คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิสมัคร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนหนังสือรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง สิทธิสมัครของผู้ถูกเพิกถอน
ผู้ที่จะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107(4) และผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องยื่นหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งผู้สมัครสมาชิกผู้นั้นเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 31 วรรคสอง อีกด้วย เมื่อได้รับใบสมัครแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัครคุณสมบัติของผู้สมัครและสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัครตามความในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ ดังกล่าวดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นใบสมัครพร้อมกับหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ในระหว่างระยะเวลาการตรวจสอบหลักฐานการสมัคร ปรากฏว่าหัวหน้าพรรคดังกล่าวยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองจึงต้องถือว่าการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องขาดหลักฐานหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมือง มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่อาจสมัครในนามของพรรคการเมืองดังกล่าวได้ การที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 20 วรรคสอง ดังนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจที่จะออกหนังสือและยืนยันการบอกเลิกหนังสือรับรองที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้พร้อมกับใบสมัครได้ ส่วนการที่ผู้ร้องอ้างว่าหนังสือยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยข้อกำหนดของพรรคการเมืองนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะสมาชิกของพรรคการเมืองได้ดำเนินการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 47 วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แต่ประการใด คำร้องของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น
คดีร้องขอให้รับสมัครเลือกตั้งและประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง: การแจ้งเหตุและการประกาศรายชื่อ
ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเหตุเครื่องบินโดยสารล่าช้าผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่อาจแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งภายหลังจากวันเลือกตั้งตามกฎหมายได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องในประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ผู้ร้องแจ้งเหตุขัดข้องหน้าที่ของผู้ร้องในการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงยังไม่เกิดขึ้นจะถือว่าผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ ผู้ร้องไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แม้ไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ถือเป็นเหตุเสียสิทธิ
แม้ไม่มีชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.11) ก็หาทำให้สิทธิตามกฎหมายของผู้ร้องที่มีอยู่สูญสิ้นไปไม่ ดังนั้นในวันเลือกตั้งเมื่อผู้ร้องไปขอใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 วรรคหนึ่งได้ โดยมิใช่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ร้อง ทั้งหลังวันเลือกตั้งผู้ร้องจะไปแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการรับแจ้งได้ เพราะไม่มีชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ (ส.ว.31) และในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิฯ (ส.ว.32) ดังนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ที่ถูกละเลยการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
แม้ในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่มีชื่อผู้ร้อง ก็หาทำให้สิทธิตามกฎหมายของผู้ร้องที่มีอยู่สูญสิ้นไปแต่อย่างใดไม่ แต่เมื่อผู้ร้องจะไปแจ้งเหตุที่ตนไม่อาจใช้สิทธิเลือกตั้งได้ คณะกรรมการเลือกตั้งไม่อาจดำเนินการรับแจ้งได้ เพราะไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ และในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิฯ ดังนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จะเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครผู้ใหญ่บ้าน: การพิจารณาภูมิลำเนาและคุณสมบัติของผู้สมัครตามกฎหมายปกครองท้องที่
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ.2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 5 ข้อ 7ข้อ 8 และข้อ 9 ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่า ก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน...แล้วประกาศให้ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน... แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตาม แต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 12 (3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้อง เพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้างข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลยกระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่... แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน การประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนน ฯลฯที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุมดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 25 ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ ข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ(ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7ตำบลโคกปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัด-สระแก้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532 แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบ ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของงานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนา และโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำไปตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการไปทำงานเพียงชั่วคราวก็ตาม อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 12 (3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน: การพิจารณาภูมิลำเนาต่อเนื่อง แม้ทำงานต่างประเทศ
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่าก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้านให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วประกาศให้ ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตามแต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้ โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้องเพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือก ผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้าง ข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลย กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วง อำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดย มิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่ แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านการประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนนที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุม ดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯพ.ศ. 2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 25ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7ตำบลโคกบีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1หมู่ที่ 7 ตำบลโคบปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วบ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนาและโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องถิ่นที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการทำงานเพียงชั่วคราว อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8882-8883/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการเลือกตั้งสหภาพแรงงาน: การไม่รับสมัครไม่กระทบกระบวนการเลือกตั้งโดยรวม
ตามระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2555 แบ่งการดำเนินการเลือกตั้งออกเป็นสองขั้นตอน คือขั้นตอนก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกับขั้นตอนตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจนประกาศผลการเลือกตั้ง กล่าวคือขั้นตอนก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกำหนดไว้ในหมวดที่ 2 คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หมวดที่ 3 การยื่นใบสมัครรับการเลือกตั้ง และหมวดที่ 4 หลักฐานการสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนขั้นตอนตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจนประกาศผลการเลือกตั้งกำหนดไว้ในหมวดที่ 5 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หมวดที่ 6 การนับคะแนนและการเปิดหีบบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และหมวดที่ 7 ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าขั้นตอนก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือขั้นตอนการรับสมัครเลือกตั้งนั่นเอง ซึ่งขั้นตอนนี้หากคณะกรรมการการเลือกตั้งของจำเลยไม่รับสมัครบุคคลใดก็ย่อมกระทบสิทธิเฉพาะบุคคลนั้นและผู้ถูกกระทบสิทธิอาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรับสมัครตนได้เพื่อจะได้เข้าสู่กระบวนการลงคะแนนต่อไป แต่การไม่รับสมัครเลือกตั้งหาได้กระทบถึงขั้นตอนกระบวนการตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจนประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้การไม่รับสมัครโจทก์ทั้งสองจะเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับและระเบียบของจำเลย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าขั้นตอนกระบวนการตั้งแต่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจนประกาศผลการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2555 หรือกฎหมาย จึงหามีผลให้การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยชุดที่ 5 ปี 2555 ถึงปี 2558 ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย ส่วนการที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทั้งสองก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองอย่างไร โจทก์ทั้งสองชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง