คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิรับเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืน หากไม่เรียกรับภายใน 5 ปี เงินดังกล่าวจะตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาตโดยสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ไป แต่ตราบใดที่โจทก์มิได้นำเช็คไปเรียกเก็บจากธนาคาร เงินดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล ถ้าโจทก์มิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตเงินดังกล่าวย่อมตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์ประกันสังคม: 'บุตร' ตาม พ.ร.บ. ไม่จำกัดเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร แต่มีการบัญญัติถึงบุตรไว้สองแบบ กล่าวคือ ตามมาตรา 73 (2) เกี่ยวกับเงินสงเคราะห์ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ใช้คำว่า "บุตร" ส่วนมาตรา 75 ตรี และมาตรา 77 จัตวา (1) ใช้คำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย" เมื่อใช้คำต่างกันในกฎหมายเดียวกันเช่นนี้ แสดงว่าประสงค์จะให้ความหมายของคำว่า "บุตร" แตกต่างไปจากคำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย" เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่นที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งนี้ โดยมุ่งหมายให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ซึ่งลูกจ้างผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และเมื่อพิจารณาถึงเงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามมาตรา 73 (2) (ก) และ (ข) ก็คือเงินสมทบส่วนหนึ่งที่ผู้ประกันตนได้ส่งไว้แล้ว กฎหมายจึงบัญญัติให้เฉลี่ยจ่ายแก่สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน จึงเห็นได้ว่าตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 (2) จึงมิได้หมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. เท่านั้น แต่รวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสิบสามเป็นบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสิบสามจึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6438/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ระยะเวลา 5 ปีในการเรียกรับเงินที่วางศาล มิได้นับจากวันที่ทราบ
เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษานั้น ย่อมเป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวจะต้องเรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลอันเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินนั้นได้เพราะคดีถึงที่สุดแล้ว หาใช่นับจากวันที่ที่โจทก์ได้รู้ว่ามีการวางเงินไม่ โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้นำเงินมาวางศาลเมื่อใดไม่ได้ เมื่อโจทก์มิได้เรียกเอาเงินดังกล่าวภายใน 5 ปี เงินจำนวนนี้จึงตกเป็นของแผ่นดิน และโจทก์เป็นอันสิ้นสิทธิที่จะขอรับไป แม้เงินจำนวนดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้ที่ศาลชั้นต้นก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอรับเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7854/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย: การครอบครองเช็คและสิทธิรับเงิน
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาท เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะระบุชื่อ ช.เป็นผู้รับเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังการที่ ช.นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเงินฝากของ ช.เพื่อเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีบัญชีเงินฝาก เป็นการที่ ช.ยึดถือเช็คพิพาทแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาทไว้ในครอบครองโดยโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามเช็คพิพาท โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 904

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.บำนาญกลับรับราชการใหม่ สิทธิรับเงินบำนาญ/ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลง การแจ้งข้อมูลสำคัญต่อหน่วยงาน
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2500 มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า "ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้ว ภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือน รวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิมต้องลดบำนาญลงในระหว่าง ที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญ ไม่สูงกว่าเดือนเดิม" ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับเงินเดือน ในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิม เมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือน ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน 290 บาท สำหรับเงินช่วย ค่าครองชีพข้าราชการบำนาญจำนวน 63,460 บาท ที่จำเลยรับไป จากโจทก์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2533 นั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2514 จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญพ.ศ. 2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2523 และเป็น หน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับ เข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มและเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6624/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืน: กรณีทางภารจำยอม vs. ทางจำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ส. ฟ้องคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องมีข้อความชัดแจ้งว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. มอบอำนาจให้ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าทดแทนให้ คำฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของช. โจทก์หาได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(6) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้นหมายถึง บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นไปสู่ทางสาธารณะ เพราะที่ดินของบุคคลนั้นมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะหรือที่เรียกว่าทางจำเป็น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349และเฉพาะกรณีที่บุคคลผู้เสียสิทธิการใช้ทางได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งได้ถูกเวนคืนเท่านั้นมิได้หมายความถึงบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ถึงมาตรา 1401 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของ ช.จะถูกเวนคืนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียสิทธิ ในการใช้ทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว ไม่ว่า จำเลยทั้งสองจะได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้ทาง ภารจำยอม นั้นหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินผ่านตัวแทน vs. นายหน้า: สิทธิในการรับเงินส่วนเกิน
เมื่อตามหนังสือสัญญาการซื้อขายและสัญญายินยอมกับหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ มิได้มีข้อความระบุไว้แต่อย่างใดว่า จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้า โดยจะยกเงินส่วนที่เหลือเป็นค่าบำเหน็จในการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าว แต่ในสัญญาสองฉบับข้างต้นกลับเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำการแทนบริษัท ท. ซึ่งโจทก์ในฐานะกรรมการคนหนึ่งของบริษัท ท. ดำเนินการเป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยให้แก่บริษัท ท.ดังนั้น หากมีเงินส่วนที่เหลือที่จำเลยจะต้องคืน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิรับไว้เนื่องจากเงินดังกล่าว โจทก์ได้มาในฐานะที่ทำการแทนตัวการเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7900/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและการโต้แย้งสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอด การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่จำเลยจดทะเบียนสมรสซ้อนกับ บ. สามีโจทก์ เป็นการสมรสซ้อนต้องห้ามตามกฎหมายและจำเลยไปขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของ บ.อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มิได้รับเงินนั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของ บ.เท่านั้นทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสและอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่น โดยโจทก์มิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู บ. แต่อย่างใด และต่างฝ่ายต่างทิ้งร้างกันไปมีคู่สมรสใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์ยังมิได้หย่าขาดจาก บ. การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งออกจากงานเนื่องจากมีมลทิน - สิทธิรับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบ
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกหรือปลดออกจากงาน จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำของโจทก์ ทางสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังว่า โจทก์กระทำผิดวินัยที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินมัวหมอง และมีพฤติการณ์อันไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ หากจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 ข้อ 34 (3) และให้ถือว่าออกจากงานเพราะกระทำผิด ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกัน แต่เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงานเอกสารหมาย ล.7 ข้อ 36 มีข้อความว่า"พนักงานผู้ใดต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34 ซึ่งไม่ใช่เป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะการกระทำผิดมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" และข้อ 34 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกันมีข้อความว่า"การสั่งให้พนักงานผู้ใด พ้นจากตำแหน่งหน้าที่โดยการให้ออกให้พิจารณาโดยเหตุดังนี้"... (3) มีข้อความว่า "พนักงานผู้นั้นต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและการสอบสวนไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่าได้กระทำผิดที่จะถูกไล่ออกหรือปลดออกแต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจ ซึ่งจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" ดังนี้ ผลการสอบสวนที่สรุปว่าจำเลยไม่มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหาที่จะต้องมีโทษถูกไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจฯ ซึ่งต้องด้วยข้อบังคับฉบับดังกล่าวข้อ 34 (3) นั้น ซึ่งตามเนื้อหาแล้วไม่ได้เป็นการระบุว่าโจทก์กระทำผิดวินัยในข้อใด แต่เป็นเรื่องที่ตามทางสอบสวนปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยจะอาศัยข้อบังคับฉบับดังกล่าวสั่งให้โจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะกระทำผิดยังไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยให้ถือว่าได้กระทำผิด จึงเป็นเรื่องเกินเลยไปจากที่ข้อบังคับกำหนดไว้ โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินวางศาลเพื่ออุทธรณ์ไม่ใช่การชำระหนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิรับเงิน
การที่จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่เป็นการชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวไป
of 4