พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องทางภาระจำยอมโดยอายุความ: สิทธิสุจริตและประเด็นค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิม แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 10 แปลง และปลูกสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์เพื่อขายให้บุคคลทั่วไป โดยเว้นที่ดินแปลงพิพาทไว้ 1 แปลง สละให้เป็นถนนเชื่อมกับถนนของตลาดสด และศูนย์การค้า ออกสู่ถนน ผู้ซื้ออาคารพาณิชย์และบุคคลทั่วไปใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางสัญจรติดต่อกันมาประมาณ 22 ปี โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้ง โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ที่แบ่งแยกมาจากที่ดินเดิมเมื่อปี 2527 และใช้ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโจทก์เป็นทางสัญจรตลอดมา โดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางสัญจร ติดต่อกันมาเป็นเวลา 12 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงของโจทก์โดยอายุความ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่า ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางสัญจรโดยการเดินเท้าหรือใช้รถยนต์ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่าแผงสินค้าที่ตั้งอยู่บนที่พิพาทก็เป็นเพราะแผงดังกล่าวตั้งอยู่หน้าที่ดินของโจทก์ และหากผู้เช่าแผงขายสินค้าใช้น้ำประปาและไฟฟ้าจากอาคารพาณิชย์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้เช่าแผงขายสินค้าได้ เพราะโจทก์ต้องนำไปชำระให้แก่การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคดังกล่าว สิทธิของโจทก์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ หรือเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
การที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่าแผงสินค้าที่ตั้งอยู่บนที่พิพาทก็เป็นเพราะแผงดังกล่าวตั้งอยู่หน้าที่ดินของโจทก์ และหากผู้เช่าแผงขายสินค้าใช้น้ำประปาและไฟฟ้าจากอาคารพาณิชย์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้เช่าแผงขายสินค้าได้ เพราะโจทก์ต้องนำไปชำระให้แก่การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคดังกล่าว สิทธิของโจทก์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ หรือเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs. การครอบครองปรปักษ์: สิทธิผู้ซื้อที่สุจริตได้รับการคุ้มครอง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่าการกระทำโดยสุจริต คดีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1330 ซึ่งบัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้นท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลาย" ดังนั้น การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงต้องแสดงให้เห็นอำนาจพิเศษที่ดีกว่าอำนาจหรือสิทธิของโจทก์ ทั้งการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการได้สิทธิมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม และยังมิได้จดทะเบียนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ก็มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เมื่อคำร้องของผู้ร้องคงกล่าวบรรยายเพียงว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินและบ้านมาตั้งแต่ปี 2522 และได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยมิได้กล่าวบรรยายมาในคำร้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตหรือไม่ ต้องฟังว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติมาตรา 6 ดังนั้น แม้ศาลจะทำการไต่สวนและฟังว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ตามคำร้องของผู้ร้อง ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องชนะคดีได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ได้ทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและผลผูกพันจากคำพิพากษาเดิม การใช้สิทธิโดยสุจริต
คดีก่อน บ. เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 คนก่อนได้ฟ้อง ข. เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 คนก่อน ให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นออกจากทางพิพาทกับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของ บ. ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยกระทำขึ้นใหม่ภายหลังจากมีคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดังกล่าวแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ของโจทก์ ดังนั้นเหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่ บ. ฟ้อง ข. ในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อน บ. ก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้ว แม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 จาก บ. โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็น ทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิดังที่จำเลยฎีกาไม่ จำเลยหาอาจอ้างว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่ เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกัน แต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ เป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย
แม้ทางพิพาทจะเกิดจากข้อตกลงระหว่าง พ. กับ บ. ที่ตกลงให้กันที่ดินของแต่ละฝ่ายไว้เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เมื่อ บ. และผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 จาก บ. ตลอดมาจนถึงโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ก็ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความได้เช่นกัน
คำว่า ภาระจำยอมหมดประโยชน์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้น ก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่สาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จำเลยก็ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 ซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่ บ. กันไว้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตามที่ตกลงกับ พ. แต่ที่ดินแปลงนี้อยู่ด้านในไม่เป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยที่จะออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม ที่ พ. ทำข้อตกลงกับ บ. ให้ บ. กันที่ดินของ บ. ดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของ พ. แปลงอื่นซึ่งอยู่ด้านในเท่านั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็น ทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิดังที่จำเลยฎีกาไม่ จำเลยหาอาจอ้างว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่ เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกัน แต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ เป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย
แม้ทางพิพาทจะเกิดจากข้อตกลงระหว่าง พ. กับ บ. ที่ตกลงให้กันที่ดินของแต่ละฝ่ายไว้เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เมื่อ บ. และผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 จาก บ. ตลอดมาจนถึงโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ก็ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความได้เช่นกัน
คำว่า ภาระจำยอมหมดประโยชน์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้น ก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่สาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จำเลยก็ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 ซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่ บ. กันไว้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตามที่ตกลงกับ พ. แต่ที่ดินแปลงนี้อยู่ด้านในไม่เป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยที่จะออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม ที่ พ. ทำข้อตกลงกับ บ. ให้ บ. กันที่ดินของ บ. ดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของ พ. แปลงอื่นซึ่งอยู่ด้านในเท่านั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินจัดสรรช่วงห้ามโอน และสิทธิจำนองของผู้รับจำนองสุจริต
จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีแทนตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 มิใช่ใบมอบอำนาจ ที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 ศาลจึงรับฟังตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ว่า พ. มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2
โจทก์ และ ส. บิดาจำเลยที่ 1 ต่างเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยที่ 2 ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 และนำหนังสืออนุญาตให้ ส. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทประเภท กสน. 5 ไปขอออก น.ส. 3 ก. แล้วทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 ได้รับ น.ส. 3 ก. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินจัดสรรของนิคมสหกรณ์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน แม้โจทก์จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ก็ถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินพิพาท ทั้งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
โจทก์ และ ส. บิดาจำเลยที่ 1 ต่างเป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยที่ 2 ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 และนำหนังสืออนุญาตให้ ส. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทประเภท กสน. 5 ไปขอออก น.ส. 3 ก. แล้วทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 ได้รับ น.ส. 3 ก. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินจัดสรรของนิคมสหกรณ์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน แม้โจทก์จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ก็ถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินพิพาท ทั้งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรและการใช้สิทธิของเจ้าพนักงานศุลกากรโดยสุจริต แม้ตรวจสอบล่าช้า
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสองครั้ง และได้แสดงความประสงค์ขอคืนภาษีอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้นำของที่นำเข้ามา ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว เมื่อโจทก์ที่ 1 ตรวจพบจึงได้ประเมินราคาสินค้าและแจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ ถึงแม้ว่าโจทก์ทั้งสองจะใช้เวลาตรวจสอบเนิ่นนานไป ในกรณีนี้ก็ยังไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิผู้รับจำนองสุจริต: การบรรยายข้อโต้แย้งในคำร้องขอ
สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนรถเช่าซื้อของกลาง: สิทธิเจ้าของแท้จริง ผู้เช่าซื้อกระทำผิด ไม่ถือเป็นการสนับสนุนความผิดหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
พ. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องยื่นเอกสารต่อรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ แม้ในเอกสารจะมีข้อความว่าขอท่านได้โปรดมีคำสั่งคืนรถจักรยานยนต์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาให้แก่ผู้ร้องด้วย การยื่นเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นการขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 แต่อย่างใดไม่ นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวผู้ร้องได้ยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาเป็นของผู้ร้องผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยืนยันถึงสิทธิของผู้ร้องในรถจักรยานยนต์ของกลาง และแม้จะได้ความว่าหลังจากทราบว่าได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำผิดแล้วผู้ร้องยังรับชำระค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้ออีก 4 งวดและเพิ่งจะมาบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 พฤติการณ์ดังกล่าวก็ยังไม่มีเหตุที่จะฟังว่าผู้ร้องขอคืนรถของกลางเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่ประการใดไม่ การที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้ร้องได้มอบรถจักรยานยนต์ไปโดยยังไม่ได้จดทะเบียนโอนเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดกฎหมายและหากมีผู้นำรถจักรยานยนต์ไปกระทำความผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ฎีกาของโจทก์ไม่ถือว่าพฤติการณ์ของผู้ร้องเช่นนี้ เป็นการขอคืนของกลางที่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น เพราะเป็นการคาดการณ์ที่ไกลเกินเหตุเนื่องจากในเรื่องเช่าซื้อรถจักรยานยนต์นี้เมื่อมีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือตลอดจนมีการค้ำประกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อก็จะส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อไป เป็นกรณีที่ปฏิบัติกันเป็นปกติธรรมดาโดยทั่วไป หาใช่เป็นการผิดธรรมดาวิสัยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ & สิทธิสุจริตผู้ซื้อ: เมื่อฝ่ายจำเลยอ้างการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่สุจริต จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
คดีไม่มีการชี้สองสถาน แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้ฝ่ายโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วไม่มีฝ่ายใดสืบพยาน การที่ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดีก็จะต้องถือหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ขณะโจทก์ใช้ชื่อว่า ส.ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยและบริวารเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยมิชอบจำเลยให้การตอนแรกว่า โจทก์ในขณะนั้นจะใช้ชื่อว่า ส. และจะได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพิพาทหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องนำสืบในเรื่องชื่อของโจทก์
ที่จำเลยให้การต่อมาว่า โจทก์ได้สมคบกับ ร.และ ป.ฉ้อโกงจำเลย โดย ร.ผู้ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่ ป. และ ป.ได้โอนให้โจทก์โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำไว้กับ ร. ดังนี้คำให้การของจำเลยในตอนต่อมานอกจากจะถือว่ารับข้อเท็จจริงในเรื่องชื่อของโจทก์แล้ว ยังถือว่ารับข้อเท็จจริงต่อไปว่าโจทก์คดีนี้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอีกด้วย แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ว่าโจทก์สมคบกับร.และ ป.โอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทเป็นของโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้แก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริต จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างของจำเลย เมื่อคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน และศาลมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขอเลื่อนคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าศาลไม่รับบัญชีพยานโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบต่อไปทั้งหมด และให้นัดสืบพยานจำเลย แต่จำเลยกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพิพาทโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยมีผู้ใหญ่บ้านไกล่เกลี่ย ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ หากเป็นการใช้สิทธิสุจริต
ป.เป็นผู้ใหญ่บ้านที่จำเลยขอให้ช่วยสืบหาคนร้ายที่ลักกระบือของตน เมื่อ ป.นัดผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกบ้านให้มาเจรจากับจำเลย ย่อมมีมูลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นคนร้าย การที่จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่ากระบือที่ถูกลักเอาไปเพื่อที่จะไม่ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหาย โดยมี ป.ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายผู้เสียหายเป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้จนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยตามที่ ป.พูดไกล่เกลี่ยเป็นการใช้สิทธิของตนโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชคทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการซื้อขายโดยสุจริตและจดทะเบียน: การคุ้มครองบุคคลภายนอก
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทเป็นเวลากว่า 10 ปีด้วยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่สิทธิของจำเลยยังมิได้มีการจดทะเบียน จึงต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก อ. โดยสุจริตและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทไว้จาก อ. โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่และการที่ศาลกำหนดประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยนั้นย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาที่ว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ด้วย