน ดังนั้น ขณะที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าภาษีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และสิทธิในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะเป็นผลให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้นั้น ต้องเป็นการเพิกถอนตามมาตรา 115 คือเป็นเรื่องที่ลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น ซึ่งหมายถึงการโอนที่กระทำก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการโอนที่กระทำภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ดังนั้นหากมีการชำระหนี้ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การชำระหนี้นั้นก็เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับแม้เจ้าหนี้จะรับชำระหนี้ไว้ ก็ไม่ทำให้หนี้นั้นระงับไป เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้นั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 การที่เจ้าหนี้ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแม้ต่อมาศาลจะมคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้รายนี้เสียเมื่อการเพิกถอนไม่เกี่ยวกับปัญหาตามมาตรา 115 เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 92 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาหลังพิทักษ์ทรัพย์: มูลหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อนวันพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระ
แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งตัดสินหลังวันพิทักษ์ทรัพย์แต่คำพิพากษานั้นได้แสดงถึงมูลหนี้เดิมอยู่แล้วว่าเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือได้ว่าหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ขอรับชำระดังกล่าวมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2525)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติมหลังล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตามมาตรา 85 ทวิ และ 86 ด้วยนั้น เป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ แต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตามมาตรา 19, 20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วน และสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้ว ค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินชำระหนี้จำนอง และสิทธิการรับชำระหนี้ของผู้รับจำนองรายหลัง
จำเลยจำนองที่ดินมือเปล่าไว้แก่โจทก์แล้วออกโฉนดนำไปจำนองไว้แก่ผู้อื่น ต่อมาโอนที่รายนี้ให้แก่ผู้รับจำนองรายหลังเป็นการชำระหนี้ โจทก์ทราบจึงฟ้องบังคับจำนองและขอให้เพิกถอนการโอนตามขอ ดังนี้ แม้หนี้จำนองรายหลังหมดไป เมื่อจำเลยโอนที่ให้ก็จริง แต่เมื่อศาลพิพากษาเพิกถอนการโอนชำระหนี้เสียแล้ว การชำระหนี้ก็เป็นอันไร้ผล ผู้รับจำนองรายหลังจึงมีสิทธิร้องขอรับชำระหนี้จำนองของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10957/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์หลังยึดทรัพย์ชำระหนี้: ศาลพิจารณาจากทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีจริงและสิทธิในการรับชำระหนี้
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความแล้วจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าผู้ร้องแถลงว่า จำเลยมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ส่วนโจทก์แถลงว่า จำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถยึดทรัพย์มาชำระหนี้ได้ ปรากฏตามคำแถลงบัญชีรายละเอียดที่โจทก์ได้ยื่นประกอบคำคัดค้านไว้ เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของฝ่ายจำเลย ประกอบด้วยสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและภาพถ่ายอาคารจำนวนมาก ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความและนำรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมดในเอกสารมาประกอบการพิจารณาแล้ววินิจฉัยทำคำสั่งไปนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการไต่สวนแล้ว มิใช่แต่เฉพาะว่าการสืบพยานบุคคลเท่านั้นที่จะเป็นการไต่สวน และหากจะให้คู่ความนำพยานเข้าไต่สวนก็จะไม่ได้ข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากการสอบถามของศาลดังกล่าว และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งเปลี่ยนไป ศาลชั้นต้นจึงย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้มารับฟังประกอบดุลพินิจทำคำสั่งได้ตามที่เห็นสมควรโดยไม่จำต้องสืบพยาน