คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลาพักร้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมและการคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนตามส่วน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533ครบ 1 ปี ในวันที่ 30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปีแต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้น ดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา 8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด 6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนและการใช้ดุลพินิจลงโทษ: ศาลแรงงานวินิจฉัยการใช้สิทธิลาพักร้อนเกินกำหนดและดุลพินิจในการลงโทษ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยไม่สืบพยานว่า ตามกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2 เพียงว่าหากศาลวินิจฉัยว่า พนักงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเริ่มทำงานในปีที่ 2 โดยมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 6 วัน การที่ผู้คัดค้านยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีในวันที่ 15 และวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 และหยุดงานไปในวันดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนด ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และขาดงานเท่านั้น หาได้มีข้อตกลงหรือคำท้าว่า หากศาลวินิจฉัยความหมายของกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีข้อที่ 2 เป็นไปตามความหมายที่ผู้ร้องอ้างแล้ว ผู้คัดค้านจะต้องถูกลงโทษตามที่ผู้ร้องได้ร้องขอด้วยไม่ ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานพิจารณากฎระเบียบดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนดเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำท้าครบถ้วนแล้ว หาใช่วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำท้า
ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงแต่ตักเตือนเป็นหนังสืออย่างเดียว โดยไม่อนุญาตให้ลงโทษปรับลดผู้คัดค้านมาเป็นพนักงานรายวัน เพราะเห็นว่าการที่ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องดังกล่าวก็โดยเข้าใจว่าสิทธิในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้คัดค้านยังเหลืออยู่ มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่หรือขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันควร อันเป็นการใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ ซึ่งศาลแรงงานชอบที่จะกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าเมื่อพนักงานของจำเลยผู้ใดทำงานครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจึงจะมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แต่ละปีตามจำนวนวันที่กำหนดไว้และเมื่อมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้แล้วหากลาออกจากงานหรือมีการเลิกจ้างจำเลยก็จะจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้ซึ่งจะกระทำในกรณีจำเป็นและต้องได้รับอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยก่อนแต่กรณีของโจทก์ทั้งสองปรากฏว่ายังทำงานไม่ครบหนึ่งปีไม่มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่มีกรณีที่กรรมการผู้จัดการของจำเลยจะอนุมัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ได้แม้ตามเอกสารที่จำเลยทำขึ้นจะมีข้อความว่าจำเลยได้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ก็ตามจำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์นั้นความจริงแล้วเป็นการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ไม่เพราะกรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างนั้นกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน.