พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179-180/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นไม่ชอบตามข้อบังคับบริษัท ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ขณะที่มีการโอนหุ้นจำเลยที่ 1 มีกรรมการ 5 คน และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1ระบุว่า การประชุมกรรมการจะต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้ ดังนั้น การที่กรรมการของจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ลงชื่ออนุมัติในการโอนหุ้นย่อมถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในการโอนหุ้นเมื่อการที่จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3ได้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และย่อมส่งผลให้การประชุมและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ในครั้งดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ไปด้วยชอบที่จะให้เพิกถอนมติที่ประชุมของจำเลยที่ 1 นั้นเสีย
ข้อฎีกาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อฎีกาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงจะมีผลทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งไม่มีสิทธิออกเสียง
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงของเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนดการที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดีมิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุม, มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน, การถอนฟ้องคดีไม่ขัดต่อคำพิพากษา
คดีล้มละลาย หนี้จำพวกที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วก่อนวันประชุมเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่มาประชุมคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ต้องสั่งบั่นทอนในการออกเสียงของเจ้าหนี้นั้น และถือว่าเป็นการออกเสียงที่มีผลตามกฎหมายเมื่อจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ฝ่ายที่ลงมติฝ่ายนี้มีมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องถือว่ามติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากนี้เป็นมติของที่ประชุมด้วย
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12452/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกลงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในสัญญาอนุญาตใช้สิทธิฯ การใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น
แม้ในการตกลงกันตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 และ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมด้วยกับข้อตกลงในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้ด้วย และบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความระบุว่า เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ยอมรับในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำการแทนและมีผลผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ และบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนั้นมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โดยไม่มีตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ประทับไว้ดังเช่นในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการทำบันทึกข้อตกลงของจำเลยที่ 2 ในภายหลัง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น บันทึกข้อตกลงจึงไม่มีผลผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ร่วมตกลงด้วย แต่ผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติตามในฐานะผู้ถือหุ้นเท่านั้น
แม้ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมตกลงและลงชื่อในบันทึกข้อตกลงก็ตาม แต่การที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 จะทำข้อตกลงให้มีผลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เพียงใด หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าผู้ถือหุ้นนั้นมีสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้หรือไม่ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1173 และ 1176 กำหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเพียงการเรียกประชุมและเข้าร่วมประชุมใหญ่กับลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นอำนาจในการเข้าครอบงำการบริหารจัดการบริษัท แต่หามีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการในบริษัทโดยตรงไม่
บันทึกข้อตกลงข้อ 9 มีข้อตกลงในการเลิกบันทึกข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิจัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 โจทก์มีสิทธิที่จะบอกเลิกบันทึกข้อตกลงโดยบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายที่ผิดสัญญารับทราบเป็นหนังสือ และหากภายใน 10 วัน หลังจากที่ได้รับคำบอกกล่าว คู่สัญญาดังกล่าวยังคงเพิกเฉยให้ถือว่า บันทึกข้อตกลงเป็นอันเลิกกันทันทีเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 วัน โดยให้ถือว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาว ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เป็นอันเลิกกันทันทีด้วยนั้น ข้อตกลงในลักษณะดังกล่าวจึงมีผลต่อการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาวในการผลิตผลิตภัณฑ์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 และอาจทำให้การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากไม่สามารถใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงข้อ 4 และข้อ 9 จึงเป็นการตกลงในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยตรงซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 และ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่ตกลงกับโจทก์เช่นนั้นได้ และการออกเสียงลงคะแนนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. และ อ. ผู้ถือหุ้นเท่านั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจบังคับให้บุคคลดังกล่าวลงมติให้จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งตามบันทึกข้อตกลงข้อ 4 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 แต่กลับมีข้อความอันเป็นลักษณะเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ลาออก โดยระบุว่า ผู้ถือหุ้นเดิมและโจทก์ตกลงใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจำเลยที่ 1 และดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้จำเลยที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อตกลงใด ๆ ในบันทึกดังกล่าวว่าจำเลยที่ 2 จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงให้มีผลโดยตรงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ การทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ข้อตกลงข้อ 4 ในบันทึกข้อตกลง ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการผิดข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโน - ฮาวแก่จำเลยที่ 1 ได้
แม้ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมตกลงและลงชื่อในบันทึกข้อตกลงก็ตาม แต่การที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 จะทำข้อตกลงให้มีผลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เพียงใด หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าผู้ถือหุ้นนั้นมีสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้หรือไม่ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1173 และ 1176 กำหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเพียงการเรียกประชุมและเข้าร่วมประชุมใหญ่กับลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นอำนาจในการเข้าครอบงำการบริหารจัดการบริษัท แต่หามีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการในบริษัทโดยตรงไม่
บันทึกข้อตกลงข้อ 9 มีข้อตกลงในการเลิกบันทึกข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิจัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 โจทก์มีสิทธิที่จะบอกเลิกบันทึกข้อตกลงโดยบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายที่ผิดสัญญารับทราบเป็นหนังสือ และหากภายใน 10 วัน หลังจากที่ได้รับคำบอกกล่าว คู่สัญญาดังกล่าวยังคงเพิกเฉยให้ถือว่า บันทึกข้อตกลงเป็นอันเลิกกันทันทีเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 วัน โดยให้ถือว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาว ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เป็นอันเลิกกันทันทีด้วยนั้น ข้อตกลงในลักษณะดังกล่าวจึงมีผลต่อการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาวในการผลิตผลิตภัณฑ์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 และอาจทำให้การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากไม่สามารถใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงข้อ 4 และข้อ 9 จึงเป็นการตกลงในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยตรงซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 และ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่ตกลงกับโจทก์เช่นนั้นได้ และการออกเสียงลงคะแนนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. และ อ. ผู้ถือหุ้นเท่านั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจบังคับให้บุคคลดังกล่าวลงมติให้จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งตามบันทึกข้อตกลงข้อ 4 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 แต่กลับมีข้อความอันเป็นลักษณะเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ลาออก โดยระบุว่า ผู้ถือหุ้นเดิมและโจทก์ตกลงใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจำเลยที่ 1 และดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้จำเลยที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อตกลงใด ๆ ในบันทึกดังกล่าวว่าจำเลยที่ 2 จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงให้มีผลโดยตรงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ การทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ข้อตกลงข้อ 4 ในบันทึกข้อตกลง ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการผิดข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโน - ฮาวแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกใช้สิทธิออกเสียงแทนทายาทในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือหุ้นหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
ผู้ร้องได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ตามคำสั่งศาล ผู้ร้องฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหลายคดี ทำให้ผู้ร้องยังไม่ได้รับทรัพย์มรดกจากทายาทผู้ครอบครอง จึงไม่อาจจัดการมรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เสร็จสิ้นได้ เมื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. ยังต้องรอผลคดีที่เกี่ยวข้อง ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกก็ต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของทายาทเพื่อดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดก ที่ทรัพย์มรดกของ ก. รวมทั้งหุ้นมรดกในบริษัทผู้คัดด้านตกทอดแก่ทายาทเมื่อ ก. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องการตกทอดของทรัพย์มรดกเท่านั้น ส่วนที่ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการจัดการมรดกเป็นอีกเรื่องซึ่งต้องพิจารณาแยกจากกัน หาใช่การตกทอดของหุ้นมรดกทำให้ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกไม่อาจดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นมรดกแทนทายาทได้ไม่ โดยเฉพาะเมื่อยังไม่มีการแบ่งปันหุ้นมรดก ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ก. ทุกคนเป็นเจ้าของรวมในหุ้นมรดกซึ่งยังคงอยู่ในชื่อของ ก. ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกชอบที่จะใช้สิทธิจัดการหุ้นมรดกแทนทายาท อันเป็นอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของกองมรดก ที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกมอบอำนาจให้ ว. เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนแทน จึงอยู่ในขอบอำนาจการดำเนินการของผู้ร้อง ผู้คัดค้านจะอ้างว่าผู้ร้องใช้สิทธิในหุ้นมรดกที่ตกทอดแก่ทายาทแล้วเป็นการละเมิดสิทธิของทายาทหาได้ไม่ ที่ ส. ประธานในที่ประชุมมีคำวินิจฉัยให้ ว. ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. เข้าประชุมผู้ถือหุ้นได้ แต่ไม่ให้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเป็นการลดทอนรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น ทำให้หุ้นในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ก. ปราศจากอำนาจในการออกเสียง ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1182 ที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิออกเสียงในการลงคะแนนเมื่อมีการประชุมผู้ถือหุ้น การลงมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นครั้งพิพาทที่ไม่ให้ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย