คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตพิจารณาคดีใหม่เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว จึงเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในข้อที่โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์นี้แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าเกินสี่พันบาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์ในคดีขับไล่ผู้เช่า
ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง บัญญัติหลักเกณฑ์กรณีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งแยกได้เป็น 2 กรณี คือ ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทและฟ้องขับไล่บุคคลอื่นนอกจากผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท
หนังสือสัญญาเช่าและสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ต่อท้ายหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท และผู้เช่าชำระเงินกินเปล่า 500,000 บาท เงินกินเปล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้า จึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วย เมื่อสัญญาเช่ากำหนดเวลาเช่า 9 ปี 6 เดือน ดังนั้น เงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้า 500,000 บาท เป็นค่าเช่าล่วงหน้าเฉลี่ยเดือนละ 4,385.96 บาท รวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 4,000 บาท เป็นค่าเช่าเดือนละ 8,385.96 บาท ในขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง: การพิจารณาคำคู่ความและการมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลย และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า อุทธรณ์จำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้จำเลยแก้ไขอุทธรณ์มาใหม่ แต่จำเลยไม่ได้แก้ไขอุทธรณ์ กลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ภายในกำหนด จึงเป็นคำสั่งในกรณีที่ศาลชั้นต้นตรวจคำคู่ความที่ยื่นต่อศาล แล้วมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปทำมาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มิใช่เป็นการตรวจอุทธรณ์ แล้วมีคำสั่งว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์เสียก่อน ผู้อุทธรณ์จึงอาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ แห่ง ป.วิ.อ. เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความให้ทำมาใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามอุทธรณ์ไว้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้จำเลยที่อุทธรณ์ฟัง โดยไม่ต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: การโต้แย้งคำสั่งไม่ต้องแสดงเหตุผล
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง (2) ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยยื่นคำแถลงไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำแถลงว่ารวมเป็นคำแถลงเท่านั้น ย่อมเป็นการสั่งรับคำแถลงนั้นส่วนที่ศาลชั้นต้นเกษียณสั่งต่อไปว่า หากจะโต้แย้งคำสั่งศาลจะต้องมีเหตุผลที่อ้างว่าด้วยเหตุใดหรือเพราะอะไรจึงโต้แย้ง กรณีแถลงมาลอยๆ มิใช่ใช้สิทธิโต้แย้งก็เป็นความเห็นของศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งแล้วตามคำแถลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลและการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด: การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องไม่เงื่อนไข และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันผิดนัดจริง
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำแถลงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา จึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นเกษียณสั่งคำแถลงฉบับนี้ว่ารวมเป็นคำแถลงเท่านั้น ย่อมเป็นการสั่งรับคำแถลงแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นเกษียณต่อไปว่า "หากจะโต้แย้งคำสั่งศาลจะต้องมีเหตุผลที่อ้างว่าด้วยเหตุใดหรือเพราะอะไรจึงโต้แย้ง กรณีแถลงมาลอยๆ มิใช่ใช้สิทธิโต้แย้ง" นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของศาลชั้นต้นเท่านั้นจึงต้องถือว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้วตามคำแถลงฉบับดังกล่าว ชอบที่จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแทนการชำระค่าธรรมเนียมศาล: ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยวางค่าธรรมเนียมภายหลังได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยกำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลมาวาง แต่จำเลยได้เลือกใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างเวลานั้น แม้การยื่นอุทธรณ์คำสั่งจะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า ก็ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์แทนการนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยและปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วในระหว่างนั้น โดยศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระ นับได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้กำหนดเวลาเพื่อให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมศาลมาวางภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมซึ่งจะทำให้จำเลยสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การบังคับใช้มาตรา 18 และ 228 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่ เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของมาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และผลกระทบต่อการหมดสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของ มาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์จำเลยในคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การอุทธรณ์ต้องกระทบสิทธิของจำเลย
คดีศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์จะต้องปฏิบัติกิจการในหน้าที่ด้วยตนเอง เว้นแต่ข้อบังคับหรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะกำหนดให้มอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ กรณีนี้ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอำนาจฟ้องหาได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยแต่ประการใดไม่จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก
of 18