พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนเพื่อเรียกร้องค่าจ้างและการป้องกันสิทธิส่วนตน ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์ร่วมเป็นคู่สัญญากับกรมสรรพสามิตในการรับเหมาก่อสร้างโรงงานต้มกลั่นสุรา และในการนี้ได้จ้างเหมาจำเลยให้ทำประตูเหล็กยึดและบังตาหน้าต่างเหล็กของโรงงานนี้อีกทอดหนึ่ง แต่แล้วกลับบิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างเหมาให้แก่จำเลย ดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยยังมิได้รับเงินรายนี้ ซึ่งมีข้อความหาว่าโจทก์ร่วมกระทำการโดยไม่สุจริตเพื่อระงับข้อพิพาท กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม อันไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณและสินสมรส โดยผู้ให้มีสิทธิถอนคืนเฉพาะส่วนของตน
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ซึ่งถือว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 1475 แต่ถึงแม้โจทก์จะมิได้ร้องขอดังกล่าว แต่การจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามมาตรา 1476 (1) ถึง (8) ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ ฉ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยโจทก์ให้ความยินยอม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้ตามมาตรา 521 ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้ได้
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของตน
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของตน