คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิรับประโยชน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงในสัญญาประนีประนอมยอมความ และสิทธิของบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์
เจ้ามรดกมีบุตร 5 คนคือโจทก์ทั้งสอง จำเลย ว.และพ. ผู้ร้องสอดเป็นภรรยาของ พ.ไม่มีบุตรด้วยกัน พ. ตายก่อนเจ้ามรดก เจ้ามรดกตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองเคยฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดก ผลที่สุดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆ กัน ให้โจทก์ทั้งสอง ว.พ. และจำเลยคนละส่วนตามคดีแดงที่ 239/2515 ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์และจำเลยย่อมรู้อยู่แล้วว่า พ. ตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว ยังยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ พ. มีส่วนในที่พิพาท 1 ส่วนใน 5 ส่วน จึงแสดงว่าต่างมีเจตนาอันแท้จริงที่จะมอบที่ดินส่วนนี้ให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. หาใช่มอบให้แก่ พ. ซึ่งตายไปแล้วไม่ ทั้งนี้เป็นการตีความในสัญญาโดยเพ็งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 132
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้นั้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาจะรับเอาทรัพย์ส่วนนี้โดยร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว ตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิของผู้ร้องสอดได้เกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินี้ของผู้ร้องสอดมิได้ ตามมาตรา 375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่สัญญาและบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ได้ แม้มีข้อจำกัดสิทธิในการครอบครอง
สามีภริยาทำหนังสือขึ้นฉะบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อระงับข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวน+ไม่ให้ต้องเป็นความกันใน+ศาล โดยตกลงโอนกรรมสิทธิสวนแปลง+ให้บุตรคน ๆ ละส่วนนับแต่วันทำสัญญาแม้จะมีข้อความ+ให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้ต่อเมื่อสามีภริยาตายแล้วทั้งสอง คน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา + และเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงจะชำระหนี้แก่บุตร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากคู่สัญญาได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 374 วรรคต้น และ+บุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้แล้ว สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรค 2 บุตร+ฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญา+ได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลย ขอแบ่งทรัพย์ตามเอกสารฉบับหนึ่ง+ว่าเป็นพินัยกรรม์ ศาลพิพากษายกฟ้องว่า ไม่ใช่พินัยกรรมคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ตามสัญญาเอกสารฉะบับเดียวกันนั้น อ้างว่าเป็นสัญญาประนีประนอมของบุคคลอื่นที่ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11837-11838/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีสูญหายจากการทำงาน และอำนาจฟ้องของผู้รับผลประโยชน์ รวมถึงการคำนวณค่าทดแทน
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างคือ (3) บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบ 18 ปี แต่ยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีให้ได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ (4) บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี และทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย เป็นบทบัญญัติที่ถือเอาอายุ การศึกษา และความทุพพลภาพเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน โดยไม่ได้บัญญัติว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (3) (4) จึงต้องถือเอาความเป็นบุตรตามความเป็นจริง