พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: ไม่ต้องแจ้งเจ้าหนี้, สิทธิสมบูรณ์เมื่อแจ้งลูกหนี้, การพิสูจน์เจตนาทุจริต
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 คงบังคับแต่เพียงให้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือให้ลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องแจ้งแก่เจ้าหนี้หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ ดังนั้น เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบแล้วแม้มิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ ก็สมบูรณ์และใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ หากไม่แจ้งสิทธิจะยังไม่สมบูรณ์
บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโจทก์ครอบครองสืบสิทธิต่อจากบิดาในฐานะผู้อาศัย เจ้าของที่ดินได้ขอออกโฉนดและโอนกรรมสิทธิ์ต่อมาจนถึงจำเลยซึ่งยังคงปล่อยให้โจทก์อยู่ต่อมา เป็นเรื่องของการให้อยู่อาศัยในฐานะเป็นญาติตามที่เคยเป็นมาสมัยบิดาโจทก์ ตราบใดที่โจทก์ไม่บอกกล่าวไปยังเจ้าของที่พิพาทว่าไม่ยึดถือที่พิพาทแทนผู้เป็นเจ้าของอีกต่อไป โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่พิพาทยันจำเลยไม่ได้ที่พิพาทไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาเช่าซื้อและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิสมบูรณ์ของผู้รับโอน
เดิม ธ. ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 2 ต่อมา ธ. ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินดังกล่าวให้แก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 จนครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนี้หนี้ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่มีมูลมาจากการเช่าซื้อที่ดินซึ่งเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจาก ธ. ผู้เช่าซื้อเดิม อันเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 และเจ้าหนี้ เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อนี้มาโดยชอบตามมาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการโอนสิทธิเรียกร้องก็ทำโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรา 306 โดย ธ. ผู้โอนได้บันทึกการโอนสิทธิเป็นหนังสือ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธินั้นได้บันทึกยินยอมไว้เป็น หนังสือในสัญญาเช่าซื้อโดยแจ้งชัด เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิสมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยชอบ และกรณีไม่จำต้องมีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อกัน ใหม่ระหว่างเจ้าหนี้ผู้รับโอนกับจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้ออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย มิฉะนั้นสิทธิยังไม่สมบูรณ์
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) นั้น อาจทำได้โดยสมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ซึ่งเป็นการทำตามแบบของกฎหมายประการหนึ่ง กับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377, 1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบอีกประการหนึ่ง แม้โจทก์จะมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาท และผู้ขายทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนกับมอบหลักฐานเกี่ยวกับภาษีบำรุงท้องที่ทุกฉบับให้โจทก์ไว้ก็ตามเมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาท โจทก์จึงยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่พิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินรัฐจัดสรรยังไม่เป็นสิทธิสมบูรณ์ โจทก์ซื้อต่อไม่มีสิทธิฟ้องบุกรุก
ที่ดินของรัฐซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(1) แม้ทางราชการจะนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกินจ. เป็นผู้จับสลากได้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20(6),27,33 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแต่จะยังมิได้รับใบจอง เพียงแต่นำหลักไปปักเป็นเขตไว้โดยมิได้ทำประโยชน์อะไร จ. หาได้ที่ดินเป็นสิทธิของตนโดยสมบูรณ์ไม่ ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นที่ดินของรัฐและอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งให้ จ. ออกจากที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 32 ได้ จ. ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ได้รับโอนไว้และครอบครองมาโจทก์ก็หาเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และสิทธิของบุคคลภายนอก
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ว. ได้มาขณะที่ ว. มีโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นสินสมรสที่สามีภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือจัดการโดยได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมีการขายฝากที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) แต่ปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในฐานะผู้ให้ความยินยอมไปทำนิติกรรมขายฝาก จึงเป็นการทำนิติกรรมที่ ว. ทำไปลำพังฝ่ายเดียว เป็นนิติกรรมไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีผลให้คู่สมรสที่ไม่ให้ความยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอนได้ เว้นแต่นิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง แต่กฎหมายมิได้บัญญัติว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ดังนั้นตราบใดที่สัญญาขายฝากที่ดินยังไม่ถูกศาลเพิกถอน บุคคลภายนอกที่เป็นคู่สัญญาย่อมมีสิทธิสมบูรณ์ในที่ดิน